แฟคเตอร์ลดกำลังสำหรับกรณีที่เราทำการออกแบบเสายาว (SLENDER COLUMN) โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (WORKING STRESS DESIGN METHOD)
หากเราทำการออกแบบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กโดย วิธีหน่วยแรงใช้งาน เราจะสามารถพิจารณาทำการออกแบบโดยพิจารณาว่าโครงสร้างเสาของเรานั้นเป็น เสาสั้น หรือ เสายาว ได้โดยการพิจารณาจาก
หากอัตราส่วน L/r ≤ 60
เราไม่จำเป็นจะต้องลดกำลังต้านทานแรงอัดในเสาเลย
หากอัตราส่วน 60 < L/r ≤ 100
เราจะต้องลดกำลังต้านทานแรงอัดในเสาด้วยแฟคเตอร์ R
หากอัตราส่วน L/r > 100
เราจำเป็นจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยต้องคำนึงถึงผลของระยะโก่งทางด้านข้างที่เพิ่มขึ้น (P-DELTA EFFECT) ด้วยนะครับ
ในเมื่อค่า L คือ ระยะความยาวอิสระของเสาและค่า r คือ รัศมีไจเรชั่นของเสา
ดังนั้นหากค่าสัดส่วน 60 < L/r ≤ 100 ก็แสดงว่าเราจำเป็นที่จะต้องทำการคำนวณหาค่าแฟคเตอร์ R มาเพื่อลดกำลังต้านทานแรงอัดในเสาของเรานะครับ โดยการพิจารณาค่าๆ นี้เราจำเป็นที่จะต้องทราบลักษณะของการเสียรูปในโครงสร้างของเราเป็นสำคัญนะครับ โดยหากแบ่งเป็นกรณีแล้วเราจะสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กรณีใหญ่ๆ คือ
กรณีที่ 1: สำหรับกรณีที่ปลายของเสาทั้งสองข้างนั้นยึดแน่น ตัวโครงสร้างเสานั้นไม่มีการเซ (NON SWAYED FRAME) ทางด้านข้าง และ ตัวเสาเกิดการโก่งแบบมีจุดดัดกลับระหว่างปลายทั้งสองข้าง
ค่า R = 1.32 – 0.006 L/r ≤ 1.00
กรณีที่ 2: สำหรับกรณีที่ปลายของเสาทั้งสองข้างนั้นยึดแน่น ตัวโครงสร้างเสานั้นไม่มีการเซ (NON SWAYED FRAME) ทางด้านข้าง และ ตัวเสาเกิดการโก่งแบบโค้งเดี่ยว
ค่า R = 1.07 – 0.008 L/r ≤ 1.00
กรณีที่ 3: สำหรับกรณีที่ปลายของเสาทั้งสองข้างนั้นยึดแน่น ตัวโครงสร้างเสานั้นมีการเซ (SWAYED FRAME) ทางด้านข้าง
ค่า R = 1.07 – 0.008 L’/r ≤ 1.00
โดยที่ค่า L’ คือ ระยะความยาวประสิทธิผล (EFFECTIVE LENGTH) ของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กโดยเราจะคำนึงถึงค่า L’ นี้เฉพาะกรณีที่เสาของเรานั้นมีการเซ หรือ มีการเสียรูปทางด้านข้างเท่านั้นนะครับ โดยเราจะพิจารณาและคำนวณค่าๆ นี้ได้จากลักษณะการถูกยึดรั้งของจุดรองรับทั้งสองด้านเป็นหลัก
ในวันพรู่งนี้ผมจะมากล่าวถึงกรณีการออกแบบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มี ความยาวมาก หรือ ชะลูดมาก โดยวิธีกำลัง (STRENGTH DESIGN METHOD) ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้างนะครับ เพื่อนๆ ที่สนใจสามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1476843202361800
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449