วิธีการกำหนดและออกแบบรายละเอียดของจุดต่อ ในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

หากสมมติว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างในโครงการก่อสร้างโครงหลังคาแบบเปิดแห่งหนึ่งและเพื่อนๆ ก็มีความต้องการที่จะทำการวางโครงสร้างเสาเหล็กหรือ STRUCTURAL STEEL COLUMN โดยที่จะทำการวางโครงสร้างเสาเหล็กนี้อยู่บนแผ่นเหล็กหรือ STEEL PLATE ซึ่งโครงสร้างทั้งหมดข้างต้นนี้ก็จะถูกวางลงอยู่บนโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่เพื่อนๆ ได้ทำการพิจารณาแล้วว่า พื้นดังกล่าวนี้มีขีดความสามารถต่างๆ ที่ดีเพียงพอ ดังนั้นเพื่อนๆ จึงเลือกที่จะใช้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กนี้ในการวางโครงสร้างเหล็กลงไปโดยที่จะไม่เกิดผลเสียใดๆ ต่อโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กนั่นเองครับ

 

ทั้งนี้เพื่อให้เกิด “ผลที่ดีที่สุด” ต่อตัวโครงสร้างเหล็กทุกๆ ส่วนดังที่ผมได้ทำการกล่าวถึงข้างต้น เพื่อนๆ จะเลือกทำการกำหนดและออกแบบรายละเอียดของจุดต่อในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีตตามกรณีใดระหว่าง

(A) วางโครงสร้างเหล็กลงไปบนโครงสร้างคอนกรีตโดยตรง โดยที่ไม่มีช่องว่างใดๆ ดังนั้นจึงไม่มีการใช้วัสดุใดๆ เป็นวัสดุรองใต้แผ่นเหล็กเลย

(B) วางโครงสร้างเหล็กลงไปบนโครงสร้างคอนกรีตโดยที่จะให้มีช่องว่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองแต่จะไม่มีการใช้วัสดุใดๆ เป็นวัสดุรองใต้แผ่นเหล็ก

(C) วางโครงสร้างเหล็กลงไปบนโครงสร้างคอนกรีตโดยที่จะให้มีช่องว่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองและจะมีการใช้วัสดุ NON-SHRINK เป็นวัสดุรองใต้แผ่นเหล็ก

 

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหาเรื่องวิธีในการกำหนดและออกแบบรายละเอียดของจุดต่อในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดต่อตัวโครงสร้างเหล็ก

ADMIN JAMES DEAN

 

เฉลย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับปัญหาข้อนี้ ง่ายมากๆ เลยใช่มั้ยเอ่ย เอาเป็นว่าเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาเริ่มต้นทำการวิเคราะห์กันดีกว่ารายละเอียดของจุดต่อในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีตตามกรณีใดจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะช่วยทำให้เกิด “ผลที่ดีที่สุด” ต่อตัวโครงสร้างเหล็กทุกๆ ส่วนนะครับ

 

ถูกต้องแล้ว การที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นนั้นหมายความว่า เพื่อนๆ จะเลือกทำการออกแบบรายละเอียดของจุดต่อให้เป็นไปตามแบบใดก็ได้ระหว่าง A B และ C เพราะรายละเอียดต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบระหว่างทั้ง 3 กรณี ก็จะมีวิธีการและรายละเอียดที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่ สำหรับปัญหาข้อนี้ก็ตามที่ผมได้แจ้งกับเพื่อนๆ ไปว่า รายละเอียดที่เพื่อนๆ ควรจะเลือกก็คือ ต้องเป็นวิธีการที่จะส่ง “ผลที่ดีที่สุด” ต่อตัวโครงสร้างเหล็กทุกๆ ส่วน ดังนั้นเรามาวิเคราะห์ไปทีละกรณีๆ กันเลยนะครับ

กรณี (A) หากเพื่อนๆ เลือกวิธีการๆ นี้ ผลที่เพื่อนๆ จะต้องพบก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับในรูปตัวอย่างเมื่อวันพุธที่ผ่านมาที่ผมได้นำเอามาแสดงให้ดูนั่นก็คือ กรณีที่ไม่ได้มีการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ข้างใต้แผ่นเหล็ก หากเพื่อนๆ สังเกตก็จะพบว่าจะไม่มีการ GROUT ใต้แผ่นเหล็กเลย เป็นเหตุทำให้แผ่นเหล็กนั้นต้องสัมผัส ขัง หรือโดนความชื้นจากน้ำที่อาจจะไหลไปไหลมาจากน้ำฝนโดยตรง ซึ่งผลก็คือ ทั้งแผ่นเหล็ก โคนเสาและตัวสลักเกลียวที่ทำหน้าที่ฝังยึดตัวโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณให้มั่นคงอยู่กับโครงสร้าง ค.ส.ล ที่อยู่ข้างล่างนั้นจะมีสภาพที่ค่อนข้างจะสกปรก เต็มไปด้วยสนิมเกิดขึ้นค่อนข้างที่จะมากเลย ทำให้ในที่สุดหากไม่ทำการแก้ไขหรือบำรุงรักษาแล้ว ในระยะยาวตัวแผ่นเหล็กที่โคนเสาสำหรับกรณีนี้ก็จะมีแนวโน้มว่าจะมีอายุการใช้งานที่ต่ำที่สุดจากทั้ง 3 กรณี ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่น่าที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่เพื่อนๆ ควรจะเลือกใช้งานนะครับ

