เข็ม SQUARE PILE ขนาด 260 MM ยาวท่อนละ 12.5 เมตร เชื่อมต่อกัน 2 ท่อน ควรที่จะใช้วิธีการใดในทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ?
เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี SEISMIC TEST ได้เพราะว่า ในขั้นตอนของการทดสอบโดยวิธีการนี้จะอาศัยการสะท้อนของคลื่นที่ถูกส่งผ่านลงไป และ ให้คลื่นนั้นสะท้อนกลับมาและทำการอ่านค่า ซึ่งหากเป็นเสาเข็มที่มีจำนวนหลายท่อนต่อแล้วเราจะพบว่าที่รอยต่อของเสเข็มเหล่านั้นจะมีแผ่นเหล็กเชื่อมต่ออยู่ทุกๆ รอยต่อ ดังนั้นพอคลื่นที่เราส่งลงไปเจอแผ่นเหล็กนี้เข้าก็จะสะท้อนกลับมาในทันที ทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบจะไม่ใช่สถานะจริงๆ ที่เสาเข็มนั้นควรจะเป็นนะครับ ดังนั้นเราจะต้องอาศัยวิธีการอื่นๆ ที่อาจใช้หลักการอื่นๆ ในการวิเคราะห์ค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มนะครับ ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการในการทดสอบความสมบูรณ์วิธีการอื่นๆ นี้ก็มีหลากหลายวิธีนี้ แต่ ว่าแต่ละวิธีก็จะมีต้นทุนและมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปนะครับ
ดังนั้นในวันนี้ผมจะขอมาแนะนำวิธีการที่ผมเคยอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ฟังไปก่อนหน้านี้แล้วในหลายๆ โพสต์ที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้แก่วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (ทางอ้อม) โดยการทดสอบการรับกำลังการรับ นน ของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์ หรือ ที่เราคุ้นเคยกันดีว่า DYNAMIC PILE LOAD TEST นั่นเองนะครับ
เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจไม่ทราบว่าการทดสอบการรับกำลังการรับ นน ของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์นั้นนอกเหนือจากค่ากำลังความสามารถของเสาเข็มที่เราจะได้จากการทดสอบเสาเข็มแล้ว เราจะได้ผลค่าความสมบูรณ์ของหน้าตัดเสาเข็มในทางอ้อมด้วยนะครับ เรามาดู ตย การทดสอบการรับกำลังการรับ นน ของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์จาก ตย งานจริงๆ กันเลยดีกว่านะครับ
ในรูปที่ผมแนบมาด้วยนี้เป็นผลการทดสอบการรับกำลังการรับ นน ของเสาเข็มขนาดความยาวเท่ากับ 21 M โดยวิธีพลศาสตร์ที่ทำการทดสอบที่หน้างานจริงๆ งานหนึ่งของผมนะครับ ในตารางๆ นี้จะมีชื่อว่า PILE PROFILE AND PILE MODEL นะครับ จะเห็นได้จากในตอนท้ายของหน้าแรกในรูปนี้จะเห็นได้ว่าค่าในช่อง DEPTH จะมีค่าต่ำที่สุดอยู่ที่ 0.00 M และ ค่าสูงสุดจะอยู่ที่ 20.6 M นะครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความลึกของเสาเข็มที่ทำการทดสอบได้จะใกล้เคียงกับความยาวจริงๆ ของเสาเข็มซึ่งมีความยาวเท่ากับ 21 M นะครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผลจากการทดสอบจะให้เป็นค่าความยาวของเสาเข็มโดยประมาณซึ่งจะมีค่าบวกลบอยู่ที่ประมาณ 1 M นะครับ ดังนั้นจากผลการทดสอบนี้ก็มีโอกาสว่าเสาเข็มจะมีความยาวสั้นที่สุดเท่ากับ 20.6-1 = 19.6 M และ จะมีความยาวมากที่สุดเท่ากับ 20.6+1 = 21.6 M นะครับ
