ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน

ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน

critical section

สาเหตุที่ผมต้องนำเรื่องๆ นี้มาอธิบายแก่เพื่อนๆ เพราะ เท่าที่ผมสังเกตมาโดยตลอด ผมพบว่าเมื่อเพื่อนๆ ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คาน คสล ให้ต้องสามารถที่จะต้านทานต่อแรงเฉือนที่เกิดขึ้นได้นั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อนๆ จะใช้ หน้าตัด และ ค่าแรงเฉือน ณ ตำแหน่งศูนย์กลางของจุดรองรับ หรือ ที่ระยะ L เท่ากับ ศูนย์ มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดเลยนะครับ ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำเช่นนี้เลยนะครับ เพราะ ณ ตำแหน่งนี้ค่าแรงเฉือนจะมีค่าสูงมากเกินไป หากนำค่าๆ นี้มาออกแบบจริงๆ จะทำให้การออกแบบโครงสร้าง คาน ของเรานั้นไม่เกิดความประหยัด ซึ่งจริงๆ แล้วลักษณะที่แตกต่างกันของ โครงสร้างคาน และ พฤติกรรมในการรับ นน ที่แตกต่างกันออกไปของ คาน ก็จะมีตำแหน่งที่เราควรนำค่า แรงเฉือน มาใช้พิจารณาในการออกแบบที่แตกต่างกันด้วยนะครับ ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากจะขอมายก ตย ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ (ดูรูปประกอบนะครับ)

(1) การออกแบบชิ้นส่วน คาน ที่มีการรับ นน แบบแผ่ (DISTRIBUTED LOAD) ใกล้กันกับที่ขอบล่างของคาน และ มีการรองรับด้วยบ่ารับแรง จากทางด้านล่าง
ตำแหน่งที่เราใช้ในการพิจารณาค่า แรงเฉือน คือ ตำแหน่งที่อยู่ติดชิดกันกับตำแหน่งของจุดรองรับของคานนะครับ

(2) การออกแบบชิ้นส่วน คาน ที่มีการรับ นน แบบแผ่ (DISTRIBUTED LOAD) จากทางด้านบนของคาน และ มีการรองรับด้วยผนังรับแรง หรือ เสา ที่ต้องทำหน้าที่รับแรงดึงเพื่อหิ้วโครงสร้างขึ้นไปทางด้านบน
ตำแหน่งที่เราใช้ในการพิจารณาค่า แรงเฉือน คือ ตำแหน่งที่อยู่ชิดกันกับตำแหน่งขอบของจุดรองรับนะครับ

(3) การออกแบบชิ้นส่วน คาน ที่มีการรับ นน แบบแผ่ (DISTRIBUTED LOAD) จากทางด้านบนของคาน และ มีการรองรับด้วยเสา หรือ ผนังรับแรง
ตำแหน่งที่เราใช้ในการพิจารณาค่า แรงเฉือน คือ ตำแหน่งห่างออกมาจากขอบของจุดรองรับเท่ากับระยะ d นะครับ

(4) การออกแบบชิ้นส่วน คาน ที่มีการรับ นน แบบเป็นจุด (CONCENTRATED LOAD) จากทางด้านบนของคาน โดยที่แรงกระทำนี้มีตำแหน่งที่กระทำห่างออกไปจากตำแหน่งขอบของจุดรองรับน้อยกว่าระยะ d และ มีการรองรับด้วยเสา หรือ ผนังรับแรง
ตำแหน่งที่เราใช้ในการพิจารณาค่า แรงเฉือน คือ ตำแหน่งที่อยู่ชิดกันกับตำแหน่งขอบของจุดรองรับนะครับ

(5) การออกแบบชิ้นส่วน คาน ที่มีการรับ นน แบบเป็นจุด (CONCENTRATED LOAD) จากทางด้านบนของคาน โดยที่แรงกระทำนี้มีตำแหน่งที่กระทำห่างออกไปจากตำแหน่งขอบของจุดรองรับมากกว่าระยะ d และ มีการรองรับด้วยเสา หรือ ผนังรับแรง
ตำแหน่งที่เราใช้ในการพิจารณาค่า แรงเฉือน คือ ตำแหน่งห่างออกมาจากขอบของจุดรองรับเท่ากับระยะ d นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1515285978517522

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449