ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการคั่นเนื้อหาเรื่องการทดสอบชั้นดินเพื่อที่จะพูดถึงประเด็นเรื่องราวอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ กันไปมากพอสมควรแล้ว ซึ่งวันนี้เรากำลังกลับมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องหลักของเรากันต่อแล้ว ซึ่งในครั้งที่แล้วผมได้พูดถึงเรื่อง ประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดิน กันต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้อธิบายไปว่าประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดินนั้นสามารถที่จะทำการคัดแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกันนั่นก็คือ การทดสอบดินในสนาม (FIELD TEST) และ การทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ (LABORATORY TEST)

 

สำหรับข้อดีของการทดสอบดินในสนามเมื่อทำการเปรียบเทียบกับการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการก็มีดังที่ผมได้อธิบายให้เพื่อนๆ ได้ฟังไปในครั้งก่อน เช่น ตัวอย่างของดินจะได้รับการกระทบกระเทือน หรือ ได้การรบกวนสภาพตามธรรมชาติที่ค่อนข้างน้อย หรือ การควบคุมสภาพของแรงดันดินโดยรอบนั้นเป็นไปตามธรรมชาติของชั้นดินจริงๆ หรือ สามารถที่จะตรวจสอบพบชั้นดินที่แทรกเป็นชั้นบางๆ ที่มีคุณสมบัติแตกต่างออกไปจากค่าเฉลี่ยได้ หรือ สามารถทำการทดสอบในชั้นดินที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างดินเพื่อไปทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการได้ เป็นต้น

 

ส่วนข้อเสียก็มีเช่นเดียวกันนะครับ เช่น เราไม่สามารถที่จะใช้เครื่องมือที่ความละเอียดอ่อนหรือมีความแม่นยำสูงๆ มาทำการทดสอบได้ หรือ การทดสอบดินในสนามนั้นจำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาสูงกว่าวิธีการทดสอบในห้องปฏิบัติการค่อนข้างมาก หรือ มีข้อจำกัดในการขนส่งขนย้ายเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ในการทดสอบดินในสนามเข้าไปในพื้นที่ๆ มีความคับแคบหรือห่างไกลและกันดารมากๆ เป็นต้นครับ

 

เอาละ ในวันนี้ผมอยากที่จะขอมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างกันต่อถึงวิธีการต่างๆ ที่เรามักจะทำการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการก็แล้วกันนะครับ ซึ่งวิธีการทดสอบดังกล่าวนั้นอาจจะประกอบไปด้วย

 

– วิธีการ SOIL CLASSIFICATION TEST

– วิธีการ SOIL LIMITATION TEST

– วิธีการ MOISTURE CONTENT TEST

– วิธีการ PERMEABILITY TEST

– วิธีการ OEDOMETER TEST

– อื่นๆ

 

หากว่าเพื่อนๆ ลองทำการสังเกตดูรายชื่อวิธีการทดสอบข้างต้นก็อาจจะพอเข้าใจได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ววิธีในการทดสอบข้างต้นนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาคุณสมบัติของดินให้มีลักษณะเป็นแบบคงสภาพเหมือนกับในการทดสอบประเภทที่แล้วที่ผมได้อธิบายไป ดังนั้นตัวอย่างดินที่จะนำมาทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการนี้จะยินยอมให้เป็นตัวอย่างดินที่ถูกรบกวนได้นะครับ โดยมีเพียงการทดสอบบางอย่างเท่านั้นที่มาตรฐานการทดสอบได้ระบุเอาไว้ว่า ควรที่จะใช้ตัวอย่างดินที่ไม่ถูกรบกวน เช่น การทดสอบ PERMEABILITY TEST การทดสอบ OEDOMETER TEST เป็นต้นนะครับ

 

ข้อดีของการทำการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการเมื่อทำการเปรียบเทียบกับการทดสอบดินในสนามนั้นก็เกือบที่จะมีความตรงกันข้ามกับที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้นะครับ เช่น วิธีการทดสอบนี้จะมีค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทดสอบดินที่ต่ำกว่าวิธีการทดสอบดินจากในสนามค่อนข้างที่จะมาก หรือ วิธีการทดสอบนี้เราจะสามารถทำการจำลองสภาพแรงดันหรือการระบายน้ำในตัวอย่างดินให้มีความใกล้เคียงกันกับที่จะเกิดกับดินในระหว่างการทำงานก่อสร้างได้ หรือ สามารถที่จะใช้เครื่องมือในการทำการทดสอบดินที่มีค่อนข้างจะมีความละเอียดและแม่นยำได้ หรือ เราสามารถที่จะทำการสังเกตพฤติกรรมของการเคลื่อนตัวและการวิบัติของตัวอย่างดินได้อย่างชัดเจน เป็นต้นครับ

 

ส่วนข้อด้อยนั้นก็มีอยู่บ้างครับแต่ก็ต้องถือว่าเล็กน้อยมากๆ เช่น ตัวอย่างอาจจะได้รับการกระทบกระเทือนซึ่งก็คงจะส่งผลต่อค่าคุณสมบัติของตัวดินเองบ้างแต่ความผิดพลาดดังกล่าวนั้นจะถือว่ามีความเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับผลที่ต้องการจะทราบ หรือ การทดสอบแบบนี้จำเป็นที่จะต้องทำการทดสอบตัวดินที่มีขนาดค่อนข้างที่จะเล็ก ดังนั้นตัวอย่างดินที่นำมาทดสอบอาจจะไม่สามารถเป็นตัวแทนมวลดินจริงๆไ ในสนามได้ทั้งหมด เป็นต้นครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดิน2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com