วิธีและขั้นตอนของการทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่บริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

เวลาที่เราทำการออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อในกรณีที่ทำการก่อสร้างขึ้นในบริเวณทั่วๆ ไปของอาคาร เราจะพบเห็นได้ว่าบริเวณที่ขอบด้านบนและล่างของท้องพื้นนั้นจะเกิดเป็นรอยร้าวเล็กๆ ขึ้นเสมอและเมื่อวันเวลาผ่านไป รอยร้าวเหล่านั้นจะไม่เกิดการพัฒนาตัวเองจนเป็นรอยร้าวที่มีขนาดใหญ่โตมากยิ่งขึ้นซึ่งก็ถือได้ว่ากรณีนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วนะครับ

 

หากพูดถึงกรณีของพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อในที่ๆ ทำการก่อสร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นชั้นดาดฟ้าหรือบริเวณพื้นที่แบบเปิด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ๆ ต้องสัมผัสกับแสงแดดและอากาศภายนอกอยู่ตลอดอายุการใช้งานของมัน เราก็จะพบเห็นได้ว่าบริเวณที่ขอบด้านบนและล่างของท้องพื้นนั้นจะเกิดเป็นรอยร้าวเล็กๆ เหมือนกันกับกรณีแรกแต่เมื่อวันเวลาผ่านไป รอยร้าวเหล่านั้นจะค่อยๆ เกิดการพัฒนาตัวเองจนเป็นรอยร้าวที่มีขนาดใหญ่โตมากยิ่งขึ้นซึ่งก็ถือได้ว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่ควรจะเกิดขึ้นนะครับ

 

สาเหตุที่รอยร้าวในกรณีที่สองนั้นมีขนาดที่ใหญ่โตมากยิ่งขึ้นเป็นเพราะพื้นดังกล่าวนั้นจะต้องสัมผัสกับแสงแดดและอากาศภายนอกอยู่ตลอดอายุการใช้งานของมัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเป็นการเร่งทำให้เกิดการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวของวัสดุขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่า SHRINKAGE CRACK และหากว่ารอยร้าวนั้นมีขนาดที่ใหญ่โตมากยิ่งขึ้นย่อมเป็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ของพวกเราชาววิศวกรโครงสร้างเพราะยิ่งรอยร้าวนั้นมีขนาดที่ใหญ่มากกว่าปกติที่ควรจะเป็นมากเพียงใด ก็จะทำให้น้ำมีโอกาสที่จะรั่วซึมลงไปผ่านตัวพื้นมากเท่านั้น ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ น้ำจะสามารถซึมไปถึงเนื้อเหล็กที่ถูกห่อหุ้มอยู่ภายในคอนกรีตได้และหลังจากที่เนื้อเหล็กที่ถูกห่อหุ้มอยู่ภายในคอนกรีตนั้นสัมผัสถูกน้ำและอากาศสลับไปสลับมาเป็นระยะเวลานานๆ เข้า ก็ไม่มีทางใดเลยที่จะสามารถหลีกพ้นภาวการณ์การเกิดสนิมขึ้นในเนื้อเหล็กได้เลย ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ นั้นพึงประสงค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นขั้นตอนของการทำการกันซึมและการทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่บริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคารจึงถือได้ว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำงานการก่อสร้างเลยนะครับ

 

วันนี้ผมเลยอยากจะขออนุญาตนำเอาประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ ซึ่งจะแสดงภาพภายในขั้นตอนการทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่บริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคารหลังหนึ่งซึ่งผมทำหน้าที่ในการควบคุมงานการก้อสร้างเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ ทุกคนๆ ได้รับชมกันนะครับ

 

จากรูปจะเห็นได้ว่าในขั้นตอนนี้ๆ จะเป็นภาพก่อนที่จะมีการทำกันซึมในบริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคารหลังนี้ โดยที่จะมีการเริ่มต้นทำการขังน้ำเอาไว้ที่ละส่วนๆ โดยการขังน้ำจะทำโดยการก่อปูนขึ้นมาสูงประมาณ 5-10 ซม ให้ส่วนภายในที่ได้ทำการขังน้ำเอาไว้นั้นมีลักษณะเป็นคล้ายๆ กับกระบะที่จะสามารถทำการขังน้ำเอาไว้ในขณะที่ทำการทดสอบการรั่วซึมนะครับ

 

โดยที่จะต้องทำการขังน้ำส่วนนี้เอาไว้ในกระบะนี้ไว้สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งโครงการก่อสร้างนี้ผมกำหนดให้ทำการขังน้ำเอาไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งพอเอาเข้าจริงๆ ทางผู้รับเหมาก็ได้ทำการขังน้ำเอาไว้นานกว่าระยะเวลาดังกล่าวนค่อนข้างมากเลย โดยที่ในช่วงระหว่างระยะเวลาดังกล่าวจะต้องมีการสังเกตที่บริเวณท้องพื้นของชั้นดาดฟ้าว่า มีการรั่วซึมที่บริเวณดังกล่าวหรือใกล้เคียงหรือไม่ หากว่ามีก็ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เราอาจจะเห็นการรั่วซึมของน้ำเอาไว้เพื่อที่จะได้ทำการซ่อมแซมพื้นในบริเวณนั้นๆ ใหม่ก่อนการทำกันซึมนะครับ

 

โดยหากผลจากการทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่บริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคารนั้นไม่พบว่ามีการรั่วซึมใดๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีและภายหลังจากที่เราได้ทำขั้นตอนของการขังน้ำทิ้งเอาไว้แล้ว เราก็จะทำการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของการทำกระบังขังน้ำไปยังบริเวณอื่นๆ ของชั้นดาดฟ้า จนกว่าจะครบในทุกๆ พื้นที่ของชั้นๆ นี้และหลังจากนั้นก็จะทำการเตรียมขั้นตอนของการทำกันซึมต่อไปครับ

 

ผมคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องวิธีและขั้นตอนของการทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่บริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคาร

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com