สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
ในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ให้ได้เข้าใจถึงผลของรูปทรงแบบที่มีความสมมาตรและไม่มีความสมมาตรของตัวโครงสร้างฐานรากแบบ ON GROUND ที่มีต่อค่าหน่วยแรงใต้ฐานรากว่าเป็นเช่นใด ซึ่งผลก็ค่อนข้างดีและได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ ของผมหลายๆ คนเลย ซึ่งส่วนใหญ่อยากที่จะได้เห็นรายการคำนวณประกอบการอธิบายด้วย ในวันนี้ผมจึงตัดสินใจเขียน SPREADSHEET สั้นๆ เพื่อที่จะแสดงผลและค่าที่มีความแตกต่างกันของสองกรณีดังกล่าวออกมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน โดยความแตกต่างระหว่างโครงสร้างฐานรากทั้งสองรูปแบบนั้นจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักๆ ด้วยกันได้แก่
1. ค่า ∑A หรือค่า NET GROSS BEARING AREA เพราะเมื่อใดที่เราทำการกำหนดให้ค่าความกว้างของด้านปลายหนึ่งของโครงสร้างฐานรากให้มีค่าเท่ากันแล้ว สำหรับโครงสร้างฐานรากที่เป็นแบบไม่มีความสมมาตรก็แน่นอนว่าขนาดของโครงสร้างฐานรากนั้นย่อมที่จะมีขนาดพื้นที่หน้าตัดที่เล็กกว่าฐานรากแบบที่มีความสมมาตร ดังนั้นก็จะทำให้โครงสร้างฐานรากแบบนี้มีความประหยัดทางด้านปริมาณของวัสดุที่มากกว่าโครงสร้างฐานรากแบบที่มีความสมมาตรเป็นธรรมดานะครับ
2. ค่า P’ หรือค่า NET AXIAL LOAD อันนี้ก็จะสืบเนื่องจากข้อที่ 1 เพราะในเมื่อพื้นที่หน้าตัดนั้นมีค่าที่น้อยกว่า ก็จะส่งผลทำให้ค่าน้ำหนักของตัวโครงสร้างฐานรากเองหรือ SELFWEIGHT นั้นออกมามีค่าที่น้อยตามไปด้วยนะครับ
3. ค่า Yt และ Yb หรือค่า TOP และ BOTTOM ของค่า NUETRAL AXIS เพราะเมื่อใดที่โครงสร้างฐานรากนั้นเป็นแบบไม่มีความสมมาตร เมื่อนั้นก็จะทำให้ค่าตำแหน่งของ NUETRAL AXIS นั้นไมได้ออกมาอยู่ที่กึ่งกลางของหน้าตัด ซึ่งสุดท้ายแล้วค่าๆ นี้ก็จะส่งผลต่อทั้งค่า I หรือค่า MOMENT OF INERTIA และค่า S หรือค่า SECTIONAL MODULUS อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
4. ค่าสุดท้ายก็คือค่า Ft และ Fb หรือค่า TOP และ BOTTOM ของค่าหน่วยแรงรวมหรือ TOTAL BEARING STRESS ที่อยู่ใต้โครงสร้างฐานราก ทั้งนี้ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อที่ 3 เพราะเมื่อใดที่ค่า SECTIONAL MODULUS ของหน้าตัดส่วนข้างบนและส่วนข้างล่างนั้นออกมามีค่าไม่เท่ากัน ก็จะส่งผลทำให้ค่าหน่วยแรงใต้ฐานรากของหน้าตัดส่วนข้างบนและส่วนข้างล่างนั้นออกมามีค่าไม่เท่ากันตามไปด้วยน่ะครับ
ดังนั้นเพื่อนๆ จะเห็นได้จาก SPREADSHEET นี้ว่า ค่าของหน่วยแรงของหน้าตัดส่วนข้างบนและส่วนข้างล่างอันเนื่องมาจากผลของแรงดัดสำหรับกรณีที่โครงสร้างฐานรากนั้นเป็นแบบไม่มีความสมมาตรจะออกมามีค่าที่ไม่เท่ากัน ซึ่งตรงนี้เองเราจะต้องนำเอาผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้มาคิดคำนวณผลของค่า PUNCHING SHEAR ที่เกิดขึ้นในหน้าตัดวิกฤติของโครงสร้างฐานรากนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#รายการคำนวณอธิบายว่าเมื่อใดที่จะต้องนำเอาค่าแรงดัดมาคิดผลของแรงเฉือนทะลุในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com