ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากเมื่อช่วงเวลาประมาณปลายๆ สัปดาห์ที่แล้วคุณโอ CEO หนุ่มรูปหล่อของภูมิสยามได้ต่อสายหาผม รบกวนให้ผมช่วยติดตามสอบถามไปยังลูกค้าท่านหนึ่งของคุณโอ เนื่องด้วยลูกค้าท่านนี้มีคำถามเกี่ยวกับรายการคำนวณเรื่องการตอกเสาเข็ม หรือ PILE DRIVEN CALCULATION ผมจึงได้ต่อสายและพูดคุยกับลูกค้าท่านนี้ให้ ผลปรากฏว่าเมื่อได้คุยจบแล้วก็จับใจความของคำถามได้ว่า

 

ลูกค้าท่านนี้ได้สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่อง เพราะเหตุใดในรายการคำนวณเรื่องการตอกเสาเข็มโดย DANISH FORMULA ในรายการคำนวณของทางภูมิสยามนั้นจึงไม่เห็นว่ามีการคูณด้วยตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้ม ซึ่งนั่นจะส่งผลทำให้ค่าระยะการทรุดตัวใน 10 ครั้งสุดท้ายที่คำนวณได้จากรายการคำนวณชุดนี้มีคำตอบที่มีค่าความคลาดเคลื่อนออกไปต่างจากรายการคำนวณที่มีการคูณค่าๆ นี้เข้าไปอยู่เล็กน้อย

พอผมได้รับทราบปัญหาดังกล่าวผมก็เลยเข้าใจและได้ต่อสายเพื่อที่จะทำการอธิบายแก่ลูกค้าท่านนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและก็ได้รับปากกับลูกค้าท่านนี้ว่าผมจะขออนุญาตนำเรื่องๆ นี้โพสต์เพื่ออธิบายอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ผมเลยถือโอกาสนอกเรื่องจากหัวข้อปกติกันสัก 1 วัน เพื่อที่จะตอบและขยายความคำตอบของปัญหาข้อนี้ให้แก่ลูกค้าท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกๆ คนด้วยนะครับ

 

ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตเพื่อที่จะทำการอ้างอิงไปที่หนังสือและตำราที่ผมมักจะใช้ในการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากเสียก่อน ซึ่งจริงๆ แล้วมีอยู่หลายเล่มด้วยกัน โดยที่จะมีทั้งหนังสือที่แต่งโดยอาจารย์คนไทยและคนต่างชาติแต่ในวันนี้ผมจะขอเอ่ยถึงถึงชื่อหนังสือเล่มหนึ่งที่จะขอกล่าวถึงในโพสต์ๆ นี้นั่นก็คือหนังสือ คู่มือวิศวกรรมฐานราก หรือ FOUNDATION ENGINEERING HANDBOOK ที่เขียนโดยท่านอาจารย์ ดร พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล ซึ่งเรื่องสมการที่ใช้ในการคำนวณการตอกเสาเข็มจะอยู่ในบทที่ 6 เรื่องฐานรากเสาเข็ม หน้าที่ 335 ถึง 342 ทั้งนี้ผมต้องกราบขออนุญาตและขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับที่ท่านอาจารย์ได้ให้ความกรุณาต่อศิษย์อย่างมากมายเพราะการที่ท่านเขียนหนังสือดีๆ แบบนี้ให้แก่พวกเราคนไทยได้อ่านกันถือเป็นพระคุณอย่างสูงเลยทีเดียวครับ

 

