ปัญหาการนำเอาค่าแรงดัดมาคิดผลของแรงเฉือนทะลุในโครงสร้างฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ


โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของโครงสร้างฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION ซึ่งจะเป็นการวางตัวโครงสร้างฐานรากลงไปอยู่บนดินโดยตรงเลย โดยต้องถือว่าฐานรากทั้ง 2 นี้เป็นฐานรากแบบยื่นหรือ CANTILEVER FOUNDATION ซึ่งต้องทำหน้าที่ในการรับแรงกระทำตามแนวแกนหรือ AXIAL FORCE ซึ่งมีค่าเท่ากับ P และแรงดัดหรอ MOMENT FORCE ซึ่งมีค่าเท่ากับ M หากผมทำการกำหนดให้
กรณีที่ 1 เป็นกรณีของการที่ฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นจะไม่ได้กระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากและลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด

กรณีที่ 2 เป็นกรณีของการที่ฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นจะไม่ได้กระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากและลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่ไม่ได้มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด

คำถามก็คือ หากผมมีความต้องการที่จะทำให้ขั้นตอนของการตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุหรือ PUNCHING SHEAR นั้นออกมามีความง่ายดายและตรงไปตรงมาที่สุด เพื่อนๆ คิดว่าผมควรที่จะเลือกทำการออกแบบแบบตามกรณีใดระหว่างกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 ?

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการนำเอาค่าแรงดัดมาคิดผลของแรงเฉือนทะลุในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN

 

คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาทำการพิจารณาว่าเราควรที่จะเลือกทำการออกแบบแบบตามกรณีใดระหว่างกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 ไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ


เริ่มกันที่กรณีที่ 1 ก่อน ซึ่งก็จะเข้าข่ายกรณีของการที่โครงสร้างฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากหรืออาจจะไม่ได้ลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากก็ได้ แต่ ลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด หากเป็นเช่นนั้นแรงดัดก็จะไม่มีผลใดๆ ต่อการเกิดแรงเฉือนทะลุเลย สุดท้ายแล้วแรงลัพธ์อันเนื่องมาจากแรงดัดที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงสร้างฐานรากแบบนี้จะถูกหักล้างหรือหายกันไปหมด ซึ่งก็จะทำให้ขั้นตอนในการตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุนั้นออกมามีความง่ายดายและตรงไปตรงมาดีนะครับ

มาต่อกันที่กรณีที่ 2 บ้าง ซึ่งก็จะเข้าข่ายกรณีของการที่โครงสร้างฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากหรืออาจจะไม่ได้ลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากก็ได้ แต่ ลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่ไม่ได้มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด หากเป็นเช่นนั้นแรงดัดจะมีผลต่อการเกิดแรงเฉือนทะลุทันที สุดท้ายแล้วแรงลัพธ์อันเนื่องมาจากแรงดัดที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงสร้างฐานรากแบบนี้จะไม่ถูกหักล้างหรือหายไปไหน ซึ่งก็จะทำให้ขั้นตอนในการตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุนั้นดูจะมีความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นกว่าในกรณีที่ 1 นะครับ

สรุปคำตอบสำหรับกรณีที่ผมได้ตั้งคำถามว่า หากผมมีความต้องการที่จะทำให้ขั้นตอนของการตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุนั้นออกมามีความง่ายดายและตรงไปตรงมาที่สุด ผมก็ควรที่จะเลือกทำการออกแบบแบบตามกรณีที่ 1 นั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการนำเอาค่าแรงดัดมาคิดผลของแรงเฉือนทะลุในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com