มีวิธีในการตรวจสอบสถานะของชั้นดินนี้ว่ามีคุณสมบัติด้านการต้านทานการทรุดตัวนี้ด้วยวิธีการอื่นๆ อีกหรือไม่ ?
เป็นการดีแล้วครับที่วิศวกรอย่างเราๆ จะเป็นห่วงว่าโครงสร้างเสาเข็มของเราจะเกิดปัญหาประเด็นนี้ขึ้น เพราะ หากปล่อยให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริงๆ เราจะทำการแก้ไขปัญหานี้ได้ค่อนข้างยากเอาเรื่องอยู่นะครับ ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุด คือ เราก็ควรที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองนะครับ
ผมขออนุญาตตอบคำถามเพื่อนท่านนี้ดังนี้ก็แล้วกันนะครับ นอกจากผลจากการทดสอบค่าการรับ นน ของดินแล้ว ไม่ว่าจะโดยวิธี STATIC LOAD TEST หรือ DYNAMIC LOAD TEST ก็ตามแต่ เรายังมีวิธีในการตรวจสอบสถานะของชั้นดินนี้ว่ามีคุณสมบัติด้านการต้านทานการทรุดตัวนี้ด้วยวิธีการดูจากผลการทดสอบชั้นดิน หรือ SOIL LABORATORY REPORT หรือ BORING LOG นะครับ
โดยที่เกณฑ์ในการพิจารณาว่าชั้นดินใดๆ นั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการ CONSOLIDATE หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดเราก็ควรที่จะทำการประเมินจาก 2 ตัวแปรดังต่อไปนี้ คือ ค่า SPT และ ค่า NATURAL WATER CONTENT ครับ
เริ่มต้นที่ค่า SPT ก่อนก็แล้วกันนะครับ ลักษณะง่ายๆ ของชั้นดินที่เราควรที่จะตรวจสอบก็คือดูว่าชั้นดินของเรานั้นมีลักษณะความแข็งแรงที่มากเพียงพอที่จะสามารถต้านทานแรงแบกทาน (END BEARING) ที่ปลายของเสาเข็มได้ ดังนั้นค่า SPT ของลักษณะชั้นดินแบบนี้ คือ ควรมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 20 B/FT นั่นเองนะครับ
ประการต่อมาก็คือค่า NATURAL WATER CONTENT นะครับ ลักษณะง่ายๆ ของชั้นดินที่เราควรที่จะตรวจสอบก็คือดูว่าชั้นดินของเรานั้นมีปริมาณอัตราส่วนของช่องว่าง (VOID) หรือ มีความพรุน ที่ค่อนข้างจะน้อยมากๆ เพราะ หากว่าชั้นดินของเรานั้นมีคุณสมบัติความแข็งแรงที่ค่อนข้างดี ก็แสดงว่าชั้นดินนี้จะมีอัตราส่วนปริมาณช่องว่างหรือความพรุนที่มีค่าน้อย เมื่อมีอัตราส่วนปริมาณของช่องว่างหรือความพรุนที่น้อย ก็จะมีปริมาณน้ำตามธรรมชาติที่แทรกตัวอยู่ในชั้นดินในอัตราส่วนที่น้อยตามไปด้วยนั่นเองครับ ซึ่งเราจะสามารถสังเกตได้จากค่า NATURAL WATER CONTENT ซึ่งค่าๆ นี้ควรที่จะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35% ครับ
เรามาดู ตย สั้นๆ จาก BORING LOG ในรูปที่ผมแนบมาด้วยก็แล้วกันนะครับ จะเห็นได้ว่าที่ระดับความลึกตั้งแต่ระดับดินเดิมไปจนถึงระดับ -18 ม ค่า SPT ในชั้นนี้จะมีค่าน้อยมากๆ หรือ เรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเราจะสามารถระบุได้ว่าในชั้นดินเหล่านี้ค่า SPT จะมีค่าเท่ากับ 0 เลยนะครับ ส่วนค่า NATURAL WATER CONTENT ก็จะมีค่าสูงมากๆ เช่นกันนะครับ
ดังนั้นชั้นดินที่เราพอที่จะทำการคาดคะเนได้ว่าการ CONSOLIDATE จะเกิดขึ้นนั้นเริ่มที่จะมีค่าที่น้อยลงมากๆ ก็คือตั้งแต่ระดับของชั้นดินที่มีความลึกมากกว่า 18 ม ลงไปแล้ว เพราะถึงแม้ว่าที่ชั้นดินนี้จะมีค่า SPT เท่ากับ 0 แต่ค่า NATURAL WATER CONTENT ในชั้นดินนี้จะมีค่าเท่ากับ 25% ซึ่งก็จะมีค่าต่ำกว่า 35% นั่นแสดงว่าถึงชั้นดินนี้จะยังไม่มีความแข็งแรงมากเพียงพอที่จะต้านทานแรงแบกทานที่ส่วนปลายของตัวโครงสร้างเสาเข็มได้ แต่ ก็เริ่มที่จะเห็นได้ว่าชั้นดินนี้เริ่มที่จะมีค่าความแน่นตัวที่ค่อยๆ สูงค่ามากยิ่งขึ้นเมื่อได้ทำการเปรียบเทียบกับลักษณะของชั้นดินที่ระดับความลึกที่ตื้นกว่านี้
ส่วนชั้นดินที่หากจะกล่าวได้ว่าเราที่สามารถที่จะวางปลายของเสาเข็มได้โดยที่จะเกิดค่าการทรุดตัวที่มีค่าน้อยมากๆ จนไม่ทำให้เกิดปัญหาการที่เสาเข็มนั้นเกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันก็คือที่ระดับความลึกเท่ากับ 20 ม เพราะที่ชั้นดินนี้จะมีค่า SPT เท่ากับ 32 B/FT ซึ่งก็จะมีค่าสูงกว่า 20 B/FT และ มีค่า NATURAL WATER CONTENT เท่ากับ 19% ซึ่งก็จะมีค่าที่ต่ำกว่า 35% ดังนั้นก็อาจที่จะพอสรุปได้ว่า เราสามารถที่จะวางปลายเสาเข็มในชั้นดินนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็ม
ซึ่งหากว่าเสาเข็มของเราไม่ได้มีการรับ นน ที่มากจนเกิดขีดความสามารถที่ชั้นดินและตัวโครงสร้างเสาเข็มจะสามารถรับได้แล้ว และ ลักษณะของชั้นดินที่เราทำการพิจารณานั้นผ่านเกณฑ์ทั้งคู่ตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะสบายใจได้แล้วละครับว่าปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็มที่เรากังวลนั้นจะไม่เกิดขึ้นในอาคารของเราครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1567683299944456
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์