วิศวกรรมงานสะพาน หรือ BRIDGE ENGINEERING

18118834_1373752226004232_6177053765702758749_n1
ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1373752226004232:0

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขอมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันถึงอีกแขนงหนึ่งของสาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง เผื่อเพื่อนๆ ท่านใดสนใจข้อมูลในวันนี้ก็น่าที่จะมีประโยชน์นะครับ
สาขาวิชานี้ก็คือ วิศวกรรมงานสะพาน หรือ BRIDGE ENGINEERING นั่นเองครับ
เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะงงว่ามีวิชาแขนงนี้ด้วยหรือ ?
ผมขอตอบตรงนี้เลยนะครับว่า มี ครับ เพราะในงานออกแบบของวิชาแขนงนี้ต้องอาศัยทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ ในการออกแบบค่อนข้างมาก มีความละเอียดและซับซ้อนทั้งในทุกๆ ขั้นตอนของการคำนวณ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างทั้งในรูปแบบ DETERMINATE หรือ INDETERMINATE จะต้องทำการวาง LOAD PATTERN ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ INFLUENCE LINE ที่จะทำให้ตัวโครงสร้างเกิดค่าแรงสุงสุดสำหรับแต่ละ LOAD CASE เพราะในการออกแบบงานสะพาน แรงหนึ่งแรงนั้นไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้จาก MODEL เพียง 1 MODEL นะครับ บางครั้งอาจต้องอาศัยถึง 3 ถึง 4 MODEL เลย โดยเฉพาะโครงสร้างสะพานที่มีความยาวช่วงมากๆ และ มีช่องจราจรที่มาก ก็จะยิ่งมีความซับซ้อนในการคำนึงถึงเรื่อง LOAD PATTERN ที่มากตามไปด้วย
โดยหากเพื่อนๆ จะต้องหาค่าแรงดัดสูงสุด แรงเฉือนสุงสุด แรงเฉือนร่วมกันกับแรงบิดสูงสุด ทั้งในสภาวะการใช้งาน และ สภาวะประลัย ดั้งนั้นเราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในทุกๆ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี หรือ จะเป็นขั้นตอนการออกแบบเองก็ดี เพื่อนๆ ควรที่จะมีพื้นฐานในวิชา STRUCTURAL ANALYSIS วิชา RC DESIGN วิชา PRESTRESSED CONCRETE DESIGN วิชา STEEL DESIGN วิชา SEISMIC DESIGN เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสะพานได้ไม่ยากจนเกินไปนัก
ความสำคัญในการออกแบบงานสะพานอีกประการหนึ่งเลยก็คือ เราควรที่จะต้องรู้จักมาตรฐานการออกแบบมากกว่าผู้ออกแบบทั่วๆ ไปด้วยนะครับ ไม่เฉพาะ ACI หรือ AISC แต่ควรรวมไปถึงมาตรฐานอื่นๆ เช่น AASHTO LRD หรือ AASHTO LRFD เป็นต้น เพราะในมาตรฐานเหล่านี้จะกล่าวถึงมาตรฐานต่างๆ ของงานสะพานโดยเฉาะ เช่น นน บรรทุกคงที่ นน บรรทุกจร ของงานสะพาน ประเภทของรถบรรทุก ประเภทของเพลาบรรทุกรูปแบบต่างๆ ที่กระทำบนท้องถนน เป็นต้น ซึ่งหากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็จะยิ่งมีประโยชน์ต่อวิชาชีพการออกแบบของเพื่อนๆ เป็นอย่างสูงเลยนะครับ
ไว้วันพรู่งนี้ผมจะมาเล่าต่อถึงประเด็นที่ว่า เหตุใดผมถึงกล่าวว่า การออกแบบงานสะพานถึงต้องมีความละเอียดละออและแปลกพิศดารมากกว่าการออกแบบโครงสร้างประเภทอื่นๆ นะครับ เพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้ครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

MICROPILE ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUNMICROPILE SPUN MICROPILE MICRO SPUNPILE