ปล ผมคิดว่าถ้าหากเพื่อนๆ มีโอกาสที่จะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็น่าที่จะมีความคิดหลายๆ อย่างเหมือนกันกับผมนั่นก็คือ หนังสือเล่มนี้เขียนไม่เหมือนตำราเล่มอื่นๆ ที่เขียนโดยคนไทยทั่วๆ ไป ถูกต้องแล้วครับ ท่านอาจารย์เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมาได้ดีและมีความน่าสนใจมากๆ เพราะนอกจากจะมีเนื้อหาที่ครบถ้วนแล้ว ยังมีการอธิบายที่มาที่ไปหรือส่วนลึกของเนื้อหาภายในเนื้อเรื่องและส่วนต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมอีกด้วย ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดที่กำลังมองหาหนังสือวิศวกรรมฐานรากดีๆ สัก 1 เล่ม เอาไว้เพื่อใช้ในการเรียนหรือการทำงาน ผมก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้เลย โดยที่เพื่อนๆ สามารถที่จะหาซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ตามแผงหนังสือหรือร้านขายหนังสือทั่วๆ ไปและผมต้องขอออกตัวเอาไว้ก่อนว่า นอกจากการที่ผมจะคอยติดตามอ่านผลงานหนังสือรวมถึงงานวิชาการต่างๆ ของท่านอาจารย์แล้ว ผมยังได้มีโอกาสที่จะได้สนทนากับท่านอาจารย์ถึงประเด็นของคำถามประเด็นนี้ด้วย โดยที่ผมจะขอนำเนื้อความที่ท่านอาจารย์ได้ทำการสนทนากับผมมาแบ่งปันและแชร์ให้กับเพื่อนๆ ทุกคนภายในโพสต์ๆ นี้ด้วยครับ

 

เนื่องจากตอนที่ผมได้มีโอกาสสนทนากับท่านอาจารย์นั้นมีหลากหลายประเด็นด้วยกันแต่ภายในโพสต์ๆ นี้ผมจะขออนุญาตหยิบยกเอามาแชร์เฉพาะประเด็นต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง โดยที่รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้มนั้นผมขอสรุปเอาไว้โดยสังเขปดังนี้นะครับ

 

ค่าของ น้ำหนัก คูณ ด้วย ระยะของการตก ที่ไม่มีการคูณด้วยตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้มหรือค่า E ถือได้ว่าเป็นรูปแบบทั่วๆ ไปของสมการในการตอกเสาเข็มซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วและยังเป็นรูปแบบที่อยู่ในสมการการตอกเสาเข็มของ ENR อีกด้วย ดังนั้นหากประสบการณ์ของผู้ทำการคำนวณพบว่า การตอกเสาเข็มนั้นมีการใช้ตุ้มโดยขาดการดูแลเอาใจใส่หรืออาศัยวิธีในการควบคุมการตอกที่หละหลวม อาจจะไม่ได้มีความใส่ใจ จนในที่สุดทำให้ขาดความแม่นยำในขั้นตอนของการควบคุมงานการตอกเสาเข็มไป เราก็สามารถที่จะทำการคูณด้วย ตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้ม หรือบางคนก็อาจจะเรียกว่า ตัวคูณเนื่องจากการสูญเสียที่เกิดจากแรงเสียดทาน หรือ FRICTION LOSS FACTOR เข้าไปก็ได้ ซึ่งไม่ถือว่าผิดกติกาแต่อย่างใดเพราะหากย้อนไปดูที่มาที่ไปของสมการที่ใช้ในการคำนวณการตอกเสาเข็มแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าที่มาที่ไปของค่าพารามิเตอร์ส่วนหนึ่งภายในสมการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้มาจากการทดลองทำจริงหรือพูดง่ายๆ คือเป็นค่าพารามิเตอร์ที่ได้มาโดยวิธีการทาง EMPERICAL แทบทั้งสิ้น

 

โดยจะเห็นได้ว่าในหลายๆ ครั้งจากประสบการณ์ในการใช้งานค่าตัวคูณความปลอดภัยหรือค่า FACTOR OF SAFETY ที่ใช้รวมไปถึงค่า ELASTIC COMPRESSION C จะมีผลต่อการคำนวณเป็นอย่างมาก ดังนั้นนอกเหนือจากการคูณด้วยค่า ตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้ม หรือ ตัวคูณเนื่องจากการสูญเสียที่เกิดจากแรงเสียดทาน เข้าไปในพจน์ต่างๆ ในสมการในการตอกเสาเข็ม วิศวกรผู้ออกแบบก็ควรที่จะใช้ตามประสบการณ์ในการตอกเสาเข็มในพื้นที่นั้นๆ เป็นหลักเสมอเพราะต้องไม่ลืมว่าสมการที่ใช้ในการคำนวณการตอกเสาเข็มนั้นถือได้ว่าเป็นวิธีการโดยการประมาณการโดยหยาบๆ เพียงเท่านั้น

 

ดังนั้นนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรื่องของการทำการทดสอบดินจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไมได้ที่จะไม่พูดถึง อย่างไรเสียการทดสอบดินก็ยังคงเป็นขั้นตอนที่เราควรที่จะลงมือทำก่อนเป็นอันดับแรกๆ ของการทำงานการก่อสร้าง โดยที่ผมจะขอยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ หากในขั้นตอนของการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นเรามีการบำรุงรักษาเครื่องจักรและตัวตุ้มเป็นอย่างดี นั่นก็เท่ากับว่า ในการตอกเสาเข็มของเรานั้นแทบที่จะไม่เกิดการสูญเสียที่เกิดจากแรงเสียดทานเลย หรือ ไม่เกิดการสูญเสียในการเปิดปิดวาล์ว หรือ ไม่เกิดระยะ STROKE ที่เกิดการหดตัวสั้นลง นั่นก็เท่ากับว่าผู้คำนวณนั้นก็สามารถที่จะใช้ค่าตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้มให้มีค่าเท่ากับ 1.00 ได้นั่นเองครับ

 

ในตอนท้ายของโพสต์ๆ นี้ผมอยากที่จะขออนุญาตให้ความเห็นในฐานะของวิศวกรผู้ออกแบบที่เป็นผู้ทำรายการคำนวณฉบับนี้สักเล็กน้อยนะครับ เนื่องด้วยตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้นผมมีความคุ้นเคยและทราบดีถึงรายละเอียดในการทำงานการตอกเสาเข็มของทางบริษัทภูมิสยามว่าทางบริษัทมีความใส่ใจ มีความเคร่งครัดในเรื่องมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง เครื่องจักรที่ใช้ในการตอก ตัวตุ้ม แรงงานและขั้นตอนต่างๆ ของการตอกเสเข็ม ในระดับที่มีความละเอียดเป็นอย่างมาก ผมถึงได้ตัดสินใจทำรายการคำนวณชุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้ทางบริษัทภูมิสยามได้ใช้งานและผมยังได้แจ้งให้คุณโอทราบด้วยว่า รายการคำนวณชุดนี้ผมได้ทำเอาไว้เพื่อให้ทางบริษัทภูมิสยามได้ใช้เพียงเท่านั้น เพราะหากผู้อื่นนำไปใช้โดยที่มีคุณสมบัติและสมมติฐานต่างๆ ในการปฏิบัติงานการตอกเสเข็มที่มีความด้อยกว่าหรืออาจจะมีความแตกต่างกันออกไปจากของทางบริษัทภูมิสยามแล้ว การคำนวณนั้นๆ ก็จะไม่ถือว่ามีความ VALID ในการนำไปใช้งาน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หากผู้หนึ่งผู้ใดนำรายการคำนวณชุดนี้ไปใช้ในการทำงานการตอกเสาเข็มโดยที่ค่าที่ใช้ในการป้อนเข้าไปในรายการคำนวณนั้นขาดความถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกันกับวิธีในการปฏิบัติงานจริงๆ คำตอบต่างๆ ที่ได้จากรายการคำนวณฉบับนี้ก็จะไม่ถือว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงครับ

 

สุดท้ายนี้ก็จะเป็นไปตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ รับทราบไปข้างต้นและผมเองมักที่จะพูดอยู่บ่อยครั้งก่อนหน้านี้ว่า ค่าพารามเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ภายในสมการการตอกเสาเข็มนั้น ไม่ใช่เฉพาะ ตัวคูณลดประสิทธิภาพของตัวตุ้ม หรือ ตัวคูณเนื่องจากการสูญเสียที่เกิดจากแรงเสียดทาน จะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและประสบการณ์ในการทำงานการตอกเสาเข็มของผู้ทำรายการคำนวณการตอกเสเข็มเป็นหลักนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายเรื่องสมการในการตอกเสาเข็มโดยDanishFormula

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com