สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
จริงๆ แล้วผมตั้งใจที่จะนำเอาคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อๆ นี้ไปตอบในวันศุกร์ซึ่งก็คือวันพรุ่งนี้ ซึ่งสุดท้ายสาเหตุที่ผมได้เลือกนำเอามาโพสต์ในวันนี้เป็นเพราะคำถามในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากเสาที่อาศัยเข็มในการรับน้ำหนักนั่นเองครับ
เนื่องจากว่าในช่วงเวลานี้ผมกำลังทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างเดิมอยู่พอดิบพอดี ซึ่งหนึ่งในโครงสร้างเหล่านั้นก็จะประกอบไปด้วยโครงสร้างฐานรากด้วย ซึ่งคำถามนั้นมาจากทางลูกค้าที่ได้สอบถามผมเข้ามาว่า
“เพราะเหตุใดเวลาที่เราจะทำการเสริมโครงสร้างฐานรากที่อาศัยโครงสร้างเสาเข็มในการรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 1 ต้น หรือ F1 โครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 2 ต้น หรือ F2 โครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น หรือ F3 ก็ดี ทางวิศวกรจึงมักจะให้คำแนะนำว่า ให้ทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เป็นแบบ “เลขคู่” เสมอเลย?”
ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ที่เป็นแฟนเพจของเราหลายๆ คนพอได้ยินคำถามในทำนองนี้ก็แทบจะตอบได้เลยว่าเป็นเพราะสาเหตุใด เนื่องจากผมเคยได้อธิบายพร้อมกับหยิบยกนำเอาตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้มาพูดถึงแล้วบ่อยครั้งมากๆ เลยแต่ก็ไม่เป็นไร ผมถือเสียว่าเป็นการตอบให้แก่แฟนเพจที่อาจจะยังไม่ทราบถึงสาเหตุว่า เพราะเหตุใดเวลาที่เราจะทำการเสริมโครงสร้างฐานรากที่อาศัยโครงสร้างเสาเข็มในการรับน้ำหนัก ทางวิศวกรจึงมักจะให้คำแนะนำว่า ให้ทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เป็นแบบ “เลขคู่” เสมอเลยก็แล้วกันนะครับ
จริงๆ แล้วการที่เพื่อนๆ มักจะได้ยินคำแนะนำมาว่า จะต้องทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เป็นแบบ “เลขคู่” เสมอนั้น ยังถือว่า “ไม่ถูกต้อง” เสียทีเดียวนะ เพื่อนๆ ไม่งงกันนะเพราะถ้าจะให้คำแนะนำที่มีความถูกต้องจริงๆ ควรจะต้องพูดว่า เราจะต้องทำการเสริมโครงสร้างเสาเข็มให้เกิดความ “สมมาตร” ขึ้นในโครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากแทนนะครับ
เนื่องด้วยการกำหนดให้โครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากให้มีคุณลักษณะของความสมมาตรจะช่วยทำให้เกิดความมีเสถียรภาพและพฤติกรรมต่างๆ ของตัวโครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มเองนั้นออกมามีความเป็น “ปกติ” มากที่สุด ซึ่งสาเหตุที่ผมใช้คำว่า “ปกติ” นั้นเป็นเพราะว่า จริงๆ แล้วเราสามารถที่จะทำให้โครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากนั้นมีรูปแบบที่ไม่สมมาตรได้ รวมถึงการที่เราจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างฐานรากก็ยังคงสามารถที่จะทำได้อยู่แต่ก็จะเกิดความอยากลำบากขึ้นมากๆ อันเนื่องมาจากว่า ความไม่สมมาตรที่เกดขึ้นนั้นจะทำให้ระดับของความมีเสถียรภาพของโครงสร้างฐานรากของเรานั้นลดน้อยลงตามไปด้วย อีกทั้งยังทำให้พฤติกรรมของตัวโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มเองนั้นจะมีความยุ่งเหยิงและ “ผิดปกติ” มากๆ เลยนะครับ
เอาเป็นว่าเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ให้มากยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมได้ทำมาให้เพื่อนๆ ได้ดูไปพร้อมๆ กันเลยสักหนึ่งตัวอย่างก็แล้วกันนะ โดยผมขอสมมติว่า ผมต้องการที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างฐานรากของผมให้ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักในแนวดิ่งเท่ากับ 100 ตัน ทั้งนี้ผมต้องการที่จะใช้งานโครงสร้างเสาเข็มที่มีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักเท่ากับ 15 ตัน/ต้น ดังนั้นผมจะต้องใช้จำนวนของเสาเข็มทั้งสิ้น
N = Pa / Pp,a = 100 / 15 = 6.7 PILES
ดังนั้นเพื่อให้โครงสร้างเสาเข็มของผมนั้นมี MARGIN ที่มากเพียงพอต่อการรับน้ำหนัก ผมจึงได้เลือกใช้งานจำนวนของโครงสร้างเสาเข็มทั้งหมดเท่ากับ 9 ต้น ซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องการจริงๆ ถึงประมาณ 2.3 ต้น เลยทีเดียว ต่อมาหากเพื่อนๆ ดูในรูปก็จะเห็นได้ว่า การเรียงตัวของโครงสร้างเสาเข็มในโครงสร้างฐานรากทั้งสองนี้จะเหมือนๆ กันนั่นก็คือ จะเป็นแบบสมมาตร คือแถวละ 3 ต้น ทั้งหมด 3 แถว มีเพียงแค่อย่างเดียวที่จะแตกต่างกันนั่นก็คือ ตำแหน่งของเสาตอม่อ โดยรูปทางด้านซ้ายมือ ตัวโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของโครงสร้างฐานราก ซึ่งก็จะทำให้การรับน้ำหนักของโครงสร้างฐานรากนี้เป็นแบบมีความสมมาตร ส่วนรูปทางด้านขวามือ ตัวโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของโครงสร้างฐานรากแต่จะค่อนมาทางด้านล่าง-ขวามือแทน ซึ่งก็จะทำให้การรับน้ำหนักของโครงสร้างฐานรากนี้เป็นแบบไม่มีความสมมาตรนะครับ
เพื่อนๆ จะเห็นได้จากผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการ FEA ปรากฏว่า แรงปฏิกิริยาภายในโครงสร้างเสาเข็มของรูปทางด้านซ้ายมือนั้นจะออกมามีค่าที่เท่าๆ กันทุกๆ ต้นเลย ซึ่งก็จะเห็นด้วยว่าค่าแรงปฏิกิริยาดังกล่าวนั้นจะออกมามีค่า “น้อยกว่า” ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างเสาเข็มซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 15 ตัน/ต้น ดังนั้นสำหรับกรณีนี้เราก็จะถือได้ว่า พฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากในรูปๆ นี้ก็จะมีความปกติมากๆ ตรงกันข้ามกับรูปทางด้านขวามือ ซึ่งก็จะเห็นได้จากเส้นสีเขียวซึ่งก็คือเส้นที่แสดงค่าการเสียรูปของโครงสร้างฐานราก โดยจะเห็นได้ว่าฐานรากรูปนี้จะเกิดการพลิกคว่ำ หรือ OVERTURNED ขึ้น ส่วนแรงปฏิกิริยาภายในโครงสร้างเสาเข็มแต่ละต้นนั้นก็จะออกมามีค่าที่ไม่ค่อยจะเท่ากันเลย ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าแรงปฏิกิริยาดังกล่าวของโครงสร้างเสาเข็มต้นที่อยู่ในตำแหน่งใกล้ๆ กันกับโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะออกมามีค่าที่ “มากกว่า” ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างเสาเข็มเสียอีก มิหนำซ้ำค่าแรงปฏิกิริยาของโครงสร้างเสาเข็มต้นที่อยู่ใกลออกไปใกลที่สุดจากตำแหน่งของโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะออกมามีค่า “ติดลบ” ซึ่งนั่นก็หมายความว่า โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นจะต้องทำหน้าที่ในการรับ “แรงดึง” แทนที่จะเป็น “แรงอัด” ซึ่งโครงสร้างเสาเข็มทั่วๆ ไปนั้นควรจะต้องรับเฉพาะเพียงแค่แรงประเภทนี้เท่านั้น ทำให้ผู้ออกแบบจะต้องไปทำการทบทวนและตรวจสอบการออกแบบดูอีกหลายๆ เรื่องเลย เช่น ต้องนำเอา BORING LOG มาพิจารณาถึงค่าความสามารถในการรับแรงดึงของโครงสร้างเสาเข็ม ต้องทำการตรวจสอบค่าอัตราส่วนความปลอดภัยของโครงสร้างฐานรากที่มีต่อการพลิกคว่ำว่าอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้นนะครับ
สุดท้ายนี้ผมก็คงที่จะให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ เหมือนกันกับที่ผมได้เคยพูดไปก่อนหน้านี้ว่า เราควรที่จะต้องทำการออกแบบหรือเสริมโครงสร้างเสาเข็มในโครงสร้างฐานรากของเราให้เกิดความ “สมมาตร” จะเป็นการดีที่สุด เนื่องด้วยโครงสร้างฐานรากที่มีคุณลักษณะของความสมมาตรนั้นจะทำให้ความมีเสถียรภาพและพฤติกรรมต่างๆ ของตัวโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มเองนั้นออกมามีความเป็น “ปกติ” มากที่สุดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#เหตุใดจึงควรทำการออกแบบให้โครงสร้างเสาตอม่อโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มให้มีความสมมาตร
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com