สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขอโพสต์ต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานนะครับ โดยที่เมื่อวานผมได้อธิบายไปแล้วถึงข้อดีหรือว่าข้อเด่นของการเลือกใช้ระบบโครงสร้าง คสล หรือ คอร สำเร็จรูป ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาพูดถึงข้อด้อยของการเลือกใช้ระบบโครงสร้างแบบนี้กันบ้างนะครับ
เหมือนเดิมนะครับ ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ก็ต้องขออธิบายเหมือนเดิมว่าข้อด้อยต่อไปนี้ผมทำการสรุปมาให้เพียงเท่านั้นนะครับ ที่สำคัญ หากหน่วยงานหรือองค์กรใดที่เลือกนำระบบก่อสร้างนี้ไปใช้ไม่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานเพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายมากกว่าที่ผมจะกล่าวสรุปให้ฟังนี้ก็เป็นได้นะครับ เรามาเริ่มต้นดูกันเลยนะครับ
- ทำให้การก่อสร้างเกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนี้ครับ ? เพราะอย่างที่ผมเรียนไปตั้งแต่ต้นนะครับว่า การก่อสร้างระบบๆ นี้จะต้องอาศัยมืออาชีพในการทำงานร่วมกันของทุกๆ ฝ่าย ตั้งแต่ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายติดตั้ง และ ฝ่ายดูแลรักษา เพราะว่าระบบๆ นี้จะช่วยทำให้การก่อสร้างนั้นเกิดความประหยัดและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ก็แน่นอนละครับว่าจะต้องเพิ่มเติมความยุ่งยากในขั้นตอนของการก่อสร้างให้เพิ่มสูงขึ้นนั่นเองเป็นเรื่องปกตินะครับ แต่ ที่ผมจะกล่าวถึงในหัวข้อนี้จะหมายถึงเฉพาะ CONSTRUCTION METHOD เท่านั้นนะครับ ผมขอยก ตย ละกันนะครับ เช่น การก่อสร้างชิ้นส่วนบางประเภทจพเป็นจะต้องทำการ CAMBER ตัวโครงสร้างก่อนการเท TOPPING ให้แล้วเสร็จเนื่องจากพฤติกรรมที่ออกแบบไว้เป็น COMPOSITE กับโครงสร้างหลัก ดังนั้นขั้นตอนการ SHORING ต่างๆ ที่อาจต้องเพิ่มเติมเข้ามาอาจทำให้ขั้นตอนการก่อสร้างทวีความยุ่งยากขึ้นไปได้อีก การก่อสร้างที่ต้องใช้โครงสร้างสำเร็จรูปจำเป็นจะต้องใช้เครนในการติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้ง งานก่อสร้างทางราบที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้เครนในงานก่อสร้างก็กลายเป็นว่าจำเป็นต้องใช้เครนในงานก่อสร้างขึ้นมา เป็นต้นครับ
- ทำให้รายละเอียดของงานก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรายละเอียดมาตรฐานค่อนข้างมาก เพราะ ในโครงสร้างที่เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปจะมีพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างแตกต่างเพิ่มเติมขึ้นมาจากโครงสร้างแบบหล่อในที่ค่อนข้างมาก เช่น จะต้องคำนึงถึงขั้นตอนการขนย้าย การประกอบชิ้นส่วนให้เข้าที่ การทำรายละเอียดจุดต่อจะเกิดความยุ่งยากมากขึ้นเพราะจะมีพฤติกรรมการถ่ายแรงดัดและแรงเฉือนจากตัวโครงสร้างสำเร็จรูปเข้าสู่ตัวโครงสร้างหลักที่สลับซับซ้อนกว่าชิ้นส่วนโครงสร้างแบบหล่อในที่ค่อนข้างมาก เป็นต้นครับ
- การก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้อาจไม่ได้ทำให้เกิดความประหยัดทั้งกระบวนการ รวมทั้งอาจทำให้สมรรถนะของโครงสร้างออกมาไม่ดีที่สุดอย่างที่ควรจะเป็น เช่น การใช้โครงสร้างสำเร็จรูปอาจทำให้ชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนใหญ่กว่าขนาดปกติหากเปรียบเทียบกับโครงสร้างหล่อในที่ ด้วยเหตุผลในหลายๆ เรื่อง ดังนั้นจึงทำให้ นน ของตัวโครงสร้างเองมีมากขึ้น ทำให้ไม่ประหยัดงานฐานราก การเพิ่ม นน บรรทุกแก่โครงสร้างเองก็ไม่ได้เป็นผลดีทางด้านพลศาสตร์การรับแรงแผ่นดินไหว เพราะ จะเป็นการเพิ่ม BASE SHEAR ให้แก่โครงสร้างหลักนั่นเอง การก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้อาจทำให้เกิดสัดส่วน STIFFNESS และ FLEXIBILITY ของโครงสร้างได้ไม่ดีเท่ากับการเลือกใช้โครงสร้างสำเร็จรูป เพราะ รายละเอียดของขนาดและจุดต่อนั้นถูกจำกัดด้วยเรื่อง SERVICEABILITY ของโครงสร้างเป็นหลัก เป็นต้นนะครับ
- การก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้อาจไม่เป็นที่ถูกใจทางสถาปนิกผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมมากนัก เพราะสถาปนิกมักจะชอบโครงสร้างที่แลดูแล้วบางๆ พลิ้วไหว ไม่ใช่ใหญ่โต เทอะทะ อะไรมากนัก ซึ่งจะขัดแย้งกับ CONCEPT ของโครงสร้างสำเร็จรูปโดยสิ้นเชิง ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราเลือกใช้ระบบนี้ และ การออกแบบของสถาปนิกต้องการที่จะให้ตัวโครงสร้างออกมาในลักษณะที่เป็น LONG SPAN ร่วมกันกับการโชว์ตัวโครงสร้างด้วยแล้ว มักเป็นเรื่องที่หลีกเลียงไม่ได้ที่จะเกิดข้อขัดแย้งระหว่างทีมผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมโครงสร้าง และ ทีมผู้รับเหมางานก่อสร้าง
หากจะดูข้อด้อยทั้ง 4 ข้อข้างต้นที่ผมได้สรุปมาให้เพื่อนๆ ดูในวันนี้ เพื่อนๆ อาจจะสังเกตได้ว่าจริงๆ แล้วทั้ง 4 ข้อนี้จะมีส่วนสัมพันธ์กันทั้งหมดเลยนะครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ เป็นเจ้าของโครงการ หรืว่า สถาปนิกหรือว่าวิศวกรผู้ออกแบบ และ อาจจำเป็นต้องเป็นผู้เลือกใช้ระบบการก่อสร้างด้วยระบบนี้เมื่อใด ก็ขอให้คำนึงถึง ข้อดี และ ข้อด้อย ของโครงสร้างระบบนี้กันให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับ ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีในการเลือกระบบการก่อสร้างให้เหมาะสมกับประเภทของการทำงานของเพื่อนๆ นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com