สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมได้พูดถึงวิธีในการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างให้สามารถที่จะมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีความวิกฤติต่อประเภทของ นน บรรทุกในแนวดิ่งไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องวิธีในการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างให้สามารถที่จะมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีความวิกฤติต่อประเภทของ นน บรรทุกในแนวราบอย่างแรงกระทำจากแผ่นดินไหวให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อก็แล้วกันนะครับ
เริ่มจากการที่เราจะต้องทำการเลือกนำเอาวิธีการออกแบบๆ PBCD หรือ PERFORMANCE BASED CONCRETE DESIGN มาใช้ในขั้นตอนของการออกแบบให้พื้นคอนกรีตของเรานั้นมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้เองนะครับที่จะมีความยากแตกต่างออกไปจากการออกแบบสำหรับกรณีของ นน บรรทุกในแนวดิ่ง เพราะ สำหรับวิธีการออกแบบนี้เราจะไม่สามารถทราบได้ว่า แรง สูงสุดที่จะนำมาใช้ในการออกแบบมีค่าเท่ากับเท่าใด เพราะ เราจะต้องทำการกำหนดค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้สำหรับระดับสมรรถนะต่างๆ ของอาคารที่ทำการออกแบบ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับโครงสร้างนั้นๆ ด้วย ดังนั้นข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อแรก ซึ่งเป็นความยากสำหรับการออกแบบด้วยวิธี PBCD ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากวิธี SBCD จากนั้นเราจะต้องทำการพิจารณาที่สภาวะของโครงสร้างทั้ง ตอนที่ทำการออกแบบ และ ภายหลังการออกแบบเสร็จสิ้นไปแล้ว หรือ พูดง่ายๆ โครงสร้างของเราได้ทำการก่อสร้างเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ
หากเราทำการพิจารณาที่สภาวะของโครงสร้างในขณะที่ทำการออกแบบอยู่ หรือ ภายหลังการออกแบบเสร็จสิ้นไปแล้วบ้าง หรือ พูดง่ายๆ คือเมื่อโครงสร้างของเราได้ทำการก่อสร้างเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตามแต่ หากพบว่าค่ากำลังระบุ หรือ NOMINAL PUNCHING SHEAR STRENGTH ของคอนกรีตนั้นมีค่ามากกว่าค่าแรงที่ได้รับการเพิ่มค่าแล้วซึ่งมีความสอดคล้องกันกับระดับสมรรถนะของอาคารที่ต้องการ หรือ RELEVANT FACTORED PUNCHING SHEAR หรือ สามารถเขียนได้ว่า
ØVp > Vu
สำหรับกรณีของ นน บรรทุกซึ่งเป็นแผ่นดินไหวเราจะต้องอ้างอิงเพิ่มเติมไปที่ DESIGN CODE ที่มีความเฉพาะทางเป็นพิเศษซึ่งจะมีรายละเอียดที่มากกว่าและแตกต่างออกไปจาก DESIGN CODE ตามปกติอย่าง ACI318 เช่น ACI 352.1R-12 เป็นต้น ซึ่ง DEISG CODE อย่าง ACI 352.1R-12 ได้ทำการระบุเอาไว้ว่า หากเป็นเช่นนี้เราจะยังไม่สามารถทำการสรุปได้ในทันทีว่าการเสริมกำลังนั้นจำเป็นจริงๆ หรือไม่ ทั้งการเสริมกำลังแก่โครงสร้างในขณะที่ทำการออกแบบอยู่ หรือ PRE-STRENGTHENING และ การเสริมกำลังแก่โครงสร้างในภายหลังการออกแบบเสร็จสิ้นไปแล้ว หรือ POST-STRENGTHENING นะครับ
ทั้งนี้สำหรับกรณีที่การเสริมกำลังนั้นไม่มีความจำเป็นก็ต่อเมื่อเราได้ทำการคำนึงถึงค่า สัดส่วนการรับแรงเฉือนของ นน บรรทุกในแนวดิ่ง หรือ GRAVITY SHEAR RATIO หรือ GSR แล้วว่ามีค่าน้อยกว่า 0.40 หรือไม่เสียก่อน หรือ อาจเขียนในรูปของสมการได้ว่า
GSR = Vu / ØVp < 0.40
หากผลการคำนวณออกมาเป็นเช่นเหตุการณ์ข้างต้นก็จะพบว่าในมาตรฐานการออกแบบมักจะระบุว่า เราอาจไม่จำเป็นที่จะต้องเสริมความแข็งแรงใดๆ ให้แก่ตัวโครงสร้างของเราให้มีค่าความต้านทานต่อแรงเฉือนแบบเจาะทะลุใดๆ เป็นพิเศษ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าสำหรับกรณีที่การเสริมกำลังนั้นจะมีความจำเป็นขึ้นมาในทันทีหากว่าเราได้ทำการคำนึงถึงค่า สัดส่วนการรับแรงเฉือนของ นน บรรทุกในแนวดิ่ง หรือ GRAVITY SHEAR RATIO หรือ GSR แล้วพบว่ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.40 หรือ อาจเขียนในรูปของสมการได้ว่า
GSR = Vu / ØVp ≥ 0.40
โดยที่ทางเลือกในการเสริมกำลังทั้งในสภาวะ ก่อน และ หลัง การออกแบบนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายวิธีการซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกันสำหรับการเสริมกำลังในกรณีที่ นน บรรทุกนั้นเป็น นน บรรทุกในแนวดิ่ง เช่น ทำการเสริมแผ่นพื้นด้วยหมุดรับแรงเฉือนภายใน หรือ PRE-INSTALL SHEAR REINFORCEMENT หรือ ทำการเสริมแผ่นพื้นด้วยหมุดรับแรงเฉือนภายนอก หรือ POST-INSTALL SHEAR REINFORCEMENT หรือ การเสริมบริเวณจุดรองรับให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้เพื่อทำให้หน้าตัดวิกฤติต่อการแรงเฉือนนั้นมีพื้นที่ค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
พอทำการพิจารณาดูแล้วเราจะพบว่า หากเราอาศัยวิธีการ PBCD ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานต่อแรงกระทำจากนน บรรทุกในแนวราบอย่างแผ่นดินไหว ก็จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการออกแบบที่ค่อนข้างจะมีความละเอียดซับซ้อน ไม่ได้มีความตรงไปตรงมาเหมือนกันกับวิธีการ SBCD ซึ่งเป็นวิธีในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานต่อแรงกระทำจาก นน บรรทุกในแนวดิ่งเท่าใดนักนะครับ และ ก็จะพบอีกเช่นกันว่าต่อให้วิธีการในการคำนวณจะมีระดับของความยุ่งยากและความละเอียดที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่ วิธีในการทำการเสริมกำลังนั้นก็ยังคงมีความละม้ายคล้ายคลึงกัน ไม่แตกต่างกันมากนักนะครับ
เอาเป็นว่าในวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องที่มาที่ไปของข้อกำหนดในการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างที่มีการกล่าวถึงไว้ใน DESIGN CODE อย่าง ACI 352.1R-12 ที่ได้กล่าวถึงเรื่องข้อกำหนดสำหรับการเสริมกำลังแก่โครงสร้างให้สามารถที่จะมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีความวิกฤติต่อประเภทของ นน บรรทุกในแนวราบอย่างแรงกระทำจากแผ่นดินไหวให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อก็แล้วกันนะครับ จะได้เป็นการปิดสัปดาห์ก่อนปีใหม่แบบพอดิบพอดีสวยๆ กันเลย เพื่อนๆ ที่สนใจจะติดตามอ่านบทความของผมจะได้ไปฉลองปีใหม่กันแบบสบายๆ ไม่ต้องมาพะว้าพะวงติดตามอ่านบทความของผมในสัปดาห์ถัดๆ ไป ดังนั้นหากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ต่อไปครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com