ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างสำหรับวางแนวท่อ หรือ PIPE RACK STRUCTURAL SYSTEM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ขณะนี้ผมกำลังพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันกับลักษณะของระบบโครงสร้างๆ หนึ่งซึ่งจริงๆ แล้วมีการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยทั่วไปแต่สาเหตุที่เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะไม่มีความคุ้นเคยหรืออาจจะยังไม่รู้จักกันกับระบบโครงสร้างนี้ดีเพียงพอนั่นก็เป็นเพราะโดยมากแล้วระบบโครงสร้างดังกล่าวนี้จะมีการใช้งานอยู่ในงานประเภทที่มีความเกี่ยวข้องกันกับงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งเจ้าระบบโครงสร้างนี้มีชื่อว่า ระบบโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อ หรือ PIPE RACK STRUCTURAL SYSTEM นั่นเองครับ

อย่างที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปในโพสต์ครั้งก่อนว่า จริงๆ แล้วจุดประสงค์ของการใช้งานเจ้าโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนำเอาแนวท่อจากตำแหน่งๆ หนึ่ง ผ่านไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งที่ต้องการ โดยที่จะเกิดความปลอดภัยต่อทั้งตัวแนวท่อเอง ต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่มีความเกี่ยวข้อง และ สุดท้ายก็คือ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะรวมถึงสิ่งของต่างๆ ที่ต้องแวดล้อมเจ้าแนวท่อนี้ด้วย เช่น อาคารสำนักงาน อาคารโรงงานอุตสาหกรรม ถนน รถ ยานพาหนะ หรือ แม้กระทั่งแนวท่อเส้นอื่นๆ ที่อาจจะต้องมาพบเจอกันก็ได้ เป็นต้น ดังนั้นเราจะพบเห็นได้ว่าเจ้าโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อนี้จะมีอยู่ในหลายๆ โครงการที่ต้องมีการเดินท่อต่างๆ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมหรือแม้กระทั่งอาคารทำการหรืออาคารพาณิชย์ทั่วๆ ไปก็ตามแต่ที่จำเป็นที่จะต้องมีงานท่อที่ทำหน้าที่ในการขนส่งก๊าซหรือของเหลวต่างๆ จากจุดหนึ่ง ผ่านไปยังอีกจุดหนึ่งที่ต้องการ ก็จะล้วนแล้วแต่จะมีเจ้าโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อนี้แทบจะในทุกๆ โครงการเลยก็ว่าได้นะครับ

ซึ่งหากจะพูดถึงประเด็นหลักๆ ในเรื่องของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของเจ้าโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น 2 ประเด็นหลักนั่นก็คือ
(1) เรื่องการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกันกับ การเคลื่อนย้ายมวลสารที่จะถูกลำเลียงผ่านไปในท่อของเรา
ซึ่งอาจประกอบไปด้วยมวลสารประเภทที่เป็นของเหลว และ ประเภทที่เป็นก๊าซ เนื่องด้วยลักษณะของมวลสารดังกล่าวนั้นจะมีค่าน้ำหนักของตัวเองที่มีความแตกต่างกัน เนื่องด้วยมวลสารเหล่านี้มีค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ SPECIFIC GARVITY ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งมวลสารบางชนิดก็มีค่าของความถ่วงจำเพาะที่ต่ำกว่าน้ำและบางชนิดก็มีค่าของความถ่วงจำเพาะที่สูงกว่าน้ำ เหมือนในรูปที่ 1 ที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในโพสต์ๆ นี้ ประกอบกันกับวิธีในการเคลื่อนย้ายมวลสารเหล่านี้มักจะไม่ได้เป็นการเคลื่อนย้ายด้วยแรงโน้มถ่วงแต่มักจะต้องถูกเคลื่อนย้ายด้วยแรงดันจากเครื่องเพิ่มแรงดัน ซึ่งแน่นอนว่าแรงดันดังกล่าวนี้จะมีค่าที่มากและน้อยแตกต่างกันออกไป ดังนั้นวิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะทำการออกแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้สามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ทำการออกแบบให้ทุกๆ อย่างที่มีความเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างนั้นสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำเนื่องจากปัจจัยข้อนี้ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ นะครับ

(2) เรื่องการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกันกับ การต้านทานต่อประเภทของแรงกระทำชนิดต่างๆ ที่มีความวิกฤติต่อกรณีของงานก่อสร้างของเรา
สาเหตุที่วิศวกรผู้ออกแบบมีความจำเป็นต้องทราบประเภทของแรงกระทำชนิดต่างๆ ที่มีความวิกฤติต่อกรณีของงานก่อสร้างนั้นเป็นเพราะว่า อุตสาหกรรมแต่ละประเภทหรือมวลสารแต่ละชนิดที่เราต้องทำการลำเลียงนั้นย่อมที่จะมีมูลค่าและความสำคัญแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีมูลค่าอยู่ในระดับที่สูงมากๆ ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากตัวโครงสร้าง ก็ย่อมที่จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งย่อมไม่มีใครต้องการที่จะให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น อีกทั้งทำเลของสถานที่ในการก่อสร้างเจ้าโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อนี้ก็ย่อมที่จะมีความแตกต่างกันออกไป บางพื้นที่ก็มีความเสี่ยงภัยต่อแรงกระทำเนื่องจากแรงลม หรือ ความเสี่ยงภัยต่อแรงกระทำเนื่องจากการสั่นสะเทือนของคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งระดับของความรุนแรงของความเสี่ยงภัยนี้ก็จะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะทำให้เราอาจจะสังเกตเห็นได้ว่า เพราะเหตุใดโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อบางโครงสร้างจึงแลดูมีความบอบบางมากๆ เมื่อเทียบกันกับอีกโครงสร้างหนึ่ง หรือ เพราะเหตุใดโครงสร้างสำหรับวางแนวท่อบางโครงสร้างก็มักจะมีโครงค้ำยันในแนวทแยงแบบรวมศูนย์ หรือ CONCENTRIC BRACING หรือ โครงค้ำยันในแนวทแยงแบบไม่รวมศูนย์ หรือ ECCENTRIC BRACING เหมือนในรูปที่ 2 และ 3 และในบางโครงสร้างก็ไม่มี เหมือนในรูปที่ 4 และ 5 ซึ่งหลายๆ ครั้งก็อาจจะเนื่องด้วยเหตุผลและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลต่อประเด็นๆ นี้ด้วย เช่น มาตรฐานในการออกแบบที่ถูกกำหนดให้ใช้ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้วบางครั้งประเด็นในข้อนี้ก็มักจะไปผสมปนเปกันกับประเด็นในข้อที่ (1) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้น่ะครับ

ทั้งนี้ผมต้องขออนุญาตและขอขอบคุณภาพประกอบในการโพสต์ของวันนี้ ซึ่งผมได้ไปพบมาจากอินเตอร์เน็ตมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#โครงสร้างสำหรับวางแนวท่อ
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam