การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง

ไมโครไพล์ micropile เสาเข็มไมโครไพล์ 15-03

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC) นะครับ

เนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการนำทฤษฎีเรื่อง INFLUENCE LINE มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสะพาน ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ หลายๆ ท่านให้ความสนใจ และ มีคำถามตามมาด้วยว่า อยากทราบวิธีในการสร้างตัวแผนภูมิ INFLUENCE LINE นี้ว่ามีวิธีการสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ?

ไม่มีปัญหาและยินดีมากๆ เลยครับ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ผมจะขออนุญาตทำการยก ตย โดยที่ใช้คานในรูป ตย เมื่อวานนี้ในการอธิบายแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ และ การสร้างแผนภูมิ INFLUENCE LINE ใน ตย ข้อนี้ก็เพื่อทำการระบุปริมาณค่าของโมเมนต์ ณ ตำแหน่ง C นะครับ

โดยที่เราจะเริ่มต้นกันที่ตำแหน่งแรก คือ ที่ระยะ x มีค่าเท่ากับ 0 นะครับ โดยเมือทำการวาง นน บรรทุก 1 หน่วย ที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งจะตรงกันกับตำแหน่งของจุดรองรับ เราก็จะพบว่าในคานจะไม่เกิดผลตอบสนองใดๆ ขึ้น ดังนั้นค่าโมเมนต์ที่จุด C จึงมีค่าเท่ากับ

Mc (x = 0) = 0

ต่อมาคือที่ตำแหน่งที่ 2 คือ ที่ระยะ x มีค่าเท่ากับ 10 M โดยเมือทำการวาง นน บรรทุก 1 หน่วย ที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งจะตรงกันกับตำแหน่งกึ่งกลางของคาน เราจะพบว่าหากเป็นเช่นนี้ในคานนั้นจะเกิดผลตอบสนองขึ้น ดังนั้นค่าโมเมนต์ที่จุด C จึงมีค่าเป็น บวก และ จะมีค่าเท่ากับ

Mc (x = 10 M) = 1 x 20 / 4 = 5 UNIT-METER

มาดูกันที่ตำแหน่งที่ 3 กันต่อนะครับ คือ ที่ระยะ x มีค่าเท่ากับ 20 M โดยเมือทำการวาง นน บรรทุก 1 หน่วย ที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งจะตรงกันกับตำแหน่งของจุดรองรับ เราก็จะพบว่าในคานจะไม่เกิดผลตอบสนองใดๆ ขึ้น เหมือนกันกับที่ตำแหน่งแรก ดังนั้นค่าโมเมนต์ที่จุด C จึงมีค่าเท่ากับ 0

Mc (x = 20 M) = 0

ต่อมาคือที่ตำแหน่งสุดท้าย คือ ที่ระยะ x มีค่าเท่ากับ 30 M โดยเมือทำการวาง นน บรรทุก 1 หน่วย ที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งจะตรงกันกับตำแหน่งปลายขวาสุดของคาน เราจะพบว่าหากเป็นเช่นนี้ในคานนั้นจะเกิดผลตอบสนองขึ้นเหมือนกันกับตำแหน่งที่ 2 ดังนั้นค่าโมเมนต์ที่จุดรองรับทางด้านขวามือจึงมีค่าเป็น ลบ และ มีค่าเท่ากับ

M = 1 x 10 = 10 UNIT-METER

ดังนั้นค่าโมเมนต์ที่จุด C จึงมีค่าเป็น ลบ เช่นกัน และ จะมีค่าเท่ากับ

Mc (x = 30 M) = 10 / 2 = 5 UNIT-METER

เพียงเท่านี้เราก็จะได้แผนภูมิ INFLUENCE LINE ออกมาแล้วนะครับ ดังนั้นต่อให้โครงสร้างรูปแบบอื่นๆ ที่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป หรือ จะมีความยุ่งยากขนาดไหนก็ตามแต่ หากทำตามขั้นตอนข้างต้นที่ผมได้แสดงวิธีในการทำให้ดูก็จะสามารถสร้างแผนภูมิ INFLUENCE LINE ออกมาได้ในที่สุดนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