งานออกแบบทางด้านระบบบำบัดน้ำเสีย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

วันนี้ผมจะมาแนะนำและแชร์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ แฟนเพจทุกๆ ท่านเกี่ยวกับเรื่องๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธาโดยตรงแต่ว่าหลายๆ คนอาจจะไม่ทราบนั่นก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือ WATER SEWAGE SYSTEM นะครับ


สาเหตุที่หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบว่าระบบระบบบำบัดน้ำเสียนั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกันกับงานของวิศวกรโยธาหรือ CIVIL ENGINEER ก็เพราะเข้าใจกันไปว่าเป็นงานของวิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือ ENVIRONMENTAL ENGINEER ซึ่งก็ไม่ได้เป็นความเชื่อที่ผิดแต่ประการใดนะเพียงแต่วิศวกรโยธาเองก็สามารถที่จะทำการออกแบบระบบดังกล่าวได้เหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดต่างๆ ในการออกแบบเพราะในตัวบทกฎหมายนั้นได้มีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าขอบเขต ขนาดและพื้นที่ของโครงการแต่ละโครงการนั้นใครที่จะสามารถทำการออกแบบและลงนามรับรองได้นั่นเองครับ

จริงๆ แล้วระบบระบบบำบัดน้ำเสียก็คือ ระบบที่จะนำเอาน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึ่งได้แปรเปลี่ยนจากน้ำที่มีสภาพที่ดีกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพที่ไม่ดีหรือพูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านก็คือน้ำเสียนะแหละเพราะว่าน้ำนั้นๆ เกิดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อาจเกิดจากกระบวนการๆ ใช้งานตัวน้ำ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปนั้นเราจะสามารถจำแนกประเภทของน้ำเสียออกได้เป็นทั้งหมด 3 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ
1. เสียที่อาจจะเกิดจากการชำระล้างทั่วๆ ไป เช่น น้ำเสียที่เกิดจากการอาบน้ำ การล้างมือหรือการชำระล้างภาชนะทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะเรียกน้ำเสียประเภทนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า น้ำทิ้ง หรือ WASTE WATER ก็ได้ ซึ่งโดยขั้นต่ำที่สุดนั้นกฎหมายได้ทำการกำหนดให้ทำการบำบัดน้ำเสียประเภทนี้โดยการใช้ระบบถังบำบัดแบบทำการดักไขมันหรือ GREESE TANK ก่อนที่จะทำการระบายน้ำดังกล่าวนี้ออกสู่ทางน้ำสาธารณะได้ครับ
2. น้ำเสียที่อาจจะเกิดจากสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์ เช่น น้ำเสียที่เกิดจากการปัสสาวะหรือการอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะเรียกน้ำเสียประเภทนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า น้ำโสโครก หรือ SOIL WATER ก็ได้ ซึ่งโดยขั้นต่ำที่สุดนั้นกฎหมายได้ทำการกำหนดให้ทำการบำบัดน้ำเสียประเภทนี้โดยการใช้ระบบถังบำบัดแบบเกรอะหรือ SEPTIC TANK ก่อนที่จะทำการระบายน้ำดังกล่าวนี้ออกสู่ทางน้ำสาธารณะได้ครับ
3. น้ำเสียที่อาจจะเกิดจากสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ที่อาจจะนอกเหนือไปจากการใช้งานทั่วๆ ไปของมนุษย์ เช่น น้ำเสียที่เกิดจากการชำระล้างร่างกายหรือการชำระล้างภาชนะที่มีความเกี่ยวข้องกับงานทางด้านการแพทย์หรือน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการในการใช้งานต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะเรียกน้ำเสียประเภทนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า น้ำโสโครก หรือ SOIL WATER ซึ่งโดยขั้นต่ำที่สุดนั้นกฎหมายได้ทำการกำหนดให้ทำการบำบัดน้ำเสียประเภทนี้โดยการใช้ระบบถังบำบัดแบบชีวภาพหรือ BIOLOGICAL TANK ก่อนที่จะทำการระบายน้ำดังกล่าวนี้ออกสู่ทางน้ำสาธารณะได้ครับ

เหมือนกันกับรูปที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ซึ่งเป็นรูปของระบบถังบำบัดแบบชีวภาพที่มีการใช้งานอยู่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าน้ำเสียที่เกิดจากการใช้งานในโรงพยาบาลแห่งนี้มีสีและสภาพของน้ำที่ค่อนข้างที่จะมีความสกปรกและเน่าเสียมาก หากจะปล่อยน้ำดังกล่าวให้ไหลออกไปสู่ทางน้ำสาธารณะโดยที่ไม่ทำการบำบัดให้คุณภาพของน้ำนั้นดีขึ้นเสียก่อนก็คงจะไม่เป็นการดีอย่างแน่นอนและที่สำคัญที่สุดก็คือ จะส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมของน้ำที่ได้ทำการระบายออกไปจากอาคารนั้นถูกทำลายลงไปอย่างแน่นอนเลยล่ะครับ

เราจะสามารถเห็นได้ว่างานออกแบบทางด้านระบบบำบัดน้ำเสียนั้นก็ถือได้ว่าเป็นงานออกแบบประเภทหนึ่งที่ต้องการผู้ออกแบบที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการออกแบบไม่น้อยไปกว่างานทางด้านสาขาอื่นๆ เลยเพราะการออกแบบประเภทนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับคุณภาพในการใช้งานของอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรวมรอบๆ ตัวอาคารของเราอีกด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องงานออกแบบทางด้านระบบบำบัดน้ำเสีย
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com