สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดเคยเปิดอ่านรายการคำนวณงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างเสาเข็มแล้วเพื่อนๆ พบว่าค่าของ “โมดูลัสยืดหยุ่น” หรือ ELASTIC MODULUS ที่ใช้ในโครงสร้างเสาเข็มนั้นๆ มีค่าแปลกๆ เช่น มีค่าที่น้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก หรือ มีค่าที่น้อยกว่าค่าที่คำนวณหาได้จากสมการที่ใช้ในการคำนวณโมดูลัสยืดหยุ่นซึ่งจะอาศัยค่าหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีต เป็นต้น เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่าเป็นเพราะเหตุใดกัน ?
เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการไขข้อข้องใจ ให้ข้อมูลและก็ทำการอธิบายถึงสาเหตุของคำถามๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนๆ ได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ
สาเหตุที่เวลาเพื่อนๆ พบว่าค่าของโมดูลัสยืดหยุ่นที่ใช้ในโครงสร้างเสาเข็มนั้นๆ มีค่าที่น้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก หรือ มีค่าที่น้อยกว่าค่าที่คำนวณหาได้จากสมการที่ใช้ในการคำนวณโมดูลัสยืดหยุ่นซึ่งจะอาศัยค่าหน่วยแรงอัดประลัยของคอนกรีต เป็นเพราะว่า วิศวกรอาจจะมีความกังวลว่า โครงสร้างเสาเข็มที่ใช้รองรับโครงสร้างนั้นๆ จะต้องแบกรับภาระในเรื่องของแรงกระทำตามแนวแกนจากโครงสร้างที่อยู่ทางด้านบนเป็นค่าที่สูงมากๆ และยังเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากๆ อีกด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงเสาเข็มของเราจะมีความเสี่ยงต่อการที่จะต้องเจอเข้ากับพฤติกรรมของโครงสร้างที่มีชื่อว่าผลของ “พฤติกรรมของการคืบ“ หรือ “CREEP BEHAVIOR” ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะทำให้คอนกรีตของเรานั้นมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ไม่ได้มีความ “คงที่” ตลอดไปหรือพูดง่ายๆ ก็คือ พฤติกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าของโมดูลัสยืดหยุ่นเมื่อระยะเวลาเพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเองนะครับ
ซึ่งหากถามผมว่าเราควรที่จะต้องทำการลดค่าของโมดูลัสยืดหยุ่นลงหรือไม่เวลาที่ทำการคำนวณหรือจะใช้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของเสาเข็ม ?
ผมขอตอบตรงนี้ไว้เลยนะครับ “ควร” แต่หากเพื่อนๆ คิดที่จะทำการลดค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตลงจริงๆ เพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำความรู้จักและเข้าใจความหมายของค่าๆ นี้ให้ดีเสียก่อนนะ เอาเป็นว่าในโพสตๆ นี้ผมขออนุญาตอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบพอสังเขปดังนี้ก็แล้วกันครับ
หากจะพูดถึงค่า “โมดูลัสยืดหยุ่น” เราต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ ก่อนว่าเวลาที่เราพูดถึงค่า “Ec” นั้น คำๆ นี้ยังมีอีกชื่อเรียกหนึ่งในภาษาอังกฤษว่า SHORT-TERM MODULUS OF ELASTICITY และจะยังมีคำเรียกอีกคำหนึ่งนั่นก็คือค่า “Ece” โดยที่คำๆ นี้ยังมีอีกชื่อเรียกหนึ่งในภาษาอังกฤษว่า EFFECTIVE MODULUS OF ELASTICITY ซึ่งคำสองคำนี้จะแตกต่างกันที่การใช้งานว่าพิจารณาในช่วงระยะเวลาของการใช้งานโครงสร้างที่มีความ “สั้น” หรือ “ยาว” ซึ่งเจ้าค่า Ec ก็คือ ค่าที่ไม่ได้มีการนำเอาผลของการคืบมาคิดคำนวณด้วยและค่า Ece ก็คือค่าที่มีการนำเอาผลของการคืบมาคิดคำนวณด้วยนั่นเองนะครับ