 

กรณี (B) หากเพื่อนๆ เลือกวิธีการๆ นี้ ผลที่เพื่อนๆ จะต้องพบก็จะดีกว่ากรณี (A) เพราะมีการกำหนดให้มีระยะช่องว่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองแต่เนื่องจากการที่ไม่มีการใช้วัสดุใดๆ เป็นวัสดุรองใต้แผ่นเหล็กเลย โดยเนื่องจากเงื่อนไขของปัญหาข้อนี้ก็คือ โครงการก่อสร้างนี้เป็นโครงการก่อสร้างโครงหลังคาแบบเปิด นั่นก็เท่ากับว่าหากเพื่อนๆ เลือกกรณีๆ นี้ก็เท่ากับว่า เพื่อนๆ ได้เลือกกรณีที่จะไม่มีวัสดุใดๆ ที่จะคอยทำหน้าที่ในการปกปิดผิวสัมผัสระหว่างตัวสลักเกลียวกับความชื้นหรือน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นหรือมีอยู่รอบๆ โครงสร้างๆ นี้และนั่นก็เท่ากับว่าโครงสร้างดังกล่าวก็จะมีความเสียงต่อการเกิดสนิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่น่าที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่เพื่อนๆ ควรจะเลือกใช้งานนะครับ

 

กรณี (C) หากเพื่อนๆ เลือกวิธีการๆ นี้ ผลที่เพื่อนๆ จะต้องพบก็จะดีกว่ากรณี (A) และ (B) เพราะมีการกำหนดให้มีระยะช่องว่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองและยังมีการเลือกใช้วัสดุ NON-SHRINK เป็นวัสดุรองใต้แผ่นเหล็กด้วย ซึ่งหากสังเกตดูดีๆ เพื่อนๆ ก็อาจจะเห็นได้ว่ากรณีนี้ก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับในรูปตัวอย่างเมื่อวันพุธที่ผ่านมาที่ผมได้นำเอามาแสดงให้ดูนั่นก็คือ กรณีที่ได้มีการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ข้างใต้แผ่นเหล็ก ถึงแม้ว่าระยะของการ GROUT ใต้แผ่นเหล็กนั้นจะไม่ได้มีขนาดของความหนาที่มากมายอะไรแต่ก็เพียงพอที่จะเป็นการไม่ทำให้แผ่นเหล็กนั้นต้องสัมผัส ขัง หรือโดนความชื้นจากน้ำที่อาจจะไหลไปไหลมาจากน้ำฝนโดยตรง ซึ่งผลก็คือ ทั้งแผ่นเหล็ก โคนเสาและตัวสลักเกลียวที่ทำหน้าที่ฝังยึดตัวโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณให้มั่นคงอยู่กับโครงสร้าง ค.ส.ล ที่อยู่ข้างล่างนั้นจะมีสภาพที่ค่อนข้างจะสะอาด ปราศจากสนิม ทำให้ในที่สุดในระยะยาวแล้วแผ่นเหล็กที่โคนเสาสำหรับกรณีนี้จะมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวเป็นปกติมากที่สุดจากทั้ง 3 กรณี ดังนั้นวิธีการนี้จึงน่าที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่เพื่อนๆ ควรจะเลือกใช้งานนะครับ

 

ดังนั้นคำตอบของปัญหาข้อนี้ก็คือ เพื่อให้เกิด “ผลที่ดีที่สุด” ต่อตัวโครงสร้างเหล็กทุกๆ ส่วนดังที่ผมได้ทำการกล่าวถึงข้างต้น เพื่อนๆ ควรที่จะเลือกทำการกำหนดและออกแบบรายละเอียดของจุดต่อในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีตตามกรณี (C) นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหาเรื่องวิธีในการกำหนดและออกแบบรายละเอียดของจุดต่อในการวางโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดต่อตัวโครงสร้างเหล็ก

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com