สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของเพื่อนๆ เราที่ได้ฝากผมเอาไว้เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนเรื่อง เพราะเหตุใดในการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากของโครงสร้างประเภทรั้ว เราจึงมักที่จะเห็นวิศวกรนั้นทำการออกแบบให้ใช้เสาเข็มนั้นวางตัวเป็นแบบคู่ หรือ ไม่ก็เป็นแบบเสาเข็มเดี่ยวสลับกันระหว่างเสาเข็มคู่ ?
จริงๆ ก่อนหน้านี้ผมได้เคยทำการอธิบายคำถามข้อนี้ไป 2-3 ครั้งแล้วนะครับ แต่ ก็ไม่เป็นไร เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการทบทวนให้เพื่อนๆ ฟังกันอีกสักรอบก็แล้วกันนะครับ
โดยที่ผมจะขอตอบคำถามข้อนี้โดยยก ตย ง่ายๆ ดังต่อไปนี้นะครับว่า ผมจะขอให้เพื่อนๆ นั้นได้ลองหลับตา และ จินตนาการไปถึง ชาย 2 คน ที่ยืนอยู่กลางแจ้ง โดยที่
(A) นั้นหันทางด้านหน้าให้กับทิศทางของแรงทางด้านข้างที่เข้ามากระทำ
(B) นั้นหันทางด้านข้างให้กับทิศทางของแรงทางด้านข้างที่เข้ามากระทำ
หากชายทั้ง 2 คน นั้นจะต้องรับแรงกระทำทางด้านข้าง ซึ่งมีขนาดของแรงที่เท่าๆ กัน โดยที่ชายทั้ง 2 คน ยังสามารถที่จะยืนได้อยู่อย่างมั่นคง ไม่เซ ไม่ล้ม ลงไป ดังนั้นหากเพื่อนๆ ได้ทำการวาด แผนผังอิสระของแรง หรือ FREE BODY DIAGRAM จากรูปก็จะเห็นได้ว่า แรงปฏิกิริยาที่ขาของ (A) นั้นจะเป็นแรงดัดกระทำอยู่ที่ขาทั้งสองข้าง ส่วน แรงปฏิกิริยาที่ขาของ (B) นั้นจะเป็นแรงตามแนวแกนกระทำอยู่ที่ขาทั้งสองข้าง
กลับมาที่คำถามของเรานะครับ จากที่ผมได้ยก ตย ข้างต้นไป เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าชายในรูป (A) ก็คือเสาเข็มที่รับแรงกระทำทางด้านข้างแบบเข็มเดี่ยว ซึ่งเสาเข็มแบบนี้จำเป็นที่จะต้องรับแรงดัดที่เกิดขึ้นได้ มิเช่นนั้นจะทำให้โครงสร้างรั้วของเรานั้นขาดเสถียรภาพไป ส่วนชายในรูป (B) ) ก็คือเสาเข็มที่รับแรงกระทำทางด้านข้างแบบเข็มคู่ เสาเข็มแบบนี้มีหน้าที่แค่ต้องรับแรงตามแกนที่เกิดขึ้นให้ได้ ก็เป็นการเพียงพอแล้วที่จะทำให้โครงสร้างรั้วนั้นมีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอนะครับ
ดังนั้นถามต่อว่า ใช้เข็มเดี่ยวทำเสาเข็มรับรั้วได้หรือไม่ ผมก็ต้องตอบว่า ได้ นะครับ แต่ อย่างที่เรียนไปข้างต้น เสาเข็มต้นนั้นๆ จะต้องมีความสามารถในการรับแรงดัดที่เกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งหากว่าเราลองถามเด็กๆ ดูยังได้ว่า หากทำการเปรียบเทียบระหว่างภาระของเสาเข็มที่จะทำหน้าที่รับแรงดัด ร่วมกัน กับแรงกระทำตามแนวแกน กับ เสาเข็มที่จะทำหน้าที่รับแรงตามแนวแกนเพียงอย่างเดียว ก็เป็นที่แน่นอนว่า เสาเข็มที่จะทำหน้าที่ในการรับแรงตามแนวแกนเพียงอย่างเดียวนั้นจะมีภาระที่น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นหากเพื่อนๆ จะทำการก่อสร้างเสาเข็มเพื่อที่จะทำหน้าที่รับแรงกระทำทางด้านข้างใดๆ เช่น โครงสร้างรั้ว โครงสร้างกำแพงกันดิน โครงสร้างผนังสระว่ายน้ำ เป็นต้น หากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำให้ภาระของโครงสร้างเสาเข็มของเพื่อนๆ นั้นมีภาระที่น้อยที่สุดก็ควรที่จะเลือกวางเสาเข็มให้เป็นแบบคู่ก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#อธิบายถึงเหตุและผลของการใช้เสาเข็มแบบคู่ในการก่อสร้างโครงสร้างรับแรงกระทำทางด้านข้าง
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com