การออกแบบโครงสร้างเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้แอดมินจะนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างเหล็กมาฝากเพื่อนๆ ต่อเนื่องจากเรื่องที่ผมทิ้งท้ายเอาไว้เมื่อวานนะครับ

โดยที่เมื่อวานผมได้อธิบายกับเพื่อนๆ ไปแล้วว่าหากทำการออกแบบหน้าตัดเหล็กที่ต้องรับ แรงอัด และ แรงดัด พร้อมๆ กัน และ หน้าตัดเองมีค่าอัตราส่วนระหว่างค่า fa/Fa มีค่าน้อยกว่า 0.15 เราสามารถใช้สมการ INTERACTION ของ AISC ได้เลยโดยตรง

คำถามที่น่าสนใจที่อาจตามมา คือ หากค่าอัตราส่วนระหว่างค่า fa/Fa นั้นมีค่ามากกว่า 0.15 จะทำเช่นไร ?

วันนี้เราจะมาทราบถึงคำตอบของปัญหาข้อนี้กันนะครับ (ดูรูปประกอบ)

เมื่อแรงตามแนวแกนในหน้าตัดมีค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากกรณีแรก นั่นแสดงว่าค่าการเยื้องศูนย์ของแรงตามแนวแกน (d) จะยิ่งมีค่าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เราต้องคิดผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการที่แรงและระยะเยื้องศูนย์นี้เกิดขึ้นด้วย (P-Δ EFFECT)

น AISC ได้ให้คำแนะนำว่าเราต้องทำการหาค่าตัวคูณเพิ่มค่าแรงดัด (MOMENT MAGNIFICATION FACTOR) Cmx และ Cmy เพื่อมาเพิ่มค่า fbx และ fby และ ต้องทำการปรับแก้ค่าแรงดัดที่ยอมให้รอบแกน x และ y ด้วย

โดยที่ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่ต้องรับ แรงอัด และ แรงดัด พร้อมๆ กันนี้เราจะเรียกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทนี้ว่า BEAM-COLUMN ELEMENT ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าในการออกแบบหน้าตัดลักษณะแบบนี้จะค่อนข้างมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าการออกแบบหน้าตัดที่ต้องรับ แรงอัด หรือ แรงดัด เพียงอย่างเดียวค่อนข้างมากนะครับ ดังนั้นทางที่ดี หากไม่จำเป็นเราก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ทำให้โครงสร้างต้องรับแรงประเภทดังกล่าวจะดีที่สุด แต่ หากจำเป็นจริงๆ ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะสามารถนำเกร็ดความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ นี้ไปใช้ในงานออกแบบของเพื่อนๆ ได้นะครับ

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์