ซึ่งหากจะพูดถึงอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปโดยเฉพาะถึงสมการที่เราใช้งานกันเพื่อนำมาคำนวณผลของค่า LAST TEN BLOWS ในการตอกเสาเข็ม ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ถูกพูดถึงในสมการเหล่านี้ก็คือค่า Ec ไม่ใช่ Ece ด้วยซ้ำไป ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าค่าผลของการคืบนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นๆ จะต้องทำหน้าที่ในการแบกรับน้ำหนักบรรทุกที่เป็นแรงกระทำตามแนวแกนซึ่งมีค่าที่สูงๆ กล่าวคือ มีค่าสูงใกล้เคียงกันกับค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกประลัยหรือ ULTIMATE AXIAL LOAD แบบคงค้างหรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นระยะเวลาอันยาวนานมากๆ เลยนะนั่นเองครับ
ซึ่งในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่เข้ามาช่วยในกระบวนการการผลิตคอนกรีตให้มีค่ากำลังที่สูงมากๆ เช่น การกรอหรือว่าการสปันคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งนั่นหมายความว่า เวลาที่เราทำการออกแบบหน้าตัดของเสาเข็มในปัจจุบัน กำลังของเสาเข็มจริงๆ ไม่ใช่กำลังที่เกิดจากกำลังของคอนกรีตและเหล็กเสริมเป็นตัวควบคุมการออกแบบแต่เป็นกำลังของดินเป็นตัวควบคุมการออกแบบ เมื่อเป็นเช่นนั้นโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ค่ากำลังรับแรงตามแนวแกนในเสาเข็มที่เกิดขึ้นสูงสุดในหน้าตัดของเสาเข็มนั้นจะมีค่าสูงจนใกล้เคียงกันกับค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็มจึงมีค่าความเป็นไปได้ที่น้อยมากๆ เลยนะครับ
อีกประการหนึ่งที่ผมอยากจะชี้แจงกับเพื่อนๆ ก็คือ จริงอยู่ว่าโครงสร้างเสาเข็มของเพื่อนๆ นั้นจะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักบรรทุกซึ่งเป็นแรงกระทำตามแนวแกนตลอดเวลา แต่ ค่าน้ำหนักบรรทุกซึ่งเป็นแรงกระทำตามแนวแกนนั้นๆ ก็จะมีค่าไม่คงที่ กล่าวคือ อาคารหนึ่งๆ ของเพื่อนๆ จะต้องทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักบรรทุกอย่างน้อย 2 รูปแบบของน้ำหนักบรรทุกนั่นก็คือ น้ำหนักบรรทุกแบบคงที่หรือ DEAD LOAD และน้ำหนักบรรทุกแบบจรหรือ LIVE LOAD ซึ่งหากจะทำการแบ่งประเภทของน้ำหนักบรรทุกแบบคงที่จริงๆ ก็จะสามารถแบ่งได้ออกเป็น น้ำหนักบรรทุกแบบคงที่ที่จะอยู่อย่างถาวรจริงๆ เช่น น้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างหลักของอาคาร เช่น โครงสร้างฐานราก โครงสร้างเสาตอม่อ โครงสร้างคาน โครงสร้างพื้น เป็นต้น และ น้ำหนักบรรทุกแบบคงที่ที่จะไม่ได้อยู่อย่างถาวร เช่น น้ำหนักบรรทุกของงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ติดลงบนพื้น น้ำหนักบรรทุกที่เป็นน้ำหนักของงานระบบ เป็นต้นนะครับ
ซึ่งหากรวมค่าของเจ้าน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่จะไม่ได้อยู่อย่างถาวรและน้ำหนักบรรทุกแบบจร ก็ถือได้ว่าค่าทั้งสองค่านี้ก็คือ น้ำหนักที่เสาเข็มเองอาจจะไม่ได้รับตลอดอายุการใช้งานของตัวเสาเข็มเอง อาจจะมีเยอะบ้างเป็นบางเวลา และ อาจจะมีน้อยบ้างเป็นบางเวลา เช่น ห้างสรรพสินค้า ที่จะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักบรรทุกจรที่มากในช่วงเวลาที่เปิดทำการ และ ก็จะรับน้ำหนักบรรทุกจรที่น้อยมากในช่วงเวลาที่ปิดทำการ เป็นต้นนะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ได้ทำการพิจารณาแล้วจริงๆ ว่า โครงสร้างเสาเข็มของเพื่อนๆ นั้นมีความวิกฤตที่จะเกิดผลจากพฤติกรรมของการคืบจริงๆ การที่เราคิดที่จะทำการลดค่าของโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตให้มีค่าต่ำกว่าค่าที่คำนวณได้จากสมการปกติก็ถือว่าสมเหตุสมผลดีแต่หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการลดค่าของโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตให้มีค่าต่ำกว่าค่าที่คำนวณได้จากสมการปกติแต่อย่างใดครับ
เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตมาทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนๆ ได้ทำความเข้าใจกันถึงค่า Ece นี้กันต่ออีกสักโพสต์หนึ่งก็แล้วกัน โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ความรู้เรื่องค่าEcและค่าEce
#ตอนที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com