การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST
การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST ซึ่งการทดสอบหาค่าขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธี PARALLEL SEISMIC TEST นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการที่เราจะต้องมีข้อมูลหรือหากไม่มีข้อมูลใดๆเลย ต้องทำการคาดเดาก่อนว่าเสาเข็มต้นที่เราต้องการจะทำการทดสอบนั้นจะมีความลึกประมาณเท่าใด หลังจากนั้นก็ให้ทำการสร้างหลุมเจาะขึ้นมาโดยให้อยู่ภายในรัศมีไม่เกินประมาณ 1500 มม. จากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทำการทดสอบ ต่อมาเราจะอาศัยการส่งถ่ายสัญญาณในลักษณะคลื่นลงไป ซึ่งเราจะค่อยๆ ทำการส่งผ่านให้คลื่นดังกล่าวนั้นเดินทางลงไปในโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มโดยที่เรามักจะใช้อุปกรณ์จำพวกค้อนกระแทกให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกแรงกระแทกเพื่อที่จะได้ส่งสัญญาณคลื่นนี้ลงไป (โดยที่มีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งว่า ด้านบนของโครงสร้างฐานรากหรือโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันกับโครงสร้างเสาเข็ม) … Read More
อยากต่อเติมบ้าน แต่พื้นที่ค่อนข้างจำกัด สามารถตอกเสาเข็มต่อเติมได้รึเปล่าคะ ???
มีหลายท่าน ส่งคำถามกันเข้ามาว่า อยากต่อเติมบ้าน ต่อเติมอาคาร แต่พื้นที่ค่อนข้างจำกัด จะต่อเติมได้รึเปล่า จะส่งเสียงรบกวน หรือ เลอะดินโคลนรึเปล่า วันนี้ได้นำภาพการทำงานในพื้นที่จำกัด มาฝากกันนะ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. และ การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ … Read More
การจำลองโครงสร้างแผ่นพื้น 2 แผ่นในซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENTS
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ สืบเนื่องจากการที่เมื่อวานผมได้ทำการอธิบายถึงวิธีในการทำงานก่อสร้างโครงสร้าง แผ่นพื้น หรือ ผนัง คสล ที่มีช่องเปิด ก็พบว่าได้รับความสนใจและคำถามจากเพื่อนๆ มากเลยนะครับ … Read More
ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน หัวข้อที่ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ รวมไปถึงน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามกับผมในวันนี้จริงๆ แล้วอาจไม่ถือว่าเกี่ยวเนื่องกันกับเรื่อง วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ สักเท่าใดนักนะครับ เพราะ หัวข้อในวันนี้ คือ ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง นั่นเองครับ สำหรับ ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง นั้นผมต้องขออธิบายเสียก่อนนะครับปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ (1) หน้าตัดของเสาเข็มของเรานั้นเป็นแบบ ไม่สมมาตรใน แกนใดแกนหนึ่ง หรือ ทุกๆ … Read More