ค่าสัดส่วนความปลอดภัย หรือ SAFETY FACTOR
เวลาที่เราทำการออกแบบค่า นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มนั้น ค่า SAFETY FACTOR ที่เรานิยมใช้โดยทั่วๆ ไปนั้นเท่ากับ 2.5 หรือ น้อยที่สุดเท่ากับ 2 นั้น ทางผู้ออกแบบเค้ามีเกณฑ์อย่างไรที่ใช้ในการประเมินและพิจารณาให้ค่าๆ นี้ออกมาเป็นดังนี้ครับ ?
วันนี้ผมจะนำกระบวนการและเกณฑ์ในการพิจารณาถึงค่า SAFETY FACTOR นี้มาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ
เมื่อผู้ออกแบบจะทำการประเมินค่าสัดส่วนปลอดภัยในการออกแบบตัวเสาเข็มนั้น เค้าจะทำการคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้นะครับ
1) ความสำคัญของอาคาร
2) ความแปรปรวนของชั้นดิน
3) คุณภาพของกระบวนการในการเจาะสำรวจชั้นดิน
4) ประเภทและจำนวนของการทดสอบชั้นดิน
5) โอกาสที่จะมีการทำการทดสอบเสาเข็มแบบเต็มขนาด (FULL SCALE LOAD TEST)
6) การควบคุมคุณภาพของการก่อสร้าง และ การควบคุมงานการก่อสร้าง
7) ความเป็นไปได้ที่น้ำหนักบรรทุกในการใช้งานจะ สูง เท่ากับน้ำหนักบรรทุกในการออกแบบตลอดช่วง
อายุในการใช้งานของอาคาร
องค์ประกอบดังที่ผมได้กล่าวอธิบายข้างต้นนั้นได้มีการพูดถึงการพิจารณาความสำคัญของอาคารด้วยนะครับ เราจึงมีการกำหนดประเภทของอาคารไว้ 3 ประเภท คือ
1) MONUMENTAL STRUCTURE
โครงสร้างประเภทนี้จะมีอายุการใช้งานเกิน 100 ปี เช่น สะพานขนาดใหญ่ อาคารพิเศษ เป็นต้นครับ
2) PERMANENT STRUCTURE
โครงสร้างประเภทนี้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 25 ถึง 100 ปี เช่น สะพานของถนน และ ทางรถไฟ อาคารขนาดใหญ่ เป็นต้นครับ
3) TEMPORARY STRUCTURE
โครงสร้างประเภทนี้จะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างน้อย กล่าวคือจะต่ำกว่า 25 ปี เช่น ส่วนชั่วคราวของงานอุตสาหกรรม เป็นต้นครับ
นอกจากความสำคัญของอาคารแล้ว เรายังตัว ”ควบคุม” อีกประการหนึ่งด้วยที่จะสามารถนำมาใช้ประเมินลักษณะต่างๆ ของอาคารข้างต้นได้นะครับ โดยที่ตัวควบคุมนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
1) GOOD CONTROL
เราจะถือว่าเงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่หากสามารถทำได้ จะถือว่าดีที่สุด เช่น มีลักษณะของชั้นดินมีความสม่ำเสมอโดยเราทราบได้จากกระบวนการเจาะสำรวจที่ดี สามารถทำการทดสอบแบบเต็มขนาดได้ ในการก่อสร้างมีการควบคุณคุณภาพดี เป็นต้น ในงานก่อสร้างโดยทั่วๆ ไปนั้นจะเป็นเงื่อนไขดังเช่นข้อนี้ยากมากๆ
2) NORMAL CONTROL
เป็นลักษณะเงื่อนไขที่ดูแล้วจะสามารถควบคุมให้ออกมาเป็นจริงได้มากกว่าเงื่อนไขแรกค่อนข้างมากนะครับ เช่น พิจารณาว่าลักษณะของชั้นดินนั้นมีความสม่ำเสมอหรือไม่ สามารถทำการทดสอบเต็มขนาดได้หรือไม่ เป็นต้นครับ
3) POOR CONTROL
เป็นเงื่อนไขที่ถือว่าเกือบจะแย่ที่สุดแล้ว เช่น ไม่มีการทดสอบกำลังของเสาเข็มในสนาม แต่ ยังมีการเจาะสำรวจชั้นดิน โดยที่ลักษณะของชั้นดินมีความซับซ้อน และ การควบคุมการก่อสร้างไม่ดีเท่าที่ควร เป็นต้นครับ
4) VERY POOR CONTROL
เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่มีความวิกฤติที่สุด เช่น สภาพชั้นดินนั้นมีความสลับซับซ้อน การเจาะสำรวจ และ การควบคุมการก่อสร้างนั้นไม่ดี เป็นต้นครับ
จากเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้นนั้นได้มีงานที่ทำไว้ในปี คศ 1989 โดย REESE และ O’NEILL ที่ได้ให้คำแนะนำค่าสัดส่วนความปลอดภัยสำหรับฐานรากเสาเข็มรับแรงกระทำในทิศทางลงดังรูปที่ผมแนบมาด้วยนะครับ
โดยจะเห็นได้ว่าค่าสัดส่วนความปลอดภัยที่มีการให้คำแนะนำให้ใช้ตามตารางนี้จะมีค่าต่ำที่สุดมีค่าเท่ากับ 1.40 ซึ่งจะเป็นค่าที่ต่ำกว่า 2.00 ที่พวกเรามีความเข้าใจ และ มีการใช้งานกันอยู่เป็นประจำนั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1545098968869556
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449