สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรที่เพิ่งจบใหม่ท่านหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วน้องท่านนี้ก็อายุน้อยกว่าผมเพียงไม่กี่ปีแต่ผมยอมรับในตัวแกเลยเพราะแกใช้ความมานะอุตสาหะตั้งใจเรียนจนจบในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีตอนอายุ 30 กว่าๆ ได้ ผมขอแสดงความยินดีกับแกด้วยก็แล้วกันและขออำนวยพรให้แกมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสืบไปนะครับ
ทีนี้สิ่งที่แกนำเอาปรึกษากับผมนั้นต้องย้อนกลับไปตอนที่แกกำลังเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอยู่ ซึ่งแกเคยไปอ่านเจอคำถามข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION ว่า ค่าของระยะเยื้องศูนย์มากที่สุดที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้นของเรานั้นเกิด หน่วยแรงเค้นดึง หรือ TENSILE STRESS ขึ้นเลยจะต้องมีค่าไม่เกินระยะ B/6 ซึ่งค่า B ก็คือ ระยะความกว้างของฐานราก ซึ่งแกไม่เข้าใจจริงๆ ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้น่ะครับ
ซึ่งผมก็ได้ทำการอธิบายให้กับน้องท่านนี้ไปแล้วในเบื้องต้นและผมยังได้บอกด้วยว่า ให้น้องท่านนี้ลองกลับไปหาอ่านบทความที่ผมเคยได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้เอาไว้ในเพจแต่ปัญหาก็คือ ผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าผมได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้เอาไว้วันไหน ปีไหนกันแน่ ซึ่งก็ไม่เป็นไรนะ ผมเลยจะขออนุญาตมาทำการตอบคำถามข้อนี้ให้ในโพสต์ๆ นี้เลยก็แล้วกันนะครับ
ก่อนอื่นเรามาทวนกันเร็วๆ สักนิดเกี่ยวกับเรื่องสมการที่จะใช้ในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นดึงสูงสุดและต่ำสุดที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้นนั้นจะมีหน้าตาดังนี้
qmax=P/(B×L)+6×M/[B^(2)×L]EQ.(1)
และ
qmin=P/(B×L)‒6×M/[B^(2)×L]EQ.(2)
ในเมื่อค่า P คือ แรงกระทำในแนวดิ่งที่ส่งผ่านมาจากตอม่อ ส่วนค่า M คือ แรงกระทำโมเมนต์ดัดที่ส่งผ่านมาจากตอม่อ และ ค่า L ก็คือ ระยะความยาวของฐานราก ต่อมาหากเราทำการจัดรูป EQ.(2) เสียใหม่เราจะได้หน้าตาของสมการใหม่ดังต่อไปนี้
qmin=P/(B×L)‒6×M/[B^(2)×L]
qmin=P/(B×L)×[1‒6×M/(P×B)] EQ.(3)
ทั้งนี้เราทราบดีว่า ค่าของระยะเยื้องศูนย์ หรือค่า e นั้นจะสามารถทำการคำนวณหาออกมาได้จากสัดส่วนระหว่าง ค่าแรงโมเมนต์ดัดที่ส่งผ่านมาจากตอม่อ หารด้วย ค่าแรงกระทำในแนวดิ่งที่ส่งผ่านมาจากตอม่อ หรืออาจจะเขียนได้ในรูปของสมการได้ว่า
e=M/P EQ.(4)
ดังนั้นหากเราแทนค่า EQ.(4) ลงไปใน EQ.(3) เราจะได้หน้าตาของสมการใหม่ดังต่อไปนี้
qmin=P/(B×L)×[1‒6×e/B]EQ.(5)
ทั้งหากเราต้องการที่จะให้สถานะของ EQ.(5) นั้นเป็นค่าขอบเขตต่ำที่สุดนั่นก็แสดงว่า เราจะต้องให้ค่า qmin นั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งเราก็จะสามารถทำการแก้สมการนี้เพื่อที่จะหาว่า ค่าของระยะเยื้องศูนย์มากที่สุดที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้นของเรานั้นเกิดหน่วยแรงเค้นดึงขึ้นเลยจะต้องมีค่าไม่เกิน
qmin=P/(B×L)×[1‒6×e/B]
0≤P/(B×L)×[1‒6×e/B]
0≤1‒6×e/B
6×e/B≤1
e≤B/6
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ค่าระยะเยื้องศูนย์มากที่สุดที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้นนั้นเกิดหน่วยแรงเค้นดึงขึ้นเลย
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam