สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาทำการขยายความถึงเนื้อหาในโพสต์ของเมื่อวานเกี่ยวเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจกับเรื่องการใช้งานโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT แก่เพื่อนๆ ทุกท่านนะครับ
อย่างที่ผมได้เรียนไปก่อนหน้านี้ว่าก่อนการใช้งานโปรกแรมทาง FINITE ELEMENT ใดๆ เราควรที่จะมีความรู้พื้นฐานถึงทฤษฎี FINITE ELEMENT ให้ดีในระดับหนึ่งเสียก่อน เพราะหากเราใช้งานโปรแกรมเหล่านี้โดยที่ไม่เข้าใจถึงมันแล้ว เราเองก็อาจจะใช้งานมันโดยขาดความถูกต้องไปได้นะครับ
สำหรับความรู้ในเบื้องต้นเมื่อเพื่อนๆ จำเป็นที่จะต้องมีเกี่ยวกับโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT อาจจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ ประกอบไปด้วย
(1) ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี FINITE ELEMENT ในเบื้องต้น
การที่เราจะทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL MODEL) โดยมีเป้าหมายเพื่อทำการวิเคราะห์หาผลตอบสนองต่างๆ ของโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น การเสียรูป แรงปฎิกิริยา ผลของแรงภายใน ของจุดต่อ (NODE) และ ชิ้นส่วน (ELEMENT) ต่างๆ ในโครงสร้างใดๆ เราควรที่จะทราบถึงทฤษฎีพื้นฐานของการวิเคราะห์โครงสร้างเสียก่อนนะครับ เพราะ ในโครงสร้างเหล่านี้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญๆ อยุ่หลายประการทีเดียวไม่ว่าจะเป็ร ลักษณะคุณสมบัติของจุดรองรับแบบต่างๆ (TYPES BOUNDARY CONDITIONS) เช่น จุดรองรับแบบยืดหยุ่นตัว (ELASTIC SUPPORT) จุดรองรับแบบยึดหมุน (HINGED SUPPORT) จุดรองรับแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) เป็นต้น หรือ ลักษณะคุณสมบัติต่างๆ ของชิ้นส่วนโครงสร้างแบบต่างๆ (ELEMENT TYPES) เช่น ชิ้นส่วนโครงข้อหมุน (TRUSS ELEMENT) ชิ้นส่วนคาน (BEAM ELEMENT) ชิ้นส่วนคาน-เสา (BEAM COLUMN ELEMENT) ) ชิ้นส่วนโครงสร้างแผ่นราบ (PLATE ELEMENT) ชิ้นส่วนโครงสร้างแผ่นเปลือกบาง (SHELL ELEMENT) เป็นต้น เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะมีผลต่อการที่เราจะทำการ INPUT เข้าไปในโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT หากเราทำการ INPUT คุณสมบัติเหล่านี้ไปไม่ถูกต้อง แน่นอนว่า OUTPUT ที่จะได้รับก็จะผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนตามไปด้วยนะครับ
(2) ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม FINITE ELEMENT ที่เราจะใช้งานในเบื้องต้น
ในการเลือกใช้โปรแกรมหนึ่งๆ เราควรที่จะทราบเสียก่อนว่า โปรแกรมนั้นๆ ถูกทำการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานอะไร เช่น งานโครงสร้างอาคารทั่วๆ ไป (TYPICAL STRUCTURES) งานโครงสร้างอาคารสูง (HIGH RISE BUILDING) งานโครงสร้างใต้ดิน (UNDERGROUND STRUCTURES) เป็นต้น โปรแกรมนั้นๆ มีความสามารถในการวิเคราะห์ผลตอบสนองของโครงสร้างอะไรบ้าง เช่น วิเคราะห์แบบเชิงเส้น (LINEAR ANALYSIS) วิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้น (NONLINEAR ANALYSIS) วิเคราะห์แบบประวัติเวลา (TIME HISTORY ANALYSIS) เป็นต้น
โดยหากดูในรูปที่ผมใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้นำมาจากโปรแกรม STAAD.PRO โดยในรูปจะเป็นการกำหนดชื่อ ELEMENT ของโครงสร้างเหล็กนะครับ เช่น หน้าตัด (SECTION) ประเภทเหล็กกล่องแบบกลวง (RECTANGULAR HOLLOW SECTION) โปรแกรมนี้จะมีชื่อเรียกหน้าตัด (PROFILE TYPE) นี้ว่า RHS โดยที่หน้าตัดนี้จะมีจุดอ้างอิง (BASE NODE) ที่ทำการตั้งค่าเอาไว้โดยโปรแกรม (DEFAULT) ให้เป็นจุดต่อหมายเลข 1 และจะมีจุดต่อของหน้าตัดหมายเลข 2 3 4 5 6 7 และ 8 ดังที่แสดงไว้ในรูป เป็นต้นครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ จะใช้โปรแกรมนี้เพื่อทำการวิเคราะห์หน้าตัดเหล็กแบบนี้ โดยที่เพื่อนๆ ไม่ทราบว่าหน้าตัดเหล็กนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร มีจุดต่ออ้างอิงที่ถูกทำการตั้งค่าเอาไว้โดยโปรแกรมเป็นจุดต่อใด เพื่อนๆ เองก็อาจที่จะไม่สามารถทำการใช้งานโปรแกรมนี้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสิ่งที่ผมได้กล่าวถึงไปนี้เป็นเพียงแค่ ตย เพียงส่วนเดียวเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องถือว่ามีความสำคัญมากๆ ในการที่เราจะเลือกใช้งานโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเรานะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com