ปัญหาของงานการออกแบบและการก่อสร้างที่ไม่ดี

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ผมมีโอกาสได้เดินทางไปที่สถานที่แห่งหนึ่ง (ขออนุญาตไม่เปิดเผยว่าเป็นสถานที่ใด) และได้มีโอกาสพบเห็นกับปัญหาของงานการออกแบบและการก่อสร้างที่ไม่ดีเท่าใดนักแต่ที่น่าสนใจจริงๆ ก็คือ วิธีในการแก้ปัญหาของเค้า ผมเลยคิดว่าน่าที่จะนำภาพๆ นี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนก็น่าจะเป็นการดีครับ   ในรูปๆ นี้เป็นรูปโครงสร้างหลังคาที่จอดรถที่ทำจากโครงสร้างเหล็กแบบยื่นซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้โดยทั่วไป ซึ่งเหมือนที่ผมเคยเรียนเพื่อนๆ ไปบ่อยๆ ก่อนหน้านี้ว่า … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ    สืบเนื่องจากปัญหาในข้อเมื่อวานนี้ที่ได้มีรุ่นน้องของผมในเฟซบุ้คท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามผมเข้ามาในอินบ็อกซ์ส่วนตัวของผมว่า   “ก่อนหน้านี้เห็นว่าอาจารย์สมพรรวมถึงอาจารย์หลายๆ ท่านซึ่งก็รวมถึงผมด้วยที่มักพูดถึงเรื่องจุดรองรับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT อยากจะทราบว่าเพราะเหตุใดเราจึงจะทำการพิจารณาให้จุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบที่ไม่มีการเสียรูปหรือ RIGID SUPPORT เลยไม่ได้ละครับ ?”   ซึ่งผมก็ได้ให้หลักการของเหตุและผลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเพราะเหตุใดเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาให้จุดรองรับหนึ่งๆ … Read More

การวิเคราะห์โครงสร้างคานยื่นที่มีลักษณะความยาวช่วงที่ค่อนข้างจะสั้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ หากเพื่อนๆ ยังจำกันได้เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ให้ความช่วยเหลือน้องนักศึกษาท่านหนึ่งที่ได้เข้ามาปรึกษาเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างคานยื่นที่มีลักษณะความยาวช่วงที่ค่อนข้างจะสั้น จากการพูดคุยกันผลปรากฏว่าน้องน่าที่จะมีความเข้าใจในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังไงผมก็อวยพรให้น้องท่านนี้โชคดีก็แล้วกันเพราะต่อไปเมื่อเรียนจบน้องต้องออกไปทำงานน้องก็จะต้องเจอกับปัญหาที่มีความหนักหน่วงมากกว่านี้หลายเท่านัก เพื่อนๆ ละครับได้อ่านปัญหาของน้องท่านนี้แล้วมีใครบ้างหรือไม่ครับที่นำเอาไปคิดต่อกันบ้าง ?   ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาทำการสรุปให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกันเป็นโพสต์สุดท้ายก็แล้วกัน หากจะว่าไปแล้วปัญหาของน้องนักศึกษาท่านนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการหลักๆ … Read More

สรุปประเด็นเรื่องน้ำใต้ดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงเรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI ให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสรับทราบกันไปแล้ว รวมถึงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมยังได้ทำการหยิบยกเอาประเด็นเรื่องผลของระดับน้ำใต้ดินที่มีต่อค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินมาเป็นคำถามประจำสัปดาห์ให้แก่เพื่อนๆ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมไปแล้วด้วย ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการสรุปประเด็นเรื่องน้ำใต้ดินนี้โดยจะทำการแบ่งกรณีของน้ำใต้ดินนี้ออกเป็นกรณีๆ เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนจะได้เข้าใจและนำไปใช้ในการคำนวณได้ถูกต้องนั่นเองครับ   เพราะฉะนั้นก่อนที่ผมจะเริ่มต้นทำการอธิบาย … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขอแทรกเนื้อหาการโพสต์ประจำวันด้วยปัญหาที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวานนี้กรณีหนึ่งที่บังเอิญว่ามีน้องบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาเพื่อปรึกษาเรื่องป้ายโฆษณาป้ายหนึ่งซึ่งมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 7500 มม หรือ 7.50 เมตร   พอผมได้เห็นลักษณะและรูปร่างจากรูปถ่ายแล้วก็เลยได้สอบถามไปยังน้องท่านนี้ถึงกรณีของจุดรองรับของโครงสร้างดังกล่าวว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด คำตอบที่ได้ก็คือ เนื่องจากทางเจ้าของมีความเห็นว่าป้ายๆ นี้ไม่ได้มีความสูงอะไรมากมายนัก ซึ่งแน่นอนว่าน้ำหนักหรือแรงกระทำในแนวดิ่งเองก็มีค่าที่น้อยมากๆ เช่นเดียวกัน นั่นเลยเป็นเหตุให้ทางเจ้าของโครงสร้างของเฟรมเหล็กเฟรมนี้ไม่ได้ใส่ใจที่จะให้วิศวกรโครงสร้างหรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านงานวิศวกรรมเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและให้รายละเอียดในส่วนของงานวิศวกรรมโครงสร้างให้แก่โครงสร้างๆ … Read More

