สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้ก็ค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลยนะครับ นั่นก็คือ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการทบทวนความรู้ให้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการคำนวณหา ค่าความสามารถในการรับแรงดึง และ ค่าความสามารถในการรับแรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็ม วันนี้ผมมีปัญหาง่ายๆ จะมาทดสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะสามารถทำการแก้ปัญหาข้อนี้ได้หรือไม่ โดยที่ผมจะทำการ สมมติ ปัญหาขึ้นมาว่า ผมมีเสาเข็มสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม ซึ่งเสาเข็มต้นนี้มีความยาวเท่ากับ 21.00 ม โดยที่ตัวดินเองนั้นมีค่าหน่วยแรงฝืดที่ผิวโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของเสาเข็มเท่ากับ 3 ตัน/ตร.ม มีค่าหน่วยแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็มเท่ากับ 200 ตัน/ตร.ม หากว่าในชิ้นดินนี้ไม่มีโอกาสที่จะเกิดแรงฉุด หรือ NEGATIVE SKIN FRICTION ขึ้นเลย และ ผมทำการกำหนดให้ใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการคำนวณให้มีค่าเท่ากับ 2.50 ผมอยากที่จะเชิญชวนให้เพื่อนๆ ลองมาช่วยกันทำการคำนวณหา ค่าความสามารถในการรับแรงดึง และ ค่าความสามารถในการรับแรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็มดังภาพที่แสดงนี้กันนะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์
#ปัญหาในการคำนวณหาค่าค่าความสามารถในการรับแรงดึงและค่าความสามารถในการรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม
เฉลย
โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้ก็ค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลยนะครับ
โดยที่ในการแก้ปัญหาข้อนี้เราควรที่จะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่า PARAMETER ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณไปทีละค่าๆ โดยอาจจะเริ่มต้นจากค่าคุณสมบัติต่างๆ ของเสาเข็มต้นนี้ก่อน ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย ค่าความยาวของเส้นรอบรูปของเสาเข็ม หรือ P ค่าพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม หรือ Ap ค่าความยาวของเสาเข็มในมวลดิน หรือ Lp และ ค่าน้ำหนักของเสาเข็ม หรือ Wp ซึ่งทั้ง 4 ค่าข้างต้นนี้เราจะสามารถทำการคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาง่ายๆ เลยจาก
P = (300×4)/1000
P = 1.20 M
Ap = (300×300)/1000^(2)
Ap =0.09 M^(2)
Lp = 21.00 M
และ
Wp = γconcrete x Ap x Lp
Wp = 2.40 x 0.09 x 21.00
Wp = 4.536 TONS
ค่าต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่า Qf กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้ก็คือค่า ค่าแรงฝืดประลัยที่ผิวของเสาเข็ม ซึ่งปัญหาข้อนี้ได้ให้ค่า หน่วยแรงฝืดที่ผิวโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของเสาเข็ม หรือค่า qf (ave) มาแล้วซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 3 ตัน/ตร.ม เพราะฉะนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จาก
Qf = qf (ave) x P x Lp
Qf = 3 x 1.20 x21.00
Qf = 75.6 TONS
ค่าต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่า Qe กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้ก็คือค่า ค่าแรงอัดประลัยที่ปลายของเสาเข็ม ซึ่งปัญหาข้อนี้ได้ให้ค่า หน่วยแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็ม หรือค่า qe มาแล้วซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 200 ตัน/ตร.ม เพราะฉะนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จาก
Qe = qe x Ap
Qe = 200 x 0.09
Qe = 18 TONS
ซึ่งจากข้อมูลอื่นๆ ทีได้ให้ไว้ในปัญหาข้อนี้เราก็จะสามารถที่จะทราบได้ว่า
NF = 0
และ
FS = 2.50
เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า Qa และ Qt ออกมาได้แล้ว โดยเริ่มต้นจากการคำนวณหาค่า Qa หรือ ค่าความสามารถในการรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม กันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ
Qa = [(Qf + Qe)/FS] – NF – Wp
จากนั้นก็ทำการแทนค่าต่างๆ ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้นลงไป ในที่สุดก็จะได้คำตอบออกมาว่าค่า Qa จะมีค่าเท่ากับ
Qa = [(75.6 + 18)/2.5] – 0 -4.536
Qa = 32.904
Qa ≈ 32.9 TONS
ค่าต่อมาที่เราจะสามารถทำการคำนวณออกมาได้ก็คือค่า Qt หรือ ค่าความสามารถในการรับแรงดึงที่ยอมให้ของเสาเข็ม นั่นเองนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ
Qt = (Qf/FS) + Wp
จากนั้นก็ทำการแทนค่าต่างๆ ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้นลงไป ในที่สุดก็จะได้คำตอบออกมาว่าค่า Qt จะมีค่าเท่ากับ
Qt = (75.6 /2.5) + 4.536
Qt = 34.776 TONS
Qt ≈ 34.8 TONS
เรามาทำการสรุปคำตอบของปัญหาข้อนี้กันสักหน่อยก็แล้วกันนะครับว่า ค่า Qa จะมีค่าโดยประมาณแล้วเท่ากับ 32.9 TONS และ ค่า Qt จะมีค่าโดยประมาณแล้วเท่ากับ 34.8 TONS นั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์
#เฉลยปัญหาในการคำนวณหาค่าค่าความสามารถในการรับแรงดึงและค่าความสามารถในการรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com