สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
พบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันจันทร์แบบนี้ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
ขณะนี้ผมกำลังพาเพื่อนๆ ทบทวนเนื้อหาอยู่ภายในหัวข้อ การนำเอาวิธีการที่มีชื่อเรียกว่า วิธีการงานน้อยที่สุด หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า LEAST WORK METHOD ซึ่งถือได้ว่าวิธีการนี้เป็น CLASSICAL METHOD วิธีการหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยที่วิธีการนี้จะเป็นการต่อยอดนำเอาวิธี CASTIGLIANO’S 2’ND THEOREM มาประยุกต์ใช้งานสำหรับการแก้ปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE และต่อเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้เคยเกริ่นถึงลักษณะของจุดรองรับแบบ RIGID SUPPORT นั่นก็คือค่าการเสียรูปจะมีค่าเท่ากับ ศูนย์ ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายถึงกรณีที่จุดรองรับนั้นเป็นแบบ FLEXIBLE SUPPORT นั่นก็คือค่าการเสียรูปของจุดรองรับที่มีลํกษณะเป็นแบบนี้จะต้องมีค่ามากกว่า ศูนย์ ให้เพื่อนๆ ได้รับชมและรับทราบกันบ้างนะครับ
โดยหากเราต้องประสบพบเจอกับปัญหาแบบนี้พอเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างไปจนถึงขั้นตอนการแทนค่าการเสียรูปโดยการคำนึงจาก BOUNDARY CONDITIONS ของจุดรองรับที่เราได้เลือกให้เป็น REDUNDANT ว่ามีค่าเท่ากับเท่าใด ซึ่งอย่างที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปแล้วว่าจุดรองรับส่วนใหญ่นั้นมักที่จะเป็นแบบ RIGID SUPPORTซึ่งค่าการเสียรูปก็จะมีค่าเท่ากับ ศูนย์ ซึ่งในที่สุดคำตอบของค่าแรงปฏิกิริยาที่เราต้องการที่จะทราบคำตอบภายในโครงสร้างๆ หนึ่งนั้นก็จะสามารถหาได้จาก
0 = ∂U/∂P(REDUNDANT)
0 = ∑(N)[∂N/∂P(REDUNDANT)](L/AE) + ∑∫(M)[∂M/∂P(REDUNDANT)]/(EI)dx + ∑∫(λV)[∂V/∂P(REDUNDANT)]/(AG)dx + ∑∫(T)[∂T/∂P(REDUNDANT)]/(GK)dx+…
เพียงแค่เราทำการเปลี่ยนให้การแทนค่าการเสียรูปของจุดรองรับให้เป็นแบบ FLEXIBLE SUPPORTซึ่งค่าการเสียรูปก็จะมีค่ามากกว่า ศูนย์ ก็เท่านั้นเองครับ
อาทิเช่น จุดรองรับที่เป็นแบบสปริงซึ่งค่าการเสียรูปจะมีค่าเท่ากับพจน์ของ แรง หรือ FORCE ส่วนด้วยพจน์ของค่า ความแข็งแกร่ง หรือ STIFFNESS ของสปริง ซึ่งอาจเขียนง่ายๆ ได้ว่า
∆ = F / K ≥ 0
แม้กระทั่งกับกรณีที่จุดรองรับนั้นเป็นเส้นลวดซึ่งค่าการเสียรูปจะมีค่าเท่ากับพจน์ของ แรง หรือ FORCE คูณกันกับพจน์ของ ความยาวของชิ้นส่วนลวด หรือ LENGTH ส่วนด้วยพจน์ของค่า พื้นที่หน้าตัด หรือ SECTIONAL AREA คูณกันกับพจน์ของค่า โมดูลัสยืดหยุ่น หรือ ELASTIC MODULUS ของลวด ซึ่งอาจจะสามารถเขียนง่ายๆ ได้ว่า
∆ = FL / AE ≥ 0
ดังนั้นก็จะทำให้คำตอบของค่าแรงปฏิกิริยาที่เราต้องการที่จะทราบคำตอบภายในโครงสร้างๆ หนึ่งนั้นก็จะสามารถหาได้จาก
∆ = ∂U/∂P(REDUNDANT)
∆ = ∑(N)[∂N/∂P(REDUNDANT)](L/AE) + ∑∫(M)[∂M/∂P(REDUNDANT)]/(EI)dx + ∑∫(λV)[∂V/∂P(REDUNDANT)]/(AG)dx + ∑∫(T)[∂T/∂P(REDUNDANT)]/(GK)dx+…
โดยที่จะต้องไม่ลืมว่าค่า ∆ ของจุดรองรับที่มีลักษณะเป็นแบบ FLEXIBLE SUPPORT นั้นจะต้องมีค่าที่มากกว่า ศูนย์ เสมอเลย ซึ่งในที่สุดพอเราได้ทำตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดแล้วเราก็จะได้ชุดสมการที่มีคำตอบเท่ากับ ค่าการเสียรูป ตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น ซึ่งก็จะมีจำนวนของสมการที่เท่ากันกับจำนวนของ REDUNDANT ที่เราได้แทนเอาไว้ในโครงสร้างตั้งแต่ทีแรก เราก็เพียงแค่ทำการแก้ SIMULATNEOUS EQUATIONS ต่างๆ เพื่อที่จะทำการหาค่าคำตอบของ REDUNDANT เหล่านั้นออกมา จากนั้นเราก็ค่อยนำค่าคำตอบเหล่านี้ไปทำการคำนวณหาค่าแรงภายในหรือ INTERNAL FORCE ต่างๆ ภายในระบบโครงสร้างของเราต่อไปนั่นเองครับ
เป็นยังไงบ้างครับ ง่ายมากๆ เลยใช่มั้ยละครับ? หากอ่านที่ผมอธิบายแล้วไม่เข้าใจตรงไหนก็ไม่เป็นไรนะครับ เอาเป็นว่าในครั้งหน้าที่เราพบกัน ผมจะทำการตัวอย่างในการวิเคราะห์โครงสร้างคานรับแรงดัด (BEAM BENDING) ที่มีจุดรองเป็นแบบ FLEXIBLE SUPPORT ให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันบ้าง ยังไงหากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็อย่าลืมติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา
#อธิบายหลักการวิเคราะห์โครงสร้างคานรับแรงดัดโดยวิธีLeastWorkที่มีจุดรองรับเป็นแบบFlexibleSupport
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com