ผลจากการทดสอบด้วยวิธี PILE DYNAMIC LOAD TEST ซึ่งได้จากการทดสอบเสาเข็มจริงๆ ณ หน้างานนะครับ

ผลจากการทดสอบด้วยวิธี PILE DYNAMIC LOAD TEST ซึ่งได้จากการทดสอบเสาเข็มจริงๆ ณ หน้างานนะครับ

ไมโครไพล์ micropile เสาเข็มไมโครไพล์

จากแผนภูมินี้เป็นเพียงแผนภูมิหนึ่งที่เป็นผลที่ได้จากการทดสอบเสาเข็มโดยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นะครับ ซึ่งก็คือ แผนภูมิแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่า นน บรรทุกที่เสาเข็มจะสามารถรับได้ ทางแกน X และ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ทางแกน Y นะครับ

หากเพื่อนๆ ดูแผนภูมินี้ไม่เป็นก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะ โดยปกติแล้วจะมีข้อความอยู่ด้านข้างที่ทำหน้าที่อธิบายแผนภูมิๆ นี้อยู่แล้วนะครับ

ปล คำอธิบายนี้เป็นการอธิบายการเก็บข้อมูลที่บริเวณส่วนด้านบนของตัวเสาเข็ม

โดยที่ความหมายของค่าต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญนั้นเป็นดังนี้

RU คือ ค่า นน บรรทุกสูงสุดที่เสาเข็มสามารถที่จะรับได้ หรือ MAXIMUM TESTED LOAD

DY คือ ค่าระยะการทรุดตัวค่าแรกที่ นน บรรทุกสูงสุดจะมีแนวโน้มที่จะเริ่มคงที่ (CONSTANT) หรือ MAXIMUM DISPLACEMENT DUE TO MAXIMUM TESTED LOAD

DX คือ ค่าระยะการทรุดตัวค่าสุดท้ายก่อนที่ นน บรรทุกสูงสุดจะเกิดการสะท้อนกลับ (REBOUND) หรือ FINAL MAXIMUM DISPLACEMENT DUE TO MAXIMUM TESTED LOAD

SET/BI คือ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มที่ได้จากการทดสอบ โดยที่เราจะนำค่าๆ
นี้ไปทำการคำนวณหาค่าการทรุดตัวจริงๆ เมื่อเสาเข็มต้นนั้นๆ ต้องรับ นน

จากแผนภูมิที่แสดงให้เห็นในรูปๆ นี้จะสามารถแปรผลได้ว่า

RU หรือ ค่า นน บรรทุกสูงสุดของเสาเข็มต้นนี้ จะมีค่าเท่ากับ 168 TONS

Dy หรือ ค่าระยะการทรุดตัวค่าแรกที่ นน บรรทุกสูงสุดจะมีแนวโน้มที่จะเริ่มคงที่ จะมีค่าเท่ากับ 21.5 mm

Dx คือ ค่าระยะการทรุดตัวค่าสุดท้ายก่อนที่ นน บรรทุกสูงสุดจะเกิดการสะท้อนกลับ จะมีค่าเท่ากับ 23.5 mm

SET/BI หรือ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มที่ได้จากการทดสอบและเราจะนำค่าๆ
นี้ไปทำการคำนวณค่าการทรุดตัวจริงๆ เมื่อเสาเข็มต้นนั้นๆ จะต้องรับ นน ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 23.5-21.5 = 2 mm นะครับ

ทั้งนี้การแปรผลข้างต้นเป็นการแปรผลในเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ เพราะ ในการใช้งานค่าที่ได้จากการทดสอบจะต้องทำอีกหลายขั้นตอนมากๆ เช่น การปรับแก้ค่า RU ด้วยค่าอัตราส่วนความปลอดภัย หรือ SAFETY FACTOR การทำการเปรียบเทียบผลของการทดสอบเสาเข็มต้นอื่นๆ ภายใต้ลักษณะทางกายภาพที่เหมือนและแตกต่างกันเพื่อเป็นการยืนยันสมมติบานในการทดสอบ เป็นต้น

หากในโอกาสหน้าผมสะดวก ผมจะขออนุญาตนำผลโดยละเอียดของการทดสอบโดยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นี้มายก ตย แก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ ทั้งนี้ผมอาจที่จะรวมไปถึงการนำผลการทดสอบด้วยวิธีการ STATIC LOAD TEST มาฝากด้วยครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ ได้พอที่จะเข้าใจกระบวนการในการทดสอบเสาเข็มนี้ได้พอสังเขป หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1565115240201262

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
ทาง
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์