การหมุนฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ รวมไปถึงน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามกับผมเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ กันต่อจากโพสต์เมื่อวานของผมนะครับ

โดยวิธีการนี้ คือ การหมุนฐานราก นั่นเองนะครับ และ ผมได้ทำการเขียนรูป ตย มาเพื่อที่จะทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันในการอธิบายครั้งนี้ด้วยอีกเช่นเคยนะครับ โดยการที่เราจะทำการแก้ไขฐานรากตามวิธีการที่ผมจะแนะนำให้แก่เพื่อนๆ ตาม ตย ในวันนี้มี วิธีในการทำงาน และ ข้อแม้ ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้นะครับ

(1) หากความผิดพลาดในการตอกเสาเข็มนั้นเป็นไปตามกรณีนี้ ทางผู้ควบคุมงานจำเป็นที่จะต้องทำการแจ้งปัญหานี้กับทางผู้ออกแบบเสียก่อนนะครับ เพราะ การที่เราจะแก้ไขปัญหาตามวิธีการนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบฐานรากโดยการจำลองจุดรองรับไว้เป็นแบบ จุดรองรับแบบยึดหมุน (PINNED SUPPORT) หรือ หากทำการจำลองจุดรองรับไว้เป็นแบบ จุดรองรับแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) จุดรองรับดังกล่าวนี้จะต้องเกิดค่าโมเมนต์ที่ไม่มากจนเกินไปนักนะครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การที่เราทำการ หมุนฐานราก จะเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะคุณสมบัติทางด้าน การรับกำลัง และ ความแข็งแรง ของจุดรองรับโดยตรงนั่นเองนะครับ

(2) สำหรับเสาเข็มต้นที่ทำการตอกผิดพลาดไปนี้ ควรที่จะเกิดขึ้นเป็น ต้นแรก หรือ ต้นที่สอง ในฐานรากเท่านั้นนะครับ เพราะ หากเกิดขึ้นในเสาเข็มต้นหลังๆ ในฐานรากจริงๆ การแก้ไขตามวิธีการนี้อาจจะแลดูแล้วไม่มีความเหมาะสมเท่าใดนักนะครับ เพราะ เท่ากับว่าเสาเข็มต้นที่ตอกไปก่อนหน้านี้ 2 ถึง 3 ต้นนั้นถือว่ามีสภาพที่ดีหมด การจะทำการหมุนฐานราก เพื่อเสาเข็มเพียงต้นเดียวแลดูจะไม่เป็นการประหยัดวัสดุที่เป็นเสาเข็มเท่าใดนัก เราอาจจะจำเป็นต้องยอมทำการเพิ่มปริมาณ คอนกรีต และ เหล็กเสริม ในฐานรากเพื่อที่จะทำการแก้ปัญหานี้ ดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่คุ้มค่ากว่า เป็นต้นนะครับ

ในรูป (A) เป็นรูปการวางตำแหน่งของเสาเข็มตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ในแบบ คล้ายๆ กันกับในรูป (A) เมื่อวานนะครับ สังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ออกแบบมักที่จะทำการกำหนดให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 3 เท่าของ D โดยที่ D คือ ระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มนะครับ เพราะ หากให้ระยะนี้น้อยกว่า 3 เท่าของ D จะทำให้แรงเค้นในมวลดินนั้นเกิดการซ้อนทับกัน (STRESS OVERLAP) ซึ่งจะทำให้เสาเข็มนั้นมีค่าความสามารถในการรับกำลังที่ต่ำลงไปจากสภาวะปกติ หรือ หากจะให้ระยะนี้มากกว่า 3 เท่าของ D ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการทำให้ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก ซึ่งก็จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้ง คอนกรีต และ เหล็กเสริม มากจนเกินไปนะครับ

ในรูป (B) เป็นรูปที่แสดงถึงการที่เสาเข็มที่ทำการตอกลงไปนั้นเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น เสาเข็มเกิดการหัก หรือ ขั้นตอนในการตรวจสอบการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตาม ค่าระยะการตอก ใน 10 ครั้งสุดท้าย (LAST TEN BLOWS) ที่ได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่แรกก่อนการตอกนะครับ หรือ การตอกเสาเข็มนั้นเกิดการตอกที่ผิดตำแหน่งไป (PILE DEVIATE) โดยที่การผิดตำแหน่งไปนี้จะเป็นการทำให้ระยะห่างของเสาเข็มต้นนี้กับเสาเข็มต้นอื่นๆ นั้นมีค่าน้อยกว่า 3 เท่าของ D นะครับ เพราะ หากการตอกผิดพลาดนี้เป็นการทำให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะที่ มากกว่า 3 เท่าของ D เราอาจจะแก้ไขด้วยวิธีการอื่น เช่น ตรวจสอบการรับ นน ของเสาเข็มกลุ่มภายในฐานรากต้นนี้ และ ทำการขยายขนาดของตัวฐานราก เป็นต้นครับ

ในรูป (C) เป็นรูปที่แสดงถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในรูป (B) นะครับ ซึ่งก็คือ การหมุนฐานราก นั่นเองนะครับ โดยการที่เราทำการแก้ปัญหาโดยวิธีการนี้ เราจะต้องทำการตอกเสาเข็มใหม่ตามรูปที่ผมได้แสดงไว้ในนะครับ และ สาเหตุที่เรานิยมแก้ปัญหาด้วยวิธีการนี้เป็นเพราะว่าการทำงานแก้ไขตามวิธีการนี้นั้นจะสามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเท่าใดนัก จะติดขัดก็เฉพาะกรณีที่วิธีในการออกแบบตัวฐานรากนั้นทำโดยวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามที่ผมได้อธิบายไว้แก่เพื่อนๆ ก่อนหน้านี้ก็เท่านั้นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com