สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในการโพสต์เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วว่า วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นในเรื่องของการเลือกขนาดของความหนาของ เหล็กแผ่น หรือ STEEL PLATE ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบและรับชมกันต่ออีกสักโพสต์หนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วหากว่าผมจำไม่ผิด ตัวผมเคยได้ทำการพูดถึงประเด็นๆ นี้ไปก็หลายครั้งแล้วเหมือนกันนั่นก็คือ เรื่องการใช้งาน หรือ SERVICEABILITY ซึ่งหากจะพูดให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือ เรื่องความทนทาน หรือ DURABILITY ของโครงสร้างเหล็กแผ่นนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำการใช้งานโครงสร้างเหล็กให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีความทนทานที่ดี เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาถึงเรื่องความหนาขั้นต่ำของเหล็กแผ่นที่นอกเหนือไปจากข้อกำหนดในการออกแบบโครงสร้างเหล็กทั่วๆ ไปด้วยนะครับ
ซึ่งปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับเรื่องของการใช้งานโครงสร้างเหล็กก็คือเรื่อง สนิม หรือ RUST ซึ่งก็ต้องยอมรับกันก่อนว่า สนิมนั้นเป็นปัญหาชนิดมหาอมตะนิรันดร์กาลในทุกยุคทุกสมัยของการใช้งานโครงสร้างเหล็กเลยก็ว่าได้ แม้ว่าเราจะมีการทาทับผิวของโครงสร้างเหล็กด้วยสีที่มีสารป้องกันสนิมเอาไว้แล้วก็ตามแต่เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไป เมื่อสีกันสนิมดังกล่าวนั้นหมดอายุลงหรือเกิดการลอกล่อนออกไป ก็จะถึงคราวที่สนิมนั้นจะมาเกาะกินเหล็กในสักวันนะครับ
ก่อนอื่นเรามาทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่องสนิมกันสักเล็กน้อย จริงๆ แล้วเจ้าสนิมเองก็ถือได้ว่าเป็นโลหะนะแต่เป็นโลหะส่วนที่มีการเปลี่ยนแผลงสภาพต่างออกไปจากเดิมแล้ว เนื่องจากว่าเหล็กนั้นได้รับปฏิกิริยาทางเคมีที่มี อากาศ น้ำ หรือ ความร้อน เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เหล็กนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็น เช่น สีที่เปลี่ยนแปลงไป ก็จะทำให้เกิดการ ผุกร่อน หรือ CORROSION และในที่สุดก็จะทำให้โครงสร้างเหล็กนั้นๆ มีความแข็งแรงที่ลดลงนะครับ
ดังนั้นคำตอบข้อที่ 2 ที่ผมได้ทำการตอบและอธิบายแก่น้องวิศวกรท่านนี้ไปก็คือ การที่ผมได้เลือกทำการออกแบบและกำหนดให้มีการใช้เหล็กแผ่นที่ค่อนข้างจะมีความหนามากสักหน่อยในการก่อสร้างโครงสร้างส่วนที่เป็น CANOPY บริเวณภายนอกของอาคารส่วนหนึ่งก็มาจากปัจจัยดังกล่าวนี้เพราะหากจะให้พูดภาษาชาวบ้านๆ ให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ก็คือ ยิ่งเราทำการกำหนดให้ความหนาของเหล็กแผ่นนั้นมีค่าที่มากเท่าใด ก็จะส่งผลทำให้การที่สนิมนั้นจะกัดกินเนื้อเหล็กจนทะลุก็จะยิ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากๆ และก็จะรวมไปถึงเรื่องของระยะเวลาด้วยเพราะกว่าที่สนิมนั้นจะกัดกินเนื้อเหล็กจนเกิดความเสียหายนั้นก็จะยิ่งยากและจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากๆ ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะว่าเนื้อเหล็กของเรานั้นมีความหนาที่มากนั่นเองแต่แน่นอนว่า การที่เราจะทำการกำหนดขนาดของความหนาเหล็กนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะทำการกำหนดและออกแบบโดยที่ไม่มีขอบเขตหรือกฎเกณฑ์ใดๆ มาเป็นตัวบังคับเลยเพราะก็จะมีเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนของการทำงานโครงสร้างเหล็กที่จะมามีผลบังคับในเรื่องของขนาดความหนาสูงสุดของเหล็กแผ่นด้วย เช่น กฎเกณฑ์ในเรื่องของขนาดของขาในการเชื่อมหรือ WELDING เป็นต้นนะครับ
โดยหากเราสังเกตดูก็จะพบว่า เกณฑ์ในเรื่องของการพิจารณาถึงเรื่องความหนาขั้นต่ำและความหนาสูงสุดของเหล็กแผ่นนั้นจะมีนอกเหนือไปจากข้อกำหนดในการออกแบบโครงสร้างเหล็กทั่วๆ ไปดังจะเห็นได้จากในต่างประเทศหลายๆ ประเทศเลย เช่น ประเทศทางแถบทวีปยุโรป ประเทศทางแถบทวีปอเมริกา เป็นต้น ประเทศเหล่านี้จะมีการกำหนดเรื่องของ ขนาดของความหนาขั้นต่ำของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก หรือ MINIMUM THICKNESS OF STEEL SECTIONS และ ขนาดของความหนาสูงสุดของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก หรือ MAXIMUM THICKNESS OF STEEL SECTIONS เอาไว้ในมาตรฐานการออกแบบของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ด้วยเสมอ เช่น มาตรฐานงานออกแบบสำหรับงานวิศวกรรมโครงสร้างบนชายฝั่ง หรือ STANDARD FOR ONSHORE STRUCTURAL WORK หรือ มาตรฐานงานออกแบบสำหรับงานวิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่ง หรือ STANDARD FOR OFFSHORE STRUCTURAL WORK เป็นต้นนะครับ
ผมมีความคิดเห็นว่านี้ต่อไปในอนาคตหลังจากที่เพื่อนๆ ได้อ่านบทความนี้แล้วหากว่าเพื่อนๆ จะต้องทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแล้ว นอกเหนือไปจากข้อกำหนดในการออกแบบโครงสร้างเหล็กทั่วๆ ไปแล้ว เพื่อนๆ จะไม่ลืมที่จะต้องทำการคำนึงถึงเรื่องราวอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการใช้งานของโครงสร้างเหล็กแผ่นด้วยเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้งานโครงสร้างเหล็กของเพื่อนๆ นั่นเองนะครับ
ปล ผมต้องขออนุญาตและขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ตซึ่งผมได้นำเอามาใช้ประกอบในโพสต์ของวันนี้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ผมคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องการเลือกขนาดของความหนาของเหล็กแผ่นที่เหมาะสม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com