ปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


ผมขอทำการสมมติว่า เพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง โดยที่ผมขอทำการสมมติให้ข้อมูลของโครงสร้างเสาเข็มที่จะสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างในโครงการแห่งนั้นเป็นไปตามข้อมูลดังต่อไปนี้
โครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 180 มม สามารถรับกำลังปลอดภัยได้เท่ากับ 10 ตัน/ต้น ราคาอยู่ที่ 7000 บาท/ต้น
โครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 220 มม สามารถรับกำลังปลอดภัยได้เท่ากับ 16 ตัน/ต้น ราคาอยู่ที่ 10000 บาท/ต้น
โครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 260 มม สามารถรับกำลังปลอดภัยได้เท่ากับ 24 ตัน/ต้น ราคาอยู่ที่ 12500 บาท/ต้น
โครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 300 มม สามารถรับกำลังปลอดภัยได้เท่ากับ 32 ตัน/ต้น ราคาอยู่ที่ 15000 บาท/ต้น

ดังนั้นเนื่องด้วยเพื่อเหตุผลทางด้านความประหยัดและเรื่องของการจัดการที่ง่ายในงานก่อสร้างของโครงการนี้ ผมจึงได้เลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 180 มม ซึ่งจะสามารถรับกำลังปลอดภัยได้เท่ากับ 10 ตัน/ต้น ดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างฐานรากของเราจึงจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น หรือ F3 ซึ่งผลจากการตอกโครงสร้างเสาเข็มนั้นพบว่า จากการตอกเสาเข็มเพียงแค่ต้นแรก ก็มีโครงสร้างเสาเข็มจำนวน 1 ต้นที่หักไป ทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้โครงสร้างเสาเข็มต้นนี้ในการรับน้ำหนักของโครงสร้างได้และเมื่อเพื่อนๆ ได้ย้อนกลับไปดูรายละเอียดจากการออกแบบก็พบว่า เพื่อนๆ ได้ทำการตั้งสมมติฐานในการออกแบบฐานรากต้นนี้ว่า เป็นจุดรองรับอย่างง่ายหรือว่า PINNED SUPPORT ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักที่เป็นแรงกระทำตามแนวแกนที่ถูกถ่ายผ่านมาจากโครงสร้างเสาตอม่อทั้งหมดเท่ากับ 27 ตัน โดยที่จะไม่มีแรงโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นเลย

คำถามในวันนี้ก็มีความง่ายดายสุดๆๆๆๆ เลยนั่นก็คือ หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรที่ต้องทำการควบคุมการทำงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนจะเลือกทำการตอกเข็มแซมแบบใดดีครับ ?

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำการวิเคราะห์หากันว่า หากเพื่อนๆ จะต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรซึ่งต้องทำการควบคุมการทำงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนจะเลือกทำการตอกเข็มแซมด้วยวิธีการใด

ก่อนที่ผมจะทำการตอบคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ผมอยากจะขออนุญาตชี้แจงไว้สักนิดนึงตรงนี้ว่า จริงๆ แล้วการแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างเสาเข็มภายในโครงการก่อสร้างหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธีการเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เป็นหลัก เช่น เงื่อนไขของราคาของโครงสร้างเสาเข็ม เงื่อนไขของเวลาในการทำงานก่อสร้าง เงื่อนไขของการขนส่งและการกองเก็บโครงสร้างเสาเข็ม เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้วเพื่อนๆ จะเลือกนำเอาวิธีการใดๆ มาใช้ ก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเงื่อนไขต่างๆ ในการทำงานก่อสร้างที่เพื่อนๆ สะดวกได้เลยนะครับ


สำหรับการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเสาเข็มในกรณีของปัญหาๆ นี้ผมจะไม่เลือกทำการตอกเข็มแซมโดยใช้โครงสร้างเสาเข็มเป็นจำนวน “คู่” ผมจะทำการใช้เสาเข็มเป็นจำนวน “คี่” และผมจะทำการตอกเสาเข็มเพิ่มอีกเพียงแค่ “1 ต้น” เท่านั้น !!!
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไป นั่นเป็นเพราะผมเลือกที่จะทำการเปลี่ยนขนาดของโครงสร้างเสาเข็มให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นไปเลย ทั้งนี้หากผมเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 180 มม หรือ 220 มม หรือ 260 มม เพียงแค่ 1 ต้น ค่าความสามารถในการรับกำลังปลอดภัยของเสเข็มก็จะมีค่าน้อยกว่าค่าแรงกระทำตามแนวแกนที่ถูกถ่ายผ่านมาจากโครงสร้างเสาตอม่อ ดังนั้นผมจึงต้องเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 300 มม ซึ่งก็จะทำให้ยังคงมี MARGIN หลงเหลืออยู่ในโครงสร้างเสาเข็มอีกประมาณหนึ่งด้วยนะครับ

ต่อมาหากผมทำการเปรียบเทียบในเรื่องของราคาบ้าง เราก็จะพบว่า หากจะทำการตอกโครงสร้างเสเข็มแซมโดยอาศัยโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 180 มม ทั้งหมดจำนวน 3 ราคาทั้งหมดก็จะอยู่ที่
COST = 7000×3 = 21000 BAHT

ทั้งนี้หากผมเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มรูปตัวไอขนาด 300 มม จำนวนเพียงแค่ 1 ต้น รวมกันกับโครงสร้างเสาเข็มต้นที่ตอกไปแล้วและใช้การไมได้ ราคาทั้งหมดก็จะอยู่ที่
COST = 7000+15000 = 22000 BAHT

ซึ่งราคาดังกล่าวจะมีมูลค่าที่สูงกว่ากันเพียงแค่เล็กน้อยเพียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราทำการพิจารณาจากเรื่องเงื่อนไขของการรับกำลังและราคาผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็พอที่จะสรุปได้ว่า เราสามารถที่จะเลือกทำการแก้ปัญหาของโครงสร้างฐานรากต้นนี้ได้โดยการเปลี่ยนขนาดของโครงสร้างเสาเข็มให้ใหญ่ขึ้นและเลือกใช้งานจำนวนของโครงสร้างเสาเข็มเพียงแค่ 1 ต้น ได้นะครับ

หากเราทำการพิจารณาถึงสถานการณ์จริงๆ ในงานก่อสร้างหนึ่งๆ แล้ว เพื่อนๆ อาจจะพอมองเห็นได้ว่าวิธีการที่เพื่อนๆ คิดหรือตอบกันเข้ามาก็อาจจะไม่สามารถที่จะฟันธงหรือตัดสินลงไปได้ว่า ผิด หรือ ถูก ดังนั้นวิธีการแก้ไขโครงสร้างเสาเข็มที่ผมได้นำเอามาเฉลยในวันนี้ก็อาจจะมีความ เหมาะสม หรือ อาจจะไม่เหมาะสม กับสถานการณ์ในการทำงานจริงๆ ก็ได้นะ ยังไงผมก็ขอฝากประเด็นนี้เอาไว้ให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงประการนี้ด้วยก็แล้วกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam