บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST ซึ่งการทดสอบหาค่าขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธี PARALLEL SEISMIC TEST นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการที่เราจะต้องมีข้อมูลหรือหากไม่มีข้อมูลใดๆเลย ต้องทำการคาดเดาก่อนว่าเสาเข็มต้นที่เราต้องการจะทำการทดสอบนั้นจะมีความลึกประมาณเท่าใด หลังจากนั้นก็ให้ทำการสร้างหลุมเจาะขึ้นมาโดยให้อยู่ภายในรัศมีไม่เกินประมาณ 1500 มม. จากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทำการทดสอบ ต่อมาเราจะอาศัยการส่งถ่ายสัญญาณในลักษณะคลื่นลงไป ซึ่งเราจะค่อยๆ ทำการส่งผ่านให้คลื่นดังกล่าวนั้นเดินทางลงไปในโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มโดยที่เรามักจะใช้อุปกรณ์จำพวกค้อนกระแทกให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกแรงกระแทกเพื่อที่จะได้ส่งสัญญาณคลื่นนี้ลงไป (โดยที่มีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งว่า ด้านบนของโครงสร้างฐานรากหรือโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันกับโครงสร้างเสาเข็ม) … Read More

Green Industry

นโยบาย โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งเน้นป้องกันปัญหา และปรับปรุงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มการนำกลับไปใช้ใหม่ ส่งเสริมสุขภาพที่ดี ป้องกันการบาดเจ็บ และโรคจากการทำงาน รวมทั้งอันตรายจากความเสี่ยงทุกกิจกรรม ทั้งของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป

ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้ เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานซอฟต์แวร์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ สืบเนื่องมาจากการที่มีรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งเค้าคงจะทราบมาว่าตัวผมนั้นเป็นสามัญวิศวกรโยธาที่ทำงานทางด้านการออกแบบและการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างมาก็ไม่น้อย เค้าจึงได้ฝากคำถามสั้นๆ แต่ได้ใจความเข้ามาคำถามหนึ่งในทำนองว่า อยากให้ผมให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ หรือ FINITE ELEMENT ANALYSIS หรือเขียนสั้นๆ ว่า … Read More

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile … Read More

1 81 82 83 84 85 86 87 188