การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างในรูปๆ นี้ได้วิบัติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างๆ นี้อยู่ในรูปแบบที่สูญเสีย เสถียรภาพ และ ความมั่นคง ไปแล้ว ผมจึงอยากจะตั้งคำถามกับเพื่อนๆ ว่า โครงสร้างที่เห็นนี้เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่อะไร ? และเพื่อนๆ คิดว่าสาเหตุของการวิบัติของโครงสร้างๆ นี้เกิดจากสาเหตุใด ?

เรามาพูดกันถึงชื่อเรียกและหน้าที่ของเจ้าโครงสร้างในรูปๆ นี้ก่อนนะครับ ชื่อของตัวโครงสร้างนั้นอาจจะมีหลายชื่อเรียกนะครับ แต่ ผมจะขอนิยามว่าเป็น โครงสร้างกำแพงรับแรงทางด้านข้าง ที่จะคอยกันน้ำและดิน และ ทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพทางด้านข้างให้แก่ คลอง หรือ ทางน้ำเปิด (OPEN CHANNEL) ก็แล้วกันนะครับ เพราะ หลักๆ แล้วหน้าที่ของเจ้าโครงสร้างประเภทนี้ คือ ตัว กำแพง (RETAINING WALL) และ คานค้ำยัน (BRACING BEAM) จะคอยหน้าที่ในการป้องกันมิให้แนวของกำแพงนั้นล้มลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งนั่นเองนะครับ

ต่อมา เราจะมาพูดคุยและปรึกษากันถึงสาเหตุในการวิบัติของเจ้าโครงสร้างกำแพงรับแรงทางด้านข้างในรูปๆ นี้กันบ้างนะครับ

ทันทีที่ผมเห็นลักษณะของการวิบัติของเจ้าโครงสร้างๆ นี้ผมก็ทำการตั้งข้อสันนิษฐานเลยว่า โครงสร้างขนาดดังกล่าวนี้น่าที่จะต้องเป็นโครงสร้างที่อาศัยฐานรากวางบนเสาเข็ม ดังนั้นสาเหตุของการวิบัติจึงน่าจะเกิดจากการที่ส่วนของ ฐานรากเสาเข็ม ของเจ้าโครงสร้างนี้เกิดการวิบัติไปนะครับ เพราะ เท่าที่ดูในโครงสร้างส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นส่วน คานค้ำยัน หรือ กำแพง ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่ ถึงแม้ว่าจะเกิดการเอียงตัวไปมากจนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ ก็ไม่พบร่องรอยการแตกร้าวใดๆ ในโครงสร้างให้เห็นได้จากทางด้านบนเลย ดังนั้นก่อนที่เราจะเสวนากันต่อ ผมต้องขอเท้าความไปที่เรื่องรูปแบบหลักๆ ในการวิบัติของฐานรากก่อนนะครับ

รูปแบบในการวิบัติของ ฐานรากเสาเข็ม จะประกอบไปด้วย 13 ประการหลักๆ ด้วยกัน คือ
1. เสาเข็มนั้นมีความบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์
2. เสาเข็มต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
3. เสาเข็มนั้นวางตัวอยู่ในชั้นดินอ่อนและเกิดการกระจายน้ำหนักในรูปแบบที่ไม่เท่ากัน
4. เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากตำแหน่งที่ได้รับการออกแบบไว้
5. การเคลื่อนตัวทางด้านข้างของดินที่อยู่รอบ
6. เสาเข็มที่ใช้ในโครงสร้างเดียวกันนั้นมีความยาวที่ไม่เท่ากัน
7. เสาเข็มที่ใช้ในโครงสร้างเดียวกันนั้นมีความยาวที่เท่ากันแต่วางตัวอยู่บนชั้นดินต่างชนิดกัน
8. เกิดการวิบัติอันเนื่องมาจากกำลังรับแรงแบกทานไม่เพียงพอ
9. เกิดการต่อเติมโครงสร้างและมีการใช้เสาเข็มชนิดเจาะ
10. เกิดแรงดันดินในทิศทางขึ้นกระทำกับเสาเข็ม
11. เกิดแรงฉุดลงขึ้นในเสาเข็ม
12. เกิดการกัดเซาะของดินใต้ฐานราก
13. ดินที่อยู่รอบๆ เสาเข็มนั้นเกิดการยุบตัวไป

จากสาเหตุหลักๆ ทั้ง 13 ประการข้างต้นผมมองว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 1 ใน 13 ข้อ หรือ มากกว่า 1 ข้อ ร่วมกันก็เป็นได้ เพราะ จะเห็นได้ว่าลักษณะของการเสียรูปของโครงสร้างๆ นี้มีความผิดปกติตรงที่ ตำแหน่งที่ 1 นั้นเกิดการทรุดตัว ส่วนตำแหน่งที่ 2 แทบจะไม่เกิดการทรุดตัวใดๆ เลย โดยที่ตำแหน่งที่ 1 นั้นจะเป็นอาคาร ดังนั้นอาจจะทำให้มี นน กดทับที่มีขนาดสูงมากๆ กระทำคงค้างอยู่เป็นเวลานาน ในขณะที่ตำแหน่งที่ 2 นั้นจะเป็นพื้นที่โล่ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มี นน กดทับใดๆ กระทำอยู่เลย

ซึ่งหากจะให้ผมตั้งสมมติฐานของการวิบัติ ผมมีความคิดว่าน่าจะเกิดจากหลายๆ ข้อเกิดร่วมกัน นั่นก็คือข้อ 1 5 11 และ 13 เป็นหลักนะครับ สำหรับในส่วนของสาเหตุจริงๆ ของการวิบัติจะเป็นเช่นใด คงจะต้องทำการทดสอบตรวจสอบหลายๆ อย่างออกมาก่อน เราจึงจะฟันธงลงไปได้ว่าสาเหตุจริงๆ ของการวิบัตินั้นเกิดจากกลไกใดเป็นหลักครับ

ยังไงในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและขยายความถึงเรื่องสาเหตุของการวิบัติใน ฐานรากเสาเข็ม กันต่อนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในบทความเหล่านี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้ครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com