เรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นสองทาง

เรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นสองทาง


spunmicrpile-education-ไมโครไพล์

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นสองทาง ให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ

แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นสองทาง ก็คือพื้นที่มีระยะของด้านยาว (L) น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 2 เท่าของระยะของด้านสั้น (B) ซึ่งเราจะนิยามพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นชนิดนี้ให้เป็นไปในอย่างน้อย สอง ทิศทางนั่นก็คือทาง ด้านสั้น และ ด้านยาว ซึ่งการเสริมเหล็กในแผ่นพื้นชนิดนี้ก็จะเป็นไปคล้ายๆ กันกับในแผ่นพื้นทางเดียว คือจะมีอยู่ในทั้งสองทิศทางโดยที่มักจะทำออกมาเป็นเหล็กตะแกรง

ทิศทางแรกก็คือ ทิศทางการเสริมเหล็กหลัก (MAJOR REINFORCEMENT) นั่นก็คือ ทิศทางทางด้านสั้นของแผ่นพื้น ซึ่งตามปกติแล้วเรามักที่จะทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในชั้นๆ นี้วางตัวอยู่ด้านนอกสุด (EXTREME FIBER) โดยอาจจะเป็นที่ขอบบน (TOP FIBER) หรือขอบล่าง (BOTTOM FIBER) ก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีระยะความลึกประสิทธิผล (EFFECTIVE DEPTH) ของหน้าตัดในทิศทางนั้นๆ มีค่ามากที่สุดเพื่อที่จะให้การเสริมเหล็กนั้นเกิดความประหยัดมากที่สุดนั่นเอง

ทิศทางที่สองคือ ทิศทางการเสริมเหล็กรอง (MINOR REINFORCEMENT) นั่นก็คือทิศทางทางด้านยาว ซึ่งทิศทางนี้เองที่จะมีความแตกต่างออกไปจากการเสริมเหล็กในแผ่นพื้นทางเดียวนั่นก็คือ ด้านนี้จะเกิดค่าโมเมนต์ดัดขึ้นด้วยแต่ทั้งนี้ปริมาณของโมเมนต์ที่เกดขึ้นนั้นก็จะมีค่า น้อยกว่า หรือ เท่ากับ ค่าโมเมนต์ที่เกิดขึ้นในทิศทางๆ แรกเสมอ

ภายในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาพูดต่อถึงเรื่อง วิธีในการออกแบบแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานกันต่อ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมกันได้นะครั

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้เรื่องแผ่นพื้นคอนกรีตเรื่องแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็นแผ่นพื้นสองทาง


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun