การจำแนกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


จากรูปโครงสร้าง A B C และ D ที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้ซึ่งในรูป A และ B จะเป็นรูปของโครงสร้างเสาสูงและในรูป C และ D จะเป็นรูปของโครงสร้างสะพาน คำถามในวันนี้ก็คือ มีโครงสร้างใดบ้างที่จัดได้มีชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว หรือ TENSIONED ONLY STRUCTURES บ้าง ?

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการจำแนกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการจำแนกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ


เริ่มกันที่รูป A และ B ซึ่งจะเป็นรูปของโครงสร้างเสาสูงกันก่อน หากดูจากภายนอกผ่านๆ เราอาจจะเห็นได้ว่าโครงสร้างในรูป A และ B นั้นแทบจะไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันเลยแต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงสร้างในรูป A จะเป็นโครงสร้างเสาสูงที่จัดอยู่ในประเภท STAND ALONE TOWER ส่วนโครงสร้างในรูป B จะเป็นโครงสร้างเสาสูงที่จัดอยู่ในประเภท GUY MAST TOWER ซึ่งความแตกต่างหลักๆ ของโครงสร้างทั้งสองก็คือ โครงสร้างประเภท STAND ALONE TOWER นั้นจะถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพทางแนวราบอยู่ได้ด้วยตัวของโครงสร้างหลักเอง ส่วนโครงสร้างประเภท GUY MAST TOWER นั้นจะถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพทางแนวราบอยู่ได้ด้วยตัวลวดยึดรั้ง ซึ่งเจ้าตัวลวดยึดรั้งนี้เองก็คือโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวครับ

มาต่อกันที่รูป C และ D ซึ่งก็จะเป็นรูปของโครงสร้างสะพานกันบ้าง หากดูจากภายนอกผ่านๆ เราก็อาจจะเห็นได้ว่าโครงสร้างในรูป C และ D นั้นก็แทบจะไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันเลยแต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงสร้างในรูป C นั้นจะเป็นโครงสร้างสะพานที่จัดอยู่ในประเภท TRUSS BRIDGE ส่วนโครงสร้างในรูป D จะเป็นโครงสร้างสะพานที่จัดอยู่ในประเภท CABLE STAYED BRIDGE ซึ่งความแตกต่างหลักๆ ของโครงสร้างทั้งสองก็คือ โครงสร้างประเภท TRUSS BRIDGE นั้นจะถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพทางแนวดิ่งอยู่ได้ด้วยตัวของโครงสร้างหลักเอง ส่วนโครงสร้างประเภท CABLE STAYED BRIDGE นั้นจะถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพทางแนวดิ่งอยู่ได้ด้วยตัวลวด ซึ่งเจ้าตัวลวดยึดรั้งนี้เองก็คือโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวครับ

สรุปก็คือ ในรูป B และ D จัดได้ว่าเป็นโครงสร้างประเภทที่จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการจำแนกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com