ระยะเยื้องศูนย์ของแรงกระทำตามแนวแกนภายในเสา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ปัญหานี้จะพบได้ในงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กเป็นหลัก ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหาที่ผมหยิบยกนำมาเสวนากับเพื่อนๆ ในวันนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากว่าผู้ออกแบบนั้นมีความรู้และความเข้าใจในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเสาที่ดีเพียงพอ นั่นก็คือ ปัญหาการที่ผู้ออกแบบนั้นมักจะทำการออกแบบรายละเอียดของส่วนโครงสร้างเสา โดยที่ไม่มีการคำนึงถึงให้โครงสร้างเสาต้นนั้นๆ สามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่มีการคำนึงถึงเรื่องระยะเยื้องศูนย์ของแรงกระทำตามแนวแกนภายในเสาต้นนั้นๆ เลยนั่นเองครับ   ปัญหานี้เสมือนเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับคนที่ทำอาชีพการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารเลยก็ว่าได้ ซึ่งโดยมากเราอาจจะพบปัญหาๆ … Read More

จุดรองรับแบบ FLEXIBLE SUPPORT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันจันทร์แบบนี้ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ขณะนี้ผมกำลังพาเพื่อนๆ ทบทวนเนื้อหาอยู่ภายในหัวข้อ การนำเอาวิธีการที่มีชื่อเรียกว่า วิธีการงานน้อยที่สุด หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า LEAST WORK METHOD ซึ่งถือได้ว่าวิธีการนี้เป็น CLASSICAL METHOD วิธีการหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยที่วิธีการนี้จะเป็นการต่อยอดนำเอาวิธี … Read More

คานรับแรงดัด หรือ BEAM BENDING

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันจันทร์แบบนี้ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ขณะนี้ผมกำลังพาเพื่อนๆ ทบทวนเนื้อหาอยู่ภายในหัวข้อ การนำเอาวิธีการที่มีชื่อเรียกว่า วิธีการงานน้อยที่สุด หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า LEAST WORK METHOD ซึ่งถือได้ว่าวิธีการนี้เป็น CLASSICAL METHOD วิธีการหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยที่วิธีการนี้จะเป็นการต่อยอดนำเอาวิธี … Read More

ประเภทของยางมะตอย ที่นิยมนำมาใช้งานเทปิดผิวหน้าของทางและถนน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ จริงๆ แล้วเนื้อหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาโพสต์จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการทดสอบดินเท่าใดนักเพียงแต่เป็นเพราะเมื่อสองวันก่อนมีรุ่นน้องของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาสอบถามกับผมเกี่ยวกับเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง โครงสร้างรองทางแบบมีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBLE PAVEMENT STRUCTURE ซึ่งพอได้มีการพูดถึงเรื่องๆ หนึ่งก็คืองานดิน ก็ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัสดุรองชั้นทาง หรือ … Read More

วิธีประยุกต์ใช้วิธีการ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM สำหรับกรณีที่มีความต้องการ วิเคราะห์หาค่าการเสียรูป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันจันทร์แบบนี้ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายวิธีในการประยุกต์ใช้วิธีการ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM สำหรับกรณีที่เรามีความต้องการที่จะทำการวิเคราะห์หาค่าการเสียรูป ซึ่งจะรวมไปถึงค่าระยะของการโก่งตัวและค่ามุมหมุนที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างโครงข้อแข็งแบบ 2 มิติ หรือว่า PLANE RIGID FRAME แก่เพื่อนๆ … Read More

1 11 12 13 14 15 16 17 34