สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องข้อต่อเหล็กข้ออ้อยทางกล หรือ ที่เรานิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า COUPLER นะครับ
โดยปกติดในการต่อเหล็กเส้นในงานโครงสร้างเราจะนิยมใช้วิธีต่อทาบเหล็กเสริม โดยที่ระยะทาบนี้จะอยู่ที่ 40D หรือ 50D และ เราจะใช้ลวดมัดหรือเชื่อมติดกัน ถ้าในโครงสร้างมีการเสริมเหล็กจำนวนมาก วิธีการทาบก็ทำให้เหล็กเสริมในโครงสร้างที่จุดต่อแน่นมากขึ้น ทำให้พื้นที่หน้าตัดคอนกรีต ลดน้อยลง การเทคอนกรีตก็จะทำได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้นเพราะว่าเหล็กเสริมที่จะต่อแน่นมากขึ้น การเชื่อมเหล็กให้ติดกันด้วยความร้อนก็จะทำให้กำลังของเหล็กเสริมที่จุดต่อน้อยลง
ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถทำการแก้ไขได้โดยวิธีการต่อเหล็กเชิงล หรือ วิธีแบบเข้าเกลียว (COUPLER) การต่อเหล็กแบบเข้าเกลียวนั้นเป็นการต่อชนกันเหมือนว่าเหล็กเส้นนั้นเป็นเหล็กเส้นเดียวกัน ไม่มีระยะทาบให้ต้องเสียเศษเหล็ก เป็นการเพิ่มพื้นที่เทคอนกรีตที่จุดต่อ ทำให้หน้าตัดคอนกรีตที่จุดต่อเท่ากับการเสริมเหล็กปกติไม่มีการเคลื่อนตัวของเหล็กเสริมที่จุดต่อจนเป็นสาเหตุทำให้คอนกรีตแตกร้าว เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนมากระทำกับโครงสร้าง
โดยที่ประเภทของ COUPLER ทีดังต่อไปนี้นะครับ
- STANDARD COUPLER
เป็นการต่อเข้าเกลียวปกติ ที่มีการทำเกลียวให้เอียง 3 องศา ทำให้ยิ่งเข้าเกียวยิ่งแน่นและไม่มี SLIPER - REDREW COUPLER
เป็นการต่อเข้าเกลียวปกติ ที่มีการทำเกลียวให้เอียง 3 องศา โดยจะใช้สำหรับกรณีที่เป็นการลดหรือเพิ่มขนาดของเหล็กเสริม เช่น จากเหล็กขนาด DB32mm เป็นเหล็กขนาด DB28mm เป็นต้น - WELDING COUPLER
เป็นการทำให้ COUPLER เกลียวตรงยึดติดกับเหล็กเส้น จะใช้กับงานที่ไม่ต้องการหมุนเหล็กเส้นเวลาต่อเหล็ก - COLD PRESS COUPLER
เป็นการบีบ COUPLER ให้แนบติดกับเหล็กเส้น โดยการทำ COUPLER แบบนี้จะทำโดยไม่ต้องมีเกลียว
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN