STIFFNESS – วิธีในการคำนวณหน้าตัด CRACKED SECTION ในหน้าตัด คสล

17991814_1360112200701568_8701202694071363307_n1

ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1360112200701568:0

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้เรายังวนเวียนอยุ่กับคำว่า STIFFNESS อยู่นะครับ โดยผมจะมาตอบคำถามของเพื่อนผมท่านหนึ่งที่ได้ถามผมไว้ก่อนหน้านี้นะครับ เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการคำนวณหน้าตัด CRACKED SECTION ในหน้าตัด คสล ว่าหากเราต้องนำค่าๆ นี้มาคำนึงถึงในการวิเคราะห์โครงสร้างเราจะมีวิธีการมใดบ้างนะครับ

เราทราบกันดีนะครับว่าในหน้าตัดที่ต้องรับแรงดัด เช่น คาน เสา พื้น เป็นต้น ก็จะต้องมี STIFFNESS ที่ต้านทานการดัดที่เกิดขึ้นประกอบด้วยเสมอ โดยที่ STIFFNESS การดัดนี้จะติดอยู่ในเทอมของค่า EI/L โดยค่า

E หรือ ELASTIC MODULUS คือ โมดูลัสยืดหยุ่น ค่าๆ นี้เป่นค่าที่ขึ้นกับวัสุดคอนกรีตที่เราใช้ ดังนั้นค่าๆ นี้จึงเป็นค่าคงที่

I หรือ MOMENT OF INERTIA คือ โมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัด สำหรับโครงสร้าง คสล ซึ่งจะมีหน้าตัดที่เราเรียกว่า CRACKED SECTION เราจะถือว่าค่าๆ นี้เป็นค่าที่ไม่คงที่ โดยค่าๆ นี้จะแปรผันตามปริมาณค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้น ค่า CREEP ที่เกิดขึ้น และ ปริมาณและตำแหน่งของการเสริมเหล็กในหน้าตัดของเรา ดังนั้นค่า I ที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบหน้าตัด คสล จะต้องเป็นค่าโมเมนต์ความเฉื่อยประสิทธิผล หรือ I eff ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากหน้าตัด คอร หรือ เหล็ก ที่เราสามารถใช้ค่า Ig ในการวิเคราะห์และออกแบบได้เลยโดยตรง

L หรือ LENGTH คือ ความยาวของชิ้นส่วนโตรงสร้าง ซึ่งก็ถือเป็นค่าคงที่เช่นกัน

ดังนั้นค่าๆ เดียวที่ไม่ใช่ค่าคงที่ในเทอมข้างต้นของสมการ STIFFNESS ก็คือค่า I เพราะค่าๆ นี้จะแปรผันตามปริมาณค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้น และ การเสริมเหล็กของเรา

โดยที่ในวันนี้วิธีการที่ผมจะนำมาแนะนำนั้นถือเป็นวิธีการอย่างง่าย คือ วิธีการประมาณค่าหน้าตัดของ CRACKED SECTION นะครับ

ซึ่งวิธีการนี้จะค่อนข้างที่จะ CONSERVATIVE มากๆ ดังนั้นหากเพื่อนๆ จะเลือกใช้วิธีการนี้ก็ขอให้ทำใจไว้ว่าผลการวิเคราะห์โครงสร้างอาจจะค่อนข้างเปลืองสักหน่อย แต่ หากนำไปใช้ก็จะทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างนั้นค่อนข้างที่จะมีแนวโน้มในการใช้งานที่ดีครับ

วิธีการนี้เป็นวิธีตาม มยผ 1302 หน้าที่ 50 โดยใน มยผ ได้ระบุเอาไว้ว่า

การกำหนดค่า STIFFNESS ขององค์อาคารคอนกรีตและอิฐก่อจะต้องคำนึงถึงผลของการแตกร้าวที่มีต่อค่า STIFFNESS โดยในกรณีที่ไม่สามารถทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด อนุญาตให้ประมาณค่า STIFFNESS จากค่าโมเมนต์ความเฉื่อยประสิทธิผล I eff และ ค่าพื้นที่หน้าตัfประสิทธิผล A eff ดังต่อไปนี้

คาน : I eff = 0.35 Ig

เสา : I eff = 0.70 Ig และ A eff = 1.00 Ag

กำแพงที่ไม่แตกร้าว: I eff = 0.70 Ig

กำแพงที่มีการแตกร้าว: I eff = 0.35 Ig

แผ่นพื้นไร้คาน: I eff = 0.25 Ig

โดยที่ Ig และ Ag คือ ค่าโมเมนต์ความเฉื่อย และ พื้นที่หน้าตัดที่คำนวณจากหน้าตัดเต็มตามลำดับ

ในครั้งต่อๆ ไปผมจะมาแนะนำวิธีในการคำนวณโดยละเอียดนะครับ ซึ่งผมใช้ค่อนข้างบ่อยเมื่อต้องทำการออกแบบโครงสร้างจำพวก LONG SPAN ที่เราไม่สามารถใช้ DEPTH ได้ตาม DEPTH ขั้นต่ำที่ CODE กำหนดให้ใช้ โดยผมเขียนเป้นโปรแกรมเอาไว้ใช้ ผมก็คงจะนำโปรแกรมนี้มาอธิบายแก่เพื่อนๆ หากเราใช้วิธีการนี้จะพบว่าในขั้นตอนของการคำนวณนั้นจะมีความยุ่งยากกว่าวิธีการที่กล่าวถึงในโพสต์ๆ นี้ค่อนข้างมาก แต่ก็แน่นอนครับ วิธีการนี้จะให้ผลการวิเคราะห์โครงสร้างที่ค่อนข้างที่จะมีความละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้โครงสร้างเกิดความปลอดภัยในการใช้งานและมีความประหยัดด้วยนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN

BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586
http://www.micro-pile.com