การทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เพิ่งจะผ่านพ้นมาไม่นานมานี้ นั่นก็คือเหตุการณ์ที่มีรถชนเข้ากับตัวราวกันตก คสล ที่ทำหน้าที่กั้นระหว่างถนนและคลอง ซึ่งผลปรากฏว่าราวกันตก คสล นั้นเกิดการวิบัติจนในที่สุดก็ทำให้รถนั้นตกลงไปในคลองจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมานั่นเองนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ผมไมได้จะมากล่าวถึงเหตุการณ์ๆ นี้ในแง่ใดแง่หนึ่งเป็นพิเศษนะครับ ผมเพียงแค่อยากที่จะมาชี้ให้เห็นถึงรายละเอียดหนึ่งที่มีความสำคัญในการออกแบบโครงสร้างจำพวกราวกันตกเหล่านี้ว่าควรมีวิธีการและแนวคิดในการออกแบบเป็นอย่างไรเท่านั้นนะครับ

 

ก่อนอื่นผมต้องขอบอกเอาไว้ก่อนว่าหากมีเพื่อนๆ ท่านใดกำลังจะต้องทำการออกแบบโครงสร้างแบบนี้ เพื่อนๆ ควรต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่าหากเราจะทำการออกแบบโดยนำข้อกำหนดในการออกแบบจากกรมโยธาธิการ หรือ มยผ 1321-61 มาตรฐานการออกแบบราวกันตกในอาคารจอดรถยนต์ มาใช้ในการออกแบบโดยตรงเลยก็ดูจะเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้นะครับ แต่ หากจะนำข้อกำหนดดังกล่าวมาทำการดัดแปลงหรือประยุกต์ในเรื่อง ความเร็วของรถในการออกแบบ และ แรงกระแทกที่กระทำกับราวกันตก มาใช้ในการออกแบบก็พอที่จะมีความเป็นไปได้ ทั้งนี้เราต้องทำความเข้าใจส่วนเนื้อหาและสาระใน มยผ 1321-61 ก่อนว่า ความเร็วของรถที่ใช้ในการออกแบบภายในอาคารจอดรถนั้นจะมีค่าน้อยกว่าที่ใช้ออกแบบบนท้องถนนค่อนข้างเยอะ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้แรงกระแทกหรือ IMPACT LOAD ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะมีมากกว่าเยอะตามไปด้วย ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบนี้ก็จะมีรายละเอียดที่มีความแตกต่างกันออกไป

 

ดังนั้นในส่วนแรกที่จะต้องพิจารณาก็คือเรื่องความแข็งแกร่ง หรือ STIFFNESS ของราวกันตก หากว่าเป็นแผงราวกันตกที่ใช้ในอาคารที่จอดรถ เราควรที่จะทำการออกแบบต้านทานต่อแรงกระแทกไม่ให้วิบัติได้ เพราะ แรงกระแทกนั้นถือว่าไม่เยอะ ส่วนแผงราวกันตกที่ใช้บนท้องถนน จำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบให้มีความแข็งแรงมากกว่าที่ใช้ในอาคารจอดรถ แต่ การที่จะไม่ให้เกิดการวิบัติเลยก็คงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากๆ เพราะ แรงกระแทกที่เกิดจากความเร็วของรถนั้นมีค่าที่สูงมากๆ ดังนั้นนั้นหลักการสำคัญในการออกแบบแผงกันตกที่จะใช้บนท้องถนน คือ จะต้องออกแบบให้โครงสร้างนั้นมีกลไกหรือวิธีในการสลายพลังงาน หรือ ENERGY DISSIPATION เพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากการเดินทางของรถที่มาด้วยความเร็วสูงๆ ได้นะครับ

 

สิ่งสุดท้ายที่จะไม่คำนึงถึงเลยไมได้ก็คือ ความยืดหยุ่นตัว หรือ FLEXIBILITY ระหว่างโครงสร้างราวกันตกและยานพาหนะเพราะฉะนั้นหลักในการออกแบบราวกันตกที่ดี เราจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบให้ตัวราวกันตกนั้นมีความเหนียว หรือ DUCTILITY ที่เหมาะสมด้วย โดยพฤติกรรมของโครงสร้างที่มีความใกล้เคียงมากที่สุดก็คือ โครงสร้างคานยืดหยุ่น หรือ BEAM ON ELASTIC FOUNDATION เพราะโครงสร้างประเภทนี้จะสามารถยอมให้เกิดการเสียรูปได้ แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดการสูญเสียเสถียรภาพโดยรวมทั้งหมดไปนะครับ

 

หากราวกันตกที่เราทำการออกแบบนั้นมีความแข็งแกร่งที่น้อยจนเกินไป เมื่อรถเกิดการกระแทกเข้ากันกับตัวราวกันตก นั่นก็เท่ากับว่าผู้คนที่โดยสารมากับยานพาหนะก็จะมีโอกาสเสียชีวิตเนื่องจากการตกลงไปในลำน้ำได้ หรือ หากราวกันตกที่เราทำการออกแบบนั้นมีความแข็งแกร่งที่มาก เมื่อรถเกิดการกระแทกเข้ากันกับตัวราวกันตก และ ผู้ออกแบบไม่ได้มีการคำนึงถึงเรื่องของความยืดหยุ่นตัวระหว่างราวกันตกและยานพาหนะที่ใช้เลย นั่นก็เท่ากับว่าผู้คนที่โดยสารมากับยานพาหนะก็จะมีโอกาสเสียชีวิตเนื่องจากกระแทกเข้ากันกับตัวราวกันตกได้

 

ผมขอสรุปว่าการออแบบไม่ให้ราวกันตกนั้นไม่เกิดการวิบัติจะมีความสำคัญ น้อยกว่า การรักษาเอาไว้ซึ่งชีวิตของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า ผู้ออกแบบโครงสร้างจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบพิจารณาทั้งในเรื่อง STIFFNESS และ FLEXIBILITY ของโครงสร้างให้ออกมามีความ เหมาะสม และ สอดคล้อง ต่อสภาวะกำลัง และ สภาวะการใช้งาน ของราวกันตกด้วยนั่นเองครับ

ปล ผมและทีมงานทุกๆ คนของภูมิสยามฯ ต้องขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้สูญเสียทุกๆ คนเนื่องในเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งนี้ด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com