ประเภทของการออกแบบและการใช้งานโครงสร้างเหล็กแผ่นที่จะมีหน้าที่ในการรับแรงอัดจากเสาเหล็ก หรือเรียกง่ายๆ ว่าโครงสร้าง BASE PLATE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้เคยโพสต์และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ประเภทของการออกแบบและการใช้งานโครงสร้างเหล็กแผ่นที่จะมีหน้าที่ในการรับแรงอัดจากเสาเหล็ก หรือเรียกง่ายๆ ว่าโครงสร้าง BASE PLATE ว่ามีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทที่ 1 ได้แก่แบบที่ไม่มีการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัวหรือ NON-SHRINK GROUT และประเภทที่ 2 ได้แก่แบบที่มีการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว พร้อมกันนี้ผมยังเคยได้นำภาพจริงๆ ของโครงสร้างเหล็กแผ่นที่ยังไม่ได้มีการทำงานการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัวให้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจึงคิดว่าน่าจะได้ออกติดตามดูสิว่า โครงสร้างดังกล่าวนั้นมีสภาพเป็นอย่างไรนะครับ

 

หากสังเกตดูจากรูปดีๆ จะพบว่าถึงแม้ว่ารูปที่ผมถ่ายมาให้ดูนี้เป็นรูปในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่า เสาไฟเหล่านี้มีการเปิดให้ใช้งานมานานแล้วแต่ผมก็เชื่อว่าเพื่อนๆ น่าที่จะมองออกว่าจริงๆ แล้วรูปก่อนและหลังนี้ก็คือรูปในสถานที่เดียวกัน ต่างกันที่เวลาในการถ่ายมาเท่านั้นครับ ซึ่งผลก็จะปรากฏให้เห็นว่าในขณะนี้การก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจึงจะสามารถเห็นได้ว่าใต้เหล็กแผ่นนั้นจะมีการเทให้เต็มด้วย NON-SHRINK GROUT เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แบบนี้ก็น่าจะเป็นที่สบายใจได้แล้วเพราะอย่างน้อยการก่อสร้างก็เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการตั้งสมมติฐานเอาไว้

 

ซึ่งประเด็นนี้เองที่ผมเน้นย้ำกับเพื่อนๆ มาโดยตลอดว่า หากเราทำหน้าที่เป็นโฟร์แมนหรือวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานก่อสร้างก็ตามแต่ หากว่าภายในแบบกำหนดมาให้ทางหน้างานเราต้องมีรายละเอียดและขั้นตอนในการทำงานการก่อสร้างเป็นอย่างไรก็ตาม เราก็มีหน้าที่ๆ จะต้องคอยควบคุมการทำงานให้การก่อสร้างนั้นออกมาตามนั้น เพราะเวลาที่ทางผู้ออกแบบนั้นได้ทำการออกแบบและให้รายละเอียดต่างๆ ในโครงสร้างมา ทางผู้ออกแบบเองก็ย่อมที่จะทราบดีถึงสมมติฐานและข้อจำกัดต่างๆ ของโครงสร้างนั้นๆ ว่ามีลักษณะเป็นเช่นใดบ้าง หากเราไม่ปฏิบัติตามโดยขาดไปหรือไม่มีเหตุและผลอันสมควรแล้ว นั่นก็อาจจะทำให้เรามีความผิดฐานละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ก็ได้นะครับ

 

เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตเล่าและสรุปให้เพิ่อนๆ ได้รับทราบกันอีกครั้งหนึ่งก็แล้วกันถึงวิธีในการทำงานติดตั้งแผ่นเหล็กเพื่อทำหน้าที่ในการรองรับเสาเหล็ก ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ซึ่งประกอบด้วย

 

  1. จะต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ซึ่งหากเป็นโครงสร้างที่พบได้โดยทั่วๆ ไปแล้ว วิศวกรผู้ออกแบบก็มักที่จะทำการกำหนดให้รายละเอียดของจุดต่อให้เป็นแบบนี้

 

  1. ไม่จำเป็นต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ใดๆ เลย ซึ่งก็อาจจะพบเห็นได้เหมือนกันแต่จะมีในสัดส่วนที่น้อยกว่าแบบแรกค่อนข้างมาก

 

สาเหตุที่เราพบแบบที่สองได้น้อยกว่าแบบแรกก็เพราะ หากทำตามแบบแรกซึ่งเป็นการ GROUT ด้วยวัสดุ NON-SHRINK เนื่องด้วยการที่ตัววัสดุเองนั้นมีจุดเด่นทางด้าน หน่วยแรงเค้นแบบกด (COMPRESSIVE STRESS) ที่ดีก็จริงแต่การ GROUT นั้นก็จะใช้วัสดุตัวนี้ในปริมาณที่น้อยมากๆ เพื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่รับแรงทั้งหมด ซึ่งนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยทำให้ค่าความแข็งแกร่ง (STIFFNESS) ที่บริเวณนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีก็ต้องยอมรับว่าการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ก็ยังเป็นการทำให้ค่าความแข็งแกร่งนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบที่ไม่ได้มีการ GROUT อย่างแน่นอนนะครับ และ ที่สำคัญคือเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ยังจะช่วยทำให้งานแลดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าแบบที่ไม่ทำการ GROUT มากๆ เลยละครับ

 

อีกประการหนึ่งที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้าก็คือ ในแบบที่สองนั้นเรามักจะมีการใช้งานก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นในการทำงานจริงๆ เท่านั้น เช่น เสาเหล็กที่มีการใช้งานเป็นแบบชั่วคราว (TEMPORARY POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้มักจะมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการ รื้อถอนออกไปได้โดยง่าย หากทำการ GROUT จะเป็นอุปสรรคเวลาทำการรื้อถอนออกไป หรือ เป็นเสาเหล็กที่สามารถที่จะทำการปรับระดับได้ (ADJUSTABLE POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้ต้องสามารถทำการแก้ไข หรือ ทำการปรับในเรื่องระดับความสูงต่ำได้โดยง่าย หากทำการ GROUT ปิดไปทั้งหมดก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำการปรับในเรื่องของระดับดังกล่าวได้ เป็นต้น ซึ่งจากเหตุผลเพียง 2 ข้อข้างต้นเราก็จะมีโอกาสพบเจอได้น้อยครั้งมากๆ เลยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ติดตามและอธิบายถึงวิธีการเติมหรือไม่เติมช่องว่างใต้แผ่นเหล็กให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com