ปัญหาของงานการออกแบบและการก่อสร้างที่ไม่ดี

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ผมมีโอกาสได้เดินทางไปที่สถานที่แห่งหนึ่ง (ขออนุญาตไม่เปิดเผยว่าเป็นสถานที่ใด) และได้มีโอกาสพบเห็นกับปัญหาของงานการออกแบบและการก่อสร้างที่ไม่ดีเท่าใดนักแต่ที่น่าสนใจจริงๆ ก็คือ วิธีในการแก้ปัญหาของเค้า ผมเลยคิดว่าน่าที่จะนำภาพๆ นี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนก็น่าจะเป็นการดีครับ

 

ในรูปๆ นี้เป็นรูปโครงสร้างหลังคาที่จอดรถที่ทำจากโครงสร้างเหล็กแบบยื่นซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้โดยทั่วไป ซึ่งเหมือนที่ผมเคยเรียนเพื่อนๆ ไปบ่อยๆ ก่อนหน้านี้ว่า ในการออกแบบโครงสร้างนั้นนอกจากเรื่องของ “กำลัง” แล้วเรื่องของ “เสถียรภาพ” เองก็เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ออกแบบจะละเลยหรือไม่สนใจไม่ได้เช่นกัน ซึ่งเจ้าโครงสร้างหลังคาเหล็กแบบยื่นนี้ก็เช่นกันนะครับ

 

เนื่องจากโครงสร้างดังกล่าวนี้เป็นโครงสร้างแบบยื่นจึงทำให้ตามปกติแล้วจะต้องมีการออกแบบให้โครงสร้างและส่วนฐานรากที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างประเภทนี้มีความสามารถในการที่จะรับโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการยื่นได้ มิเช่นนั้นโครงสร้างก็อาจจะไร้ซึ่งเสถียรภาพต่อการพลิกคว่ำได้หรือที่ในในภาษาอังกฤษเรามักเรียกว่า INSTABILITY AGAINST OVERTURNING เช่น ส่วนโครงสร้างเสาเหล็กก็มักที่จะใช้เสาที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำหน้าที่ในการถ่ายโมเมนต์ดัดต่อไปยังส่วนตอม่อและฐานรากให้ได้ หรือ หากจะใช้เสาที่มีขนาดเล็กหน่อยก็มักที่จะใช้เป็นเสาเหล็กที่มีการวางตัวเป็นแบบคู่ เพื่อที่จะทำการแปลงให้โมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นนั้นกลายเป็นแรงคู่ควบที่จะกระทำตามแนวแกนภายในเสาแทน ส่วนฐานรากเองก็จะต้องมีการออกแบบให้มีเสาเข็มที่มีจำนวนและขนาดที่ใหญ่เพียงพอ เป็นต้น แต่จะเห็นได้จากในรูปๆ นี้ว่า โครงสร้างเสาเหล็กที่ใช้งานนั้นมีขนาดที่เล็กมากๆ และมีเพียงเสาเดียวอีกต่างหากครับ

 

ผมสันนิษฐานว่าการที่เป็นเช่นนี้เกิดจากการที่เจ้าของและช่างที่ทำการก่อสร้างนั้นไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการก่อสร้าง พอทำการก่อสร้างแล้วเสร็จโครงสร้างก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหาต่างๆ ในการใช้งานโครงสร้างตามมา เค้าจึงตัดสินใจที่จะหาวิธีในการแก้ปัญหาต่างๆ จนมาลงตัวที่วีการดังในรูปภาพ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าวิธีการที่เค้าใช้ก็คือ เค้าเลือกที่จะทำการติดตั้งโครงสร้างค้ำยัน หรือ LATERAL BRACING ที่ในรูปจะเป็นคานเหล็กที่คอยทำหน้าที่ในการยึดรั้งตัวโครงสร้างหลังคาเข้ากับตัวรั้วที่อยู่ด้านหลัง ทั้งนี้ก็เพื่อให้โครงสร้างหลังคาโครงสร้างนี้เกิดเสถียรภาพต่อการพลิกคว่ำนั่นเองนะครับ

 

ถามว่าวิธีการนี้ใช้ได้หรือไม่ ? ผมต้องตอบว่า ไม่ทราบจริงๆครับ เพราะอะไรน่ะหรือ ? เพราะเอาจริงๆ แล้วเป็นเพราะผมไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่า โครงสร้างๆ นี้ได้ผ่านสภาวะการรับน้ำหนักขั้นสูงสุดไปแล้วหรือยัง ? หากว่าโครงสร้างได้ผ่านสภาวะการรับน้ำหนักดังกล่าวไปแล้ว ก็อาจจะถือได้ว่าการแก้ไขระบบของโครงสร้างดังกล่าวนั้นดีเพียงพอ แต่หากไม่แล้วก็คงต้องลุ้นกันต่อไปว่าเมื่อโครงสร้างนี้ต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะการรับน้ำหนักดังกล่าว โครงสร้างจะมีสภาพเป็นเช่นใดกันแน่ ?

 

การทำการติดตั้งโครงสร้างคานเหล็กเข้ากับตัวรั้วด้านหลังนี้ดูเผินๆ ก็อาจจะถือว่า ผ่าน แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วผมถือว่าเป็นวิธีการที่ไม่ดีเท่าใดนัก นั่นเป็นเพราะสุดท้ายแล้วนี่ก็เป็นการแก้ปัญหาโดยที่เรานำเอาแรงกระทำทางด้านข้างที่เกิดจากโครงสร้างหลังคาเหล็กชุดนี้ฝากให้เป็นภาระกับโครงสร้างของรั้วอีกทอดหนึ่งก็เพียงเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะผมไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่าโครงสร้างรั้วดังกล่าวนั้นมีการออกแบบและก่อสร้างให้มีเสถียรภาพต่อการรับแรงกระทำทางด้านข้างไว้ดีเพียงพอหรือไม่นั่นเองครับ

 

สุดท้ายนี้ผมก็ต้องขออนุญาตที่จะให้ความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาว่า จากรูปภาพโครงสร้างที่เพื่อนๆ เห็นนั้น อาจจะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจขึ้นมาได้บ้างเพราะว่าได้มีการเสริมด้วยคานเหล็กที่จะคอยทำหน้าที่ในการยึดรั้งส่วนโครงสร้างหลังคาเหล็กนี้เข้ากันกับตัวโครงสร้างรั้วด้านหลังเอาไว้แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็เหมือนอย่างที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปว่า เราไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่าโครงสร้างๆ นี้ได้ผ่านสภาวะการรับน้ำหนักขั้นสูงสุดไปแล้วหรือยัง ก็คงต้องนั่งและนอนลุ้นกันต่อไปให้โครงสร้างๆ นี้มีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอต่อการรับน้ำหนัก มิเช่นนั้นก็อาจที่จะเกิดเป็นข่าวการที่โครงสร้างนี้เกิดการวิบัติจนในที่สุดสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนที่อาจสัญจรไปมาและได้มาใช้งานหลังคาโครงสร้างเหล็กแบบยื่นนี้น่ะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#วิธีในการแก้ปัญหาการที่โครงสร้างหลังคาเหล็กแบบยื่นนั้นขาดซึ่งเสถียรภาพต่อการพลิกคว่ำ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com