แยกประเภทของเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ

เนื่องจากมีคำถามที่ถามมายังแอดมินเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องชนิด และ ประเภทของเสาเข็มนะครับ ทำให้แอดมินมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของเพื่อนๆ จึงอยากที่จะขออธิบายโดยแยกประเภทของเสาเข็มดังต่อไปนี้นะครับ

(1) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง
(2) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ
(3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง

(รูปที่ 1)

(รูปที่ 2)

โดยในวันนี้จะขอมาทำการอธิบายต่อในหัวข้อที่ (3) หัวข้อสุดท้ายต่อจากเมื่อวานนะครับ นั่นก็คือ การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างนะครับ

(A) เสาเข็มตอก (DRIVEN PILE) คือ การใช้ปั้นจั่นทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกตามที่ต้องการ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อน และ ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ ในปัจจุบันจะมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีอาคารอยู่รอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนในการตอก และ การเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทำโดยผู้รับจ้างซึ่งอาจไม่ใช่วิศวกร การควบคุมการตอกจึงกระทำโดยขาดความรู้ได้จนนำมาซึ่งปัญหาในการทำงานได้ ดูรูปที่ (1) และ (2) ประกอบ

(รูปที่ 3)

(B) เสาเข็ม คสล แบบเจาะหล่อในที่ (BORED PILE) คือ เสาเข็ม คสล ที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็ม เป็นวิธีการก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบในการใช้เสาเข็มตอก ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง การรบกวนอาคารรอบข้างเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากการตอก รวมทั้งการควบคุมตำแหน่ง และ แนวของเสาเข็ม การเจาะเสาเข็มอาจกระทำได้โดยกระบวนการแห้ง (DRY PROCESS) คือ การเจาะโดยไม่ต้องใช้น้าช่วย สาหรับกรณีที่ดินข้างหลุมเจาะมีเสถียรภาพ โดยหากดินข้างหลุมเจาะพังทลาย ต้องใส่น้าผสมสาร เบนโทไนท์ หรือ โพลิเมอร์ ลงไปในหลุมเพื่อช่วยพยุงดินข้างหลุม เรียกว่ากระบวนการเปียก (WET PROCESS) สาหรับวิธีในการเจาะดินสามารถที่จะกระทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การเจาะแบบหมุน (ROTARY TYPE) แบบขุด (EXCAVATION TYPE) และ การเจาะแบบทุ้งกระแทก (PERCUSSION TYPE) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมาะกับการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะคับแคบ การควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างจะมีส่วนสาคัญอย่างมาก คือ การกำหนดตำแหน่งของเสาเข็ม การควบคุมแนวการเจาะให้ได้แนวดิ่ง ความสะอาดและเรียบร้อยของหลุมเจาะ การติดตั้งเหล็กเสริม และการเทคอนกรีต หากการก่อสร้างเสาเข็มเจาะกระทำโดยบริษัทที่ดี และ มีประสบการณ์แล้วมักจะอาศัยวิศวกรโยธาเป็นผู้ควบคุมดู และ คุณภาพของงานเสาเข็มเจาะ ส่วนข้อเสียของเสาเข็มประเภทนี้ก็ประกอบด้วยหลายอย่างเช่นกัน เช่น การควบคุมคุณภาพของคอนกรีตที่ทำการหล่อในหลุมเจาะนั้นจะทำได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆ มีเศษขี้ดินจากาารเจาะดิน ทำให้สถานที่การทำงาน ณ หน้างานเกิดความสกปรก ไม่สะอาดตา เป็นต้น ดูรูปที่ (3) ประกอบ

(รูปที่ 4)

(C) เสาเข็มเจาะเสียบ (AUGER PRESS PILE) เป็นการใช้เสาเข็มสาเร็จรูป ติดตั้งโดยการเจาะดินให้เป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดเสาเข็มเล็กน้อยแล้วก็ทำการกดเสาเข็มลงไปในรู เป็นการแก้ปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดิน วิธีการนี้สามารถที่จะใช้การตอกแทนการกดได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่มีค่าความแข็งแรงมากๆ ได้อีกด้วย วิธีการนี้นิยมใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง ซึ่งมีรูกลวงตรงกลาง โดยในระหว่างที่ทำการกดเสาเข็มลงไปนั้น ตัวหัวสว่านซึ่งใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะทำการหมุนเพื่อนำดินขึ้นมา เมื่อกดเสาเข็มพร้อมกับเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็จะหยุดการกด จากนั้นก็ดึงดอกสว่านออกแล้วตอกด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ ดูรูปที่ (4) ประกอบ

โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างให้อยู่ในประเภท (A) เพราะว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ได้รับการออกแบบให้ใช้วิธีในการตอกเพื่อนำเสาเข็มลงไปในดิน เพราะ ต้องถือว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำที่สุด แต่ ก็ยังสามารถที่จะควบคุมคุณภาพได้ทั้ง ก่อน และ หลัง การตอกเสาเข็มอีกด้วย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่องานของคุณลูกค้าที่รักและเคารพของทางภูมิสยามนั่นเองครับ

 

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้และ ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาจะช่วยทำให้เพื่อนๆ สามารถที่จะจำแนกถึงประเภทของเสาเข็มได้อย่างถูกต้อง และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์