ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีในการก่อสร้างโครงสร้างDiaphragmWall

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงรายละเอียดที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเจ้าโครงสร้าง DIAPHRAGM WALL นี้เพิ่มเติมกันต่ออีกสักโพสต์ก็แล้วกันนั่นก็คือ กรรมวิธีและขั้นตอนโดยสังเขปในการก่อสร้างโครงสร้าง DIAPHRAGM WALL แบบโดยตรงภายในชั้นดินนั่นเองครับ

 

เนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้าง DIAPHRAGM WALL นั้นเป็นแบบโดยตรงภายในชั้นดินจึงทำให้ไม่มีปลอกเหล็กในการทำหน้าที่ป้องกันการที่ดินที่อยู่โดยรอบจะพังตัวลงไปเลยซึ่งก็จะคล้ายๆ กันกับขั้นตอนในการทำการก่อสร้างเสาเข็มเจาะ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำคานคู่ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการบังคับแนวกำแพงและเป็นการทำให้หัวเจาะของเรานั้นได้ดิ่งอีกด้วย โดยทั่วๆ ไปนั้นคานคู่นี้จะมีขนาดของความลึกอยู่ที่ประมาณ 1.00 เมตร ถึง 2.00 เมตร สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือตัวโครงสร้างผนัง GUIDE WALL จะต้องมีความเรียบและได้ดิ่งด้วย โดยที่จะสามารถยอมให้มีความเอียงตัวจากแนวดิ่งได้มากที่สุดคือ ไม่เกินอัตราส่วน 1 ต่อ 200 ลักษณะของการขุดเจาะโดยทั่วไปนั้นจะมีการใช้หัวเจาะที่เป็นแบบ CABLE HANG GRAB โดยการเจาะของเรานั้นจะอาศัยตัว GRAB ในการขุดดินภายในร่องของตัวโครงสร้างผนัง GUIDE WALL ออกลึกไปจนถึงระดับใต้โครงสร้างผนัง GUIDE WALL จากนั้นก็จะทำการเติมสารละลายลงไปในร่องดินให้เกิดการต้านทานแรงดันของดินไม่ให้เกิดการบีบตัวหรือเกิดการพังถล่มลงมา โดยที่สารละลายดังกล่าวนี้จะคอยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะ ซึ่งโดยมากก็จะใช้เป็นสารละลายเบ็นโทไนท์ เทคนิคที่สำคัญในขั้นตอนนี้ก็คือ ระดับของการเติมสารละลายนี้จะต้องให้สูงกว่าระดับล่างสุดของโครงสร้างผนัง GUIDE WALL

 

ขั้นตอนต่อมาก็คือ เมื่อเราทำการเจาะร่องของกำแพงให้ได้ขนาดของความยาวและความลึกตามที่ได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้ว เราจะต้องคอยทำความสะอาดสารละลายเบ็นโทไนท์ที่จะอยู่ภายในหลุมเจาะนี้ด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเราก็อาจจะพบได้ว่าที่หน้างานนั้นมักจะทำการ RE-USE เจ้าสารละลายเบ็นโทไนท์นี้ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้ ทั้งนี้ในเราจะต้องทำขั้นตอนนี้ไปเรื่อยๆ และจำต้องคอยเก็บตัวอย่างพวกนี้ขึ้นมาทดสอบเป็นระยะๆ จนกว่าคุณสมบัติของสารละลายที่อยู่ที่บริเวณก้นของหลุมเจาะมาจะได้ตามการคำนวณที่ได้ทำเอาไว้และหลังจากนั้นเราก็จะค่อยๆ ทำการติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตที่ปลายของร่องขุดครับ

 

ต่อมาเราจะค่อยๆ ทำการหย่อนโครงเหล็กที่ได้ทำการผูกเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าลงไปในหลุมเจาะ โดยมีข้อสังเกตนิดหนึ่งว่า หากว่าโครงเหล็กของเรานั้นมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากและอาจมีขนาดของความยาวที่มากเกินกว่าที่จะสามารถทำการยกให้สำเร็จได้ในครั้งเดียวโดยไม่ทำให้เกิดการบิดหรืองอตัว เราอาจจะต้องทำการดัดแปลงขั้นตอนนี้ได้นิดหน่อยโดยค่อยๆ ทำการต่อที่ปากหลุมเจาะลงไปและอาจจะทำการผูกให้โครงเหล็กดังกล่าวนั้นแยกออกเป็น 2 ถึง 3 ท่อน ก็ได้และสำหรับขั้นตอนของการลงเหล็กเสริม เราจะต้องค่อยๆ ทำการจัดเหล็กเสริมให้มีรายละเอียด ระดับและตำแหน่งต่างๆ ตรงตามที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในครั้งแรก หากเกิดความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดใดๆ ในขั้นตอนนี้ทางผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ๆ จะต้องรีบดำเนินการแจ้งกลับไปยังผู้ออกแบบโดยด่วนที่สุดเลยครับ

 

หลังจากที่เราได้ทำการหย่อนโครงเหล็กเสร็จลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วและหลังจากการที่เราทำการเก็บตัวอย่างของสารละลายเบนโทไนต์ที่อยู่ที่ก้นหลุมขึ้นมาทดสอบและเราพบว่าคุณสมบัติของสารละลายดังกล่าวนั้นเป็นไปตามการคำนวณที่ได้ทำเอาไว้แล้ว เราก็จะทำการใส่ท่อที่จะทำหน้าที่ในการเทคอนกรีตแบบเทใต้น้ำลงไป โดยการใส่ท่อเทนี้อาจจะใส่เป็นแบบท่อเดียวหรืออาจจะมากกว่าท่อเดี่ยวก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของร่องที่เราทำการขุดขึ้นมา ซึ่งโดยทั่วไป หากร่องขุดของเรามีขนาดของความยาวที่เกิน 3.50 เมตร เราควรที่จะใส่ท่อจำนวนอย่างน้อย 2 ท่อ จุดประสงค์ก็เพื่อให้คอนกรีตที่ทำการเทลงไปนั้นได้คุณภาพและมีความสม่ำเสมอตลอดทุกๆ ช่วงที่ทำการเท เทคนิคสำคัญในขั้นตอนนี้ก็คือ ในระหว่างการเทคอนกรีต ปลายของท่อที่ใช้ในการเทคอนกรีตนั้นจะต้องมีระยะที่ฝังจมอยู่ภายในเนื้อคอนกรีตไม่น้อยกว่า 1.50 เมตรตลอดเวลาเลย ซึ่งความยุ่งยากในขั้นตอนนี้ที่เราควรที่จะต้องระมัดระวังอีกประการหนึ่งก็คือ เราไม่ควรที่จะทำการฝังปลายท่อที่ใช้ในการเทคอนกรีตของเราให้มีความลึกมากจนเกินไปด้วย พูดง่ายๆ คือ เราควรที่จะทำการรักษาระยะของการจมของตัวท่อเทคอนกรีตนี้ให้อยู่ภายในเนื้อคอนกรีตเท่ากับ 1.50 เมตร ตลอดเวลาเลยและอาจจะมีความลึกที่มากที่สุดไม่เกิน 2.00 เมตร มิเช่นนั้นหากเราทำการปล่อยให้ระยะของการจมของตัวท่อเทคอนกรีตนี้ให้อยู่ภายในเนื้อคอนกรีตมากกว่าระยะดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาในการดึงท่อที่ใช้ในการเทคอนกรีตนี้ขึ้นมาได้

 

เทคนิคในการก่อสร้างอีกประการหนึ่งซึ่งถือได้ว่ามีความสลักสำคัญมากๆ ที่เราอาจจะละเลยไมได้เลยก็คือ เราจะต้องคอยควบคุมและจำกัดเวลาของการเทคอนกรีตให้มีความสั้นที่สุด ซึ่งผลจากการทำงานวิจัยหลายๆ งานวิจัยและผลจากการทำงานจริงๆ ในหลายโครงการก่อสร้างก็จะมีข้อแนะนำว่า ระยะเวลาที่ใช้นั้นไม่ควรเกินประมาณ 4 ถึง 5 ชั่วโมง ซึ่งการนับระยะเวลาดังกล่าวอาจจะเริ่มต้นการนับได้หลังจากการที่เราทำความสะอาดสารละลายที่อยู่ที่บริเวณก้นของหลุมเจาะแล้วเสร็จไปจนถึงขั้นตอนของการเริ่มต้นการเทคอนกรีตนั่นเองครับ

 

ปล ผมต้องขออนุญาตและให้เครดิตกับรูปที่ผมได้นำมาประกอบในโพสต์ๆ นี้ซึ่งรูปๆ นี้จะเป็นรูปโครงสร้าง DIAPHRAGM WALL หนึ่งที่ได้มีการก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของอาคารหลังหนึ่งในประเทศบาห์เรนมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีในการก่อสร้างโครงสร้างDiaphragmWall

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com