หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ
จากรูปหากดูผิวเผินอาจจะเห็นได้ว่าในรูปๆ นี้จะเป็นผนังก่ออิฐที่มีรอยแตกร้าวซึ่งก็อาจจะพบเห็นได้ทั่วๆ ไปเลยนะครับ แต่หากผมจะบอกกับเพื่อนๆ ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดจากงานโครงสร้างคอนกรีตเพื่อนๆ จะเชื่อผมหรือไม่ครับ ? ซึ่งประเด็นของคำถามก็คือ เพื่อนๆ คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ในรูปๆ นี้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรเป็นหลักครับ ?
เท่าที่ผมดูคำตอบของเพื่อนๆ ก็มีมากมายหลายแนวทางนะครับ ส่วนใหญ่ก็มักจะตอบคล้ายๆ กันว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของโครงสร้างคานรับผนังหรือฐานรากหรือบางคนก็ตอบว่าเกิดจากการเยื้องศูนย์ของโครงสร้างเสาเข็มแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ ไม่เป็นไรครับ เอาเป็นว่าตามผมมาก็แล้วกัน ผมจะพาเพื่อนๆ ทุกคนไปวิเคราะห์และดูคำตอบไปพร้อมๆ กันนะครับ
เริ่มจากในรูปแรกก่อนนะครับ การที่ผมตอบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจากการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของโครงสร้างคานรับผนังหรือฐานรากเพราะจะเห็นได้ว่าที่ระดับของคานรับผนังหรือจุดรองรับไม่ได้แสดงอาการทรุดตัวใดๆ ที่ไม่เท่ากันให้เราเห็นเลย ดังนั้นเรื่องจุดรองรับของโครงสร้างนั้นเกิดการทรุดตัวนั้นจึงสามารถที่จะทำการตัดทิ้งออกไปก่อนได้เลยนะครับ
ทีนี้ผมเชื่อเหลือเกินว่าเมื่อเพื่อนๆ ได้ดูรูปที่สอง สามและสี่เท่านั้นแหละ คงจะถึงบางอ้อกันเป็นแถวๆ เลยใช่หรือไม่ครับ ?
ถูกต้องแล้วครับ ที่ด้านหลังของกำแพงๆ นี้มีแผ่นพื้นที่ทำหน้าที่เป็นพื้นรับ RAMP ขึ้น-ลงอาคารสำหรับผู้พิการอยู่ ซึ่งเจ้าแผ่นพื้นๆ นี้หรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่รองพื้นแผ่นนี้ได้เกิดการโก่งตัวที่มากจนเกินไปจนทำ (1) ให้ผนังแผ่นนี้เกิดรอยแตกร้าวขึ้น พอเกิดรอยแตกร้าวขึ้นก็ได้มีการ (2) ทำการฉาบผิว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการเก็บรอยร้าวที่เกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วการฉาบผิวนั้นไม่ได้เป็นการหยุดพฤติกรรมการโก่งตัวที่มากจนเกินไปของแผ่นพื้นนี้หรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่รองพื้นแผ่นนี้ จึงทำให้ในที่สุด (3) ก็ยังคงจะเห็นได้ว่ายังเกิดรอยร้าวต่อเนื่องตามมาอีกบนรอยฉาบทีไ่ด้ทำการปิดผิวไปในตอนแรกนะครับ
เอาเป็นว่าผมขอให้คำชมเชยแก่เพื่อนๆ ทุกคนที่ได้ร่วมสนุกตอบคำถามกันมานะครับเพราะจริงๆ แล้วไม่ได้มีใครแม้แต่คนเดียวที่ตอบผิดนะครับ เพียงแต่ว่าเพื่อนๆ ไม่อาจที่จะทราบข้อมูลรอบด้านทั้งหมดได้ เพราะตัวของผมไมได้ให้ข้อมูลตรงจุดๆ นี้ไป
ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เราน่าที่จะเรียนรู้ได้จากปัญหาที่ผมได้นำมาสอบถามเพื่อนๆ ในวันนี้คืออะไร เพื่อนๆ พอจะทราบหรือยังครับ ?
ถูกต้องครับ เวลาที่เราทำการมองปัญหาของงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง จงอย่าดูเฉพาะบริเวณที่เกิดปัญหาเท่านั้น แต่ จงมองให้ทั่วทุกๆ บริเวณที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นที่ด้านบน ด้านหลัง ด้านล่าง หรือ ด้านข้าง พูดง่ายๆ คือเราควรที่จะทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในทุกๆ มิติและทุกๆ ช่วงเวลาที่มีความเป็นไปได้ว่าโครงสร้างจะต้องเผชิญ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ทราบถึงสาเหตุจริงๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้สามารถทำการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมากที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดนั่นเองครับ
Ref : https://www.facebook.com/bhumisiam
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun