โครงสร้างฐานรากแบบยื่น หรือ CANTILEVER FOUNDATION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สืบเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานนี้ที่ผมได้นำความรู้เรื่อง โครงสร้างฐานรากแบบยื่น หรือ CANTILEVER FOUNDATION มาฝากเพื่อนๆ ไปแล้ว และ ตามที่ผมได้รับปากเพื่อนๆ เอาไว้ว่า ผมจะมาทำการอธิบายเพิ่มเติมให้ได้ทราบกันว่า เพราะเหตุใด โครงสร้างเสาเข็ม ในตัว โครงสร้างฐานรากแบบยื่น จึงมีโอกาสที่จะรับ แรงดึง ได้มากกว่า โครงสร้างฐานรากทั่วๆ ไป นั่นเองนะครับ

 

ผมขออนุฐานอธิบายสรุปสั้นๆ ดังนี้นั่นก็คือ โครงสร้างฐานรากแบบยื่น จะต้องรับโมเมนต์ดัดที่จะเกิดจากการเยื้องศูนย์ของแรงกระทำในแนวดิ่ง หรือ AXIAL LOAD จากตอม่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นต่อให้ค่าโมเมนต์ดัดที่ถูกถ่ายลงมาจากตอม่อจะมีค่าน้อยมากหรือเป็นศูนย์ก็ตาม ก็ยังทำให้ตัวฐานรากนั้นยังต้องรับแรงดัดที่เกิดขึ้นจากการเยื้องศูนย์นี้อยู่ดีนะครับ

 

เอาละผมอธิบายไปพอสังเขปแล้ว เรามาดู ตย การคำนวณค่าโมเมนต์ดัดจะเกิดจากการเยื้องศูนย์ของแรงกระทำในแนวดิ่งนี้กัน พร้อมๆ กับผลของแรงกระทำในแนวแกนที่จะเกิดขึ้นในโครงสร้างเสาเข็มด้วยนะครับ

 

ผมมีโครงสร้างฐานรากแบบยื่นโดยที่ฐานรากนี้เป็นแบบ F2 หรือ ฐานรากที่มีเสาเข็มจำนวน 2 ต้น ดังรูป โดยที่มีแรงกระทำตามแนวแกนในตอม่อเท่ากับ 20 T ซึ่งผมจะให้ค่าๆ นี้มีค่าเท่ากับ P นะครับ ส่วน ตอม่อ ต้นนี้จะมีค่าโมเมนต์ดัดที่ถูกถ่ายลงมาจากโครงสร้างส่วนบนเท่ากับ 0 T-M ซึ่งผมจะให้ค่ามีค่าเท่ากับ M1 ก็แล้วกัน โดยที่ระยะห่างระหว่าง แรงกระทำในแนวดิ่ง กับ จุดศูนย์กลางของเสาเข็ม จะมีค่าเท่ากับ 1.20 M ส่วนระยะห่างระหว่างเสาเข็มทั้ง 2 ต้นจะมีค่าเท่ากับ 1.00 M เรามาดู ตย การคำนวณไปพร้อมๆ กันนะครับ

 

โดยเราจะอาศัยหลักการของ SUPER-POSITION ในการคำนวณเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ นั่นก็คือ ผมจะแยกการคำนวณแรงต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ นั่นก็คือ รูปที่สองจากทางด้านซ้ายมือ เป็นรูปที่ผมนำระบบแรงเข้าสู่แกนศูนย์กลางของเสาเข็ม นั่นก็คือในรูปๆ นี้จะได้ค่า

 

P = 20 T

 

ส่วนค่า

 

M1 = 0

 

เพราะฉะนั้นจะเหลือเฉพาะค่า M2 นั่นก็คือ

 

M2 = 20×1.2

M2 = 24 T-M

 

ดังนั้น M3 คือผลรวมของ M1 และ M2

 

M3 = M1 + M2

M3 = 0 + 24

M3 = 24 T-M

 

รูปต่อมาคือรูปที่ 3 จากทางด้านซ้ายมือ เริ่มต้นจาก แรงกระทำตามแนวแกน P ซึ่งคือ LC ที่ 1 ก่อน จะทำให้แรงในเสาเข็มทางด้านซ้ายมือและขวามือออกมามีค่าเท่ากันๆ นั่นก็คือ

 

N11 = N12 = +20/2 (COMPRESSION)

N11 = N12 = +10 T (COMPRESSION)

 

ส่วนรูปถัดมา แรงโมเมนต์ดัด M3 ซึ่งก็คือ LC ที่ 2 จะทำให้แรงในเสาเข็มทางด้านซ้ายมือและขวามือออกมามีค่าเท่ากันๆ แต่ กลับทิศทางกันนั่นก็คือ

 

N21 = -24/1 = -24 T (TENSION)

 

และ

 

N22 = +24/1 = 24 T (COMPRESSION)

 

โดยที่รูปสุดท้ายก็คือรูปทางด้านขวามือสุดนั่นก็คือ รูปของการรวมผลของแรงลัพธ์ทุกๆ แรงในโครงสร้างเสาเข็มของเราโดยที่เราจะทราบว่า

 

N1 = N11 + N21 = (+10) + (-24)

N1 = -14 T (TENSION)

 

และ

 

N2 = N12 + N22 = (+10) + (+24)

N2 = +34 (COMPRESSION)

 

ดังนั้นเราจะเห็นได้จากกรณี ตยๆ นี้นะครับว่า เสาเข็มต้นที่ 1 หรือ แรงลัพธ์ของเสาเข็มต้นที่ 1 หรือที่แทนด้วย N1 นั้นจะออกมามีค่าติด ลบ พูดง่ายๆ ก็คือจะเป็น แรงดึง หรือว่า TENSION นั่นเองนะครับ

 

เพราะฉะนั้นกรณีนี้เองที่เป็น ตย ได้เป็นอย่างดีว่าเหตุใดผมจึงได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า โครงสร้างเสาเข็ม ที่อยู่ภายใน โครงสร้างฐานรากแบบยื่น ของเราจึงมีโอกาสสูงมากที่จะต้องรับแรงดึง และเพราะเหตุใด เหล็กเดือย หรือ DOWEL BAR จึงมีความจำเป็นอย่างมากในโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเช่นนี้น่ะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#ความรู้เรื่องโครงสร้างฐานรากแบบยื่น

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com