หากเราข้ามมาดูในตารางอีกหน้าหนึ่งจะพบว่าค่าในช่องที่มีชื่อว่า DIST B.G. มากที่สุดก็จะมีค่าสอดคล้องกันกับหน้าก่อนหน้านี้นะครับ คือ เท่ากับ 20.6 M นะครับ นี่ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นนะครับว่าเสาเข็มต้นนี้จะมีความยาวช่วงที่ได้จากการทดสอบที่ถือว่ามีค่าเท่าๆ กัน เราจึงอาจถือได้ว่าเสาเข็มต้นนี้มีช่วงความยาวที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ไม่มีการแตกหักใดๆ ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งของเสาเข็มตลอดเริ่มตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 21 M เลยนะครับ
เอาละครับ เราอาจจะทราบจากผลข้างต้นไปแล้วนะครับว่าเสาเข็มของเรานั้นมีช่วงความยาวที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ไม่มีการแตกหักใดๆ ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งของเสาเข็มไปแล้วนะครับ แต่ หากเรามีความต้องการที่จะทราบว่าหน้าตัดของเสาเข็มของเราในแต่ละช่วงความยาวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่อาจเกิดคอดลงไป หรือ อาจจะเกิดการแหว่งไปเนื่องด้วยกระบวนการตอกเสาเข็ม เราจะมีวิธีการดูว่าหน้าตัดเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดได้อย่างไร ?
ให้เราข้ามมาดูค่าช่องที่มีชื่อว่า EFF. นะครับ ซึ่งค่าๆ นี้จะ ตรงกันข้าม กันกับค่า β ที่ผมเคยได้อธิบายไปในเรื่องการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มโดยวิธี SEISMIC TEST ไปแล้วนะครับ เพราะ ค่า β ยิ่งมีค่ามากเพียงใด ก็จะแสดงให้เห็นว่าหน้าตัดของเสาเข็มของเราจะยิ่งมีความสมบูรณ์มาก ในทางกลับกันนะครับค่า EFF. นี้หากยิ่งมีค่าน้อยเพียงใด ก็จะแสดงให้เห็นว่าหน้าตัดของเสาเข็มของเราจะยิ่งมีความสมบูรณ์มากเช่นกันครับ
หากว่าดูค่าในช่องๆ นี้จะพบว่าค่า EFF. ของเสาเข็มจะมีค่าเท่ากับ 0.00 ในทุกๆ ช่วงของความยาวของเสาเข็มเลยนะครับ เราจึงอาจถือได้ว่าเสาเข็มต้นนี้มีหน้าตัดที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ หน้าตัดนั้นไม่มีการคอด หรือ แหว่งใดๆ ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งของเสาเข็มตลอดเริ่มตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 21 M เลยนะครับ
อย่างที่ผมบอกไปก่อนหน้านี้นะครับว่าวิธีในการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มตามที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เป็นวิธีการทดสอบและประเมินโดยการประมาณการเท่านั้นนะครับ เพราะ หากว่าเราทำการทดสอบแล้วไม่พบว่าเสาเข้มนั้นมีความบกพร่องใดๆ เลย เราก็อาจจะพอเชื่อถือได้นะครับว่าเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากเพียงพอ สามารถที่จะใช้ได้ แต่ หากเราทำการทดสอบแล้วพบข้อบกพร่องใดๆ ในเรื่อง ความยาว หรือ หน้าตัด ของเสาเข็มก็แล้วแต่ เราอาจที่จะต้องทำการทดสอบเสาเข้มต้นที่มีปัญหานี้ด้วยวิธีการอื่นๆ ที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ ทดสอบ และ การก่อสร้าง รวมไปถึงกระบวนการ และ ขั้นตอนในการทดสอบเสาเข็มของเรานั้นมีความเหมาะสม และ ถูกต้อง มากที่สุดนะครับ เพราะ จริงๆ แล้วงานก่อสร้างก็ไม่ได้แตกต่างจากการทำงานอื่นๆ มากนักนะครับ คือ หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ เราก็ต้องทำการใดๆ ที่ถือเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนให้เกิดความสิ้นเปลืองใดๆ เกินกว่าความจำเป็นนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1593657874013665
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15