การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะขออนุญาตแสดงเป็นตัวอย่างในการคำนวณให้เพื่อนๆ ได้ดูเลยก็แล้วกัน เพื่อนๆ จะได้สามารถมองเห็นภาพออกว่าเพราะเหตุใดผมจึงได้ทำการอธิบายเอาไว้ว่า ในกรณีที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนชั้นคุณภาพของเหล็กเสริมนั้น เราไม่สามารถที่จะอาศัยวิธีในการเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังของคอนกรีตและเหล็กเสริมโดยตรงได้ ซึ่งการเปลี่ยนจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้การทำการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ ใหม่เท่านั้นนะครับ


เรามาดูตัวอย่างในสมการแรกก่อนเลยนั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุคอนกรีต โดยที่ผมจะเปรียบเทียบระหว่างค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตค่าที่ 1 ให้มีค่าเท่ากับ 240 KSC กับค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตค่าที่ 2 ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 300 KSC ซึ่งหากเราอาศัยสมการในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ให้ไว้โดย วสท ก็จะได้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตออกมามีค่าเท่ากับ
Ec1 = 15100 x √(240)
Ec1 = 233928 KSC
และ
Ec2 = 15100 x √(300)
Ec2 = 261540 KSC

หากหาค่าสัดส่วนของค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุคอนกรีตระหว่างค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตค่าที่ 2 ต่อค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตค่าที่ 1 ก็จะพบว่ามีค่าประมาณ
Ec2/Ec1 = 261540/233928 = 1.12

ซึ่งหากเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ 2 ต่อค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ 1 ก็จะพบว่ามีค่าประมาณ
fc’2/fc’1 = 300/240 = 1.25

 

สาเหตุที่ค่าสัดส่วน 2 ค่า ข้างต้นนั้นออกมามีค่าไม่เท่ากันเป็นเพราะว่า พจน์ของค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตนั้นจะติดอยู่ในรูปรากที่สองนั่นเองครับ
เรามาดูตัวอย่างในสมการที่สองกันต่อเลยนั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าสัดส่วนของเหล็กเสริมในสภาวะสมดุลในหน้าตัดรับแรงดัด โดยที่ผมใช้ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตเพียงค่าเดียวนั่นก็คือ 240 KSC และจะทำการคำนวณเปรียบเทียบระหว่างค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมค่าที่ 1 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 4000 KSC หรือเหล็ก SD40 กับค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมค่าที่ 2 ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 5000 KSC หรือเหล็ก SD50 ซึ่งหากเราอาศัยสมการในการคำนวณหาค่าสัดส่วนของเหล็กเสริมในสภาวะสมดุลในหน้าตัดรับแรงดัดที่ให้ไว้โดย วสท ก็จะได้ค่าสัดส่วนของเหล็กเสริมในสภาวะสมดุลในหน้าตัดรับแรงดัดออกมามีค่าเท่ากับ
β1 = 0.85
m1 = 4000/(0.85×240)
m1 = 19.61
Pb1 = 6120×0.85/[19.61x(6120+4000)] Pb1 = 0.0262
และ
β2 = 0.85
m2 = 5000/(0.85×240)
m2 = 24.51
Pb1 = 6120×0.85/[24.51x(6120+5000)] Pb1 = 0.0191
หากหาค่าสัดส่วนของค่าสัดส่วนของเหล็กเสริมในสภาวะสมดุลในหน้าตัดรับแรงดัดระหว่างค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมค่าที่ 1 ต่อค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมค่าที่ 2 ก็จะพบว่ามีค่าประมาณ
Pb1/Pb2 = 0.0262/0.0191 = 1.37
ซึ่งหากเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมที่ 2 ต่อค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมที่ 1 ก็จะพบว่ามีค่าประมาณ
fy2/fy1 = 5000/4000 = 1.25

สาเหตุที่ค่าสัดส่วน 2 ค่า ข้างต้นนั้นออกมามีค่าไม่เท่ากันเป็นเพราะว่า พจน์ของค่ากำลังที่จุดครากของเหล็กเสริมนั้นจะติดอยู่ในรูปของการบวกกันระหว่างผลคูณระหว่างหน่วยความเครียดประลัยของคอนกรีตกับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของเหล็กเสริมนั่นเองครับ
ผมคิดว่าจากเพียงแค่ 2 ตัวอย่างในโพสต์ของวันนี้น่าที่จะทำให้เพื่อนๆ นั้นตระหนักและเข้าใจได้แล้วว่าเหตุใดเราจึงไม่สามารถที่จะอาศัยวิธีในการเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังของคอนกรีตและเหล็กเสริมโดยตรงได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใดๆ นั้นจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้การทำการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ ใหม่เท่านั้นครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com