วิธีการสังเกตเพื่อป้องกันมิให้เหล็กเสริมในพื้นหล่อในที่เกิดสนิมเนื่องมาจากน้ำเกิดการรั่วซึม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

จริงๆ ผมมีข้อเสนอแนะสำหรับบรรดาคุณผู้หญิงทั้งหลายว่า หากบังเอิญว่าท่านเป็นแม่บ้านหรืออาจจะเป็นผู้หญิงที่ต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาที่จะอยู่บ้านมากมายอะไรนักก็ตาม ท่านก็มีวิธีการในการที่จะช่วยคุณผู้ชายดูแลเรื่องความเรียบร้อยต่างๆ ภายในบ้านได้เช่นกัน ซึ่งหัวข้อในวันนี้ก็คือ วิธีการสังเกตเพื่อป้องกันเรื่องเหล็กเสริมในพื้นหล่อในที่นั้นเกิดสนิมเนื่องมาจากน้ำนั้นเกิดการรั่วซึม

 

ก่อนอื่นผมอยากให้เพื่อนๆ ดูรูปๆ แรกก่อน ซึ่งก็คือรูปปัญหาของการที่เหล็กเสริมที่อยู่ในพื้นหล่อในที่นั้นเกิดสนิมขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำที่อยู่ทางด้านบนนั้นเกิดการรั่วซึมลงมาข้างล่าง โดยที่ปัญหาๆ นี้เสมือนเป็นปัญหาโลกแตกที่เราจะพบได้ในอาคารที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?

 

นั่นเป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วอาคารที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไปนั้นมักจะเป็นอาคารที่ไม่ได้มีผู้ใดอาศัยอยู่อย่างประจำและถาวรนัก บางอาคารก็เป็นอาคารที่เจ้าของอาคารได้เปิดให้ร้านรวงต่างๆ นั้นเข้ามาเช่าเพื่อที่จะขายของหรืออะไรทำนองนั้น ทำให้ขาดซึ่งการสังเกตการใช้งานหรือดูแลรักษาอย่างเพียงพอนั่นเอง โดยที่จริงๆ แล้วปัญหาๆ นี้มีที่มาที่ไปเกิดจากหลากหลายสาเหตุอยู่เหมือนกัน เช่น มีการใช้คอนกรีตที่มีคุณภาพค่อนข้างที่จะต่ำในการก่อสร้าง จนในที่สุดทำให้ภายในในเนื้อของคอนกรีตนั้นมีความพรุนสูง หรือ มีการใช้ระยะหุ้มของคอนกรีตที่ค่อนข้างน้อยกว่าที่มาตรฐานได้ระบุเอาไว้ หรือ ไม่ได้มีการทำกันซึมเพื่อป้องกันมิให้น้ำที่อยู่ทางด้านบนนั้นซึมลงมาที่บริเวณด้านล่างได้ เป็นต้นนะครับ

 

เอาละ ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วการจะไปแก้ไขที่สาเหตุนั้นก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะหนักหนาเอาการอยู่ อีกทั้งยังอาศัยการลงทุนในการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ถึงแม้ว่าเทคนิคง่ายๆ ที่ผมจะนำมาแนะนำในวันนี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแต่ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่นำมาใช้แก้ไขปัญหานี้ได้ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังไม่เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอะไรที่มากมายเกินกำลังความสามารถของเพื่อนๆ อีกด้วย เทคนิคนี้ก็คือ หากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะให้น้ำที่อยู่ข้างบนนั้นซึมลงมาที่บริเวณด้านล่าง เพื่อนๆ ก็อย่าปล่อยให้น้ำที่อยู่ทางด้านบนนั้นเกิดการนอนหรือขังตัวนั่นเองครับ

 

เป็นยังไงบ้างครับ เทคนิคนี้ง่ายจริงๆ ใช่มั้ยครับ ?

 

ถูกต้องแล้วครับ เพราะการที่น้ำจะเกิดการซึมลงมาได้นั้น มันจะต้องเกิดจากการที่น้ำนั้นเกิดการขังในบริเวณหนึ่งบริเวณใดเสียก่อน จากนั้นเมื่อเวลาค่อยๆ ล่วงเลยผ่านพ้นไป น้ำที่ขังอยู่นั้นก็จะค่อยๆ เกิดการซึมผ่านลงไปทีละเล็กทีละน้อยนั่นเองนะครับ

 

ดังนั้นเพื่อนๆ จะต้องรู้จักที่จะสังเกต ตรวจตราและหมั่นสำรวจโครงสร้างพื้นบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุแบบนี้อยู่เป็นประจำ เช่น บริเวณชั้นหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ได้มีหลังคาใดๆ คลุมอยู่ เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วเพื่อนๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบอะไรที่มันบ่อยหรือถี่มากมายอะไรขนาดนั้นนะครับ เช่น อาจจะทำทุกๆ สัปดาห์ โดยอาจจะทำการตรวจตราสัปดาห์ละประมาณ 1 ถึง 2 วัน หรือ ทุกๆ ครั้งภายหลังจากที่เกิดฝนตก เป็นต้น

 

หากเพื่อนๆ ทำการตรวจตราแล้วก็เกิดพบว่า มีน้ำขังในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็ให้ทำการกวาดเช็ดน้ำในบริเวณนั้นๆ ให้แห้งไปและ/หรือหากเพื่อนๆ อาจจะพบด้วยว่ามีรอยร้าวต่างๆ เกิดขึ้นในผนังหรือพื้นของโครงสร้างส่วนนี้และ/หรือเพื่อนๆ อาจจะพบด้วยว่าเกิดน้ำขังซ้ำๆ กันในบริเวณนั้นๆ และเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะทำให้เกิดน้ำขังในบริเวณนั้นๆ อีก เพื่อนๆ ก็อาจจะต้องเรียกวิศวกรหรืออย่างน้อยก็ช่างก่อสร้าง ให้เข้ามาทำการตรวจสอบและแก้ไขในเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างในส่วนนี้และเรื่องระดับของความลาดของพื้นเพื่อที่จะให้น้ำนั้นสามารถที่จะระบายไหลไปลงยัง FLOOR DRAIN ของพื้นได้โดยสะดวกนะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ วิธีการที่ผมได้นำเอามาแนะนำให้แก่คุณผู้หญิงในวันนี้ เพื่อนๆ สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ง่ายๆ เลยใช่หรือไม่ครับ ?

 

ถึงแม้ว่าเพื่อนๆ จะเป็นคุณผู้ชายก็ตาม เพื่อนๆ ทุกเพศทุกวัยก็สามารถที่จะจดจำและนำเอาเทคนิคๆ นี้ไปใช้งานกันได้เลยเพราะผมไม่ได้ทำการสงวนสิทธิ์แต่อย่างใดเลยครับ

 

สุดท้ายนี้ก็อย่างที่ผมเรียนไปว่า วิธีการๆ นี้อาจจะดูเหมือนว่าเป็นวิธีในการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแต่ก็คงต้องยอมรับว่าเป็นวิธีการที่เพื่อนๆ สามารถที่จะนำไปใช้แก้ไขปัญหาๆ นี้ได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ที่สำคัญที่สุดก็คือ วิธีการนี้ยังเป็นวิธีการที่มีความประหยัดในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมากอีกด้วย หัวใจสำคัญของวิธีการๆ นี้ก็จะอยู่ตรงที่เพื่อนๆ จะต้องมีวินัย ต้องหมั่นคอยทำการตรวจสอบดูโครงสร้างของเพื่อนๆ อยู่เป็นประจำว่ามีสภาพของการใช้งานเป็นเช่นใดก็เท่านั้นเองครับ

 

ปล ผมต้องขอขอบคุณภาพที่ใช้ในโพสต์ๆ นี้ที่ได้มีการเผยแพร่ไว้บนอินเตอร์เน็ตซึ่งผมได้ทำการรวบรวมเอามาเพื่อนำมาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันเพื่อเป็นวิทยาทานมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#วิธีการสังเกตเพื่อป้องกันมิให้เหล็กเสริมในพื้นหล่อในที่เกิดสนิมเนื่องมาจากน้ำเกิดการรั่วซึม